ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การปกครองตนเองของประชาชนดำเนินการโดยผ่านผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนตนตามระเบียบวิธีที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เราจึงอาจสรุปหลักการที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังต่อไปนี้
1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หมายความว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของรัฐ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาและกำหนดความเป็นไปของพวกเขาเอง แต่มิได้หมายความว่าประชาชน ทั้งประเทศจะต้องมานั่งถกเถียงหาทางแก้ปัญหา
2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน หมายถึง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง รูปแบบของการเข้ามา มีส่วนร่วมของประชาชนจึงมีอยู่หลายทางด้วยกันที่สำคัญ คือ การเลือกตัวแทนของตนขึ้นไปทำหน้าที่ในรัฐสภา นอกจากนี้ประชาชนอาจทำได้โดยการช่วยรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัครที่ตนนิยมอยู่ หรือเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อหาทางผลักดันให้นโยบายของพรรคนำมาใช้ปฏิบัติ
3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อประชาชน สังคมประชาธิปไตยนั้น ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศและรัฐบาลจะต้องไม่กระทำไปเพียงเพื่อผลประโยชน์ของคนในกลุ่มตนเท่านั้น ผู้ปกครองที่มาจากประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นผู้ที่กระทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่ด้วยให้สมกับความไว้วางใจของประชาชนที่เลือกตนเข้ามารับหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเมื่อครบวาระอาจจะไม่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนในสมัยต่อไปก็ได้
4. หลักเหตุผล ประชาธิปไตยประกอบด้วยหลักเหตุผล ทั้งนี้เนื่องจากคนแต่ละคนต่างก็มีแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไปถ้าคนปราศจากเหตุผลแล้ว สังคมก็อาจยุ่งเหยิงไม่ได้ข้อยุติที่ดีและถูกต้อง ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยนั้นทุกคนจะต้องร่วมกันคิด โดยต่างก็เสนอความคิดเห็นแล้วอาจมีการเปิดอภิปราย มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ต่างคนต่างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นธรรม ข้อเสนอหรือความคิดเห็นของใครที่มีเหตุผลดีกว่าก็จะได้รับเลือกให้เป็นวิธีการแก้ไขปัญหานั้นๆ ต่อไป
5. หลักเสียงข้างมาก วิธีการหนึ่งที่จะรู้ได้ว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการเพื่อปวงชน คือ หลักเสียงข้างมาก นั่นคือหลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์โดยการอภิปรายกันพอแล้ว ก็จะมีการออกเสียงลงคะแนนกัน ข้อเสนอที่ได้รับเสียงข้างมากจากที่ประชุมก็จะได้รับเลือกให้นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผลของคนส่วนใหญ่
6. หลักความยินยอม ประชาธิปไตยจะต้องมีพื้นฐานมาจากความยินยอมอีกด้วย เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และปวงชนได้เลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อใช้อำนาจดังกล่าว จึงถือได้ว่าผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ามาใช้อำนาจเหล่านี้ได้รับความยินยอมจากปวงชน แต่จะมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ และยังถูกจำกัดช่วงเวลาที่ได้รับความยินยอม คืออาจอยู่ในวาระช่วงระยะเวลาหนึ่ง (วาระครบ 4 ปี เป็นต้น) เมื่อครบวาระหรือมีการยุบสภาก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ หากผู้แทนราษฎรผู้ใดได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชนจะได้รับเลือกเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป
7. หลักประนีประนอม ในหลายกรณี หลังจากที่ผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันแล้ว และเล็งเห็นว่าข้อเสนอต่างๆ ที่ผู้แทนแต่ละคนเสนอไปนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก หรือมีข้อขัดแย้งกันไม่มากนักที่ประชุมก็อาจใช้การประนีประนอมกัน โดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นเกณฑ์ ไม่จำเป็นต้องมีการลงคะแนนเสียงข้างมากก็ได้
8. หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยเชื่อว่ามนุษย์ต่างก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แม้แต่รัฐธรรมนูญไทย ก็ยอมรับในหลักการนี้โดยเขียนไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี โดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดอภิสิทธิ์แต่อย่างใดเลย ฉะนั้นกฎหมายในสังคมประชาธิปไตยจึงบังคับใช้กับบุคคลทุกคนโดยเสมอหน้ากันหมด
9. หลักเสรีภาพ สังคมประชาธิปไตย นอกจากจะให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคแล้ว ยังให้ความสำคัญกับหลักเสรีภาพด้วย กล่าวคือ รัฐในระบอบประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมเสรีภาพต่างๆของปวงชน เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การอบรมศึกษา การรวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้เสรีภาพเหล่านี้จะถูกจำกัดโดยกฎหมายนั้นคือ ประชาชนต้องไม่ใช้เสรีภาพนี้เพื่อทำลายหรือรบกวนเสรีภาพของผู้อื่น
10. หลักนิติธรรม หมายถึงการยึดถือกฎหมายเป็นเกณฑ์กติกา และหลักประกันความเสมอภาคให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความถูกต้อง สงบเรียบร้อยและชอบธรรม โดยรัฐบาลจะต้องบังคับใช้กฎหมายแก่คนทุกคนโดยเท่าเทียมกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้มีอิทธิพลยศถาบรรดาศักดิ์ เงินทอง หรืออภิสิทธิ์อื่น ๆ
11. หลักการปกครองตนเอง เมื่อสังคมประชาธิปไตยให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคและหลักเหตุผล เชื่อว่ามนุษย์สามารถปรับปรุงตัวเองให้ก้าวหน้า รวมทั้งแก้ไขปัญหาของตนเองได้ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง ทั้งนี้เพราะพวกเข้ารู้ดีกว่าคนอื่นๆ ว่าตนเองต้องการอะไร หรือสิ่งใดที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้อาจจะอยู่ในแง่รูปธรรม เช่น สวัสดิการทางสังคมต่างๆ หรืออาจจะอยู่ในแง่ของนามธรรม เช่นเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคมก็ได้
รูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในประเทศประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้มีรูปแบบการปกครองเหมือนๆ กันทั้งหมด นักวิชาการได้พยายามเสนอหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่อาจใช้แบ่งรูปแบบการปกครองของประเทศประชาธิปไตยมากมายด้วยกัน สรุปได้เป็น 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้
1. หลักประมุขของประเทศ แบ่งรูปแบบประชาธิปไตยได้ 2 ลักษณะคือ
1) มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชน โดยใช้องค์กรแยกกันเป็น 3 ทางคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารโดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการโดยผ่านทางศาล ส่วนองค์พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นกลางในทางการเมือง เช่น ไทย อังกฤษ
2) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐเพียงหน้าที่เดียว เช่น สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ และบางประเทศประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุข ของฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฯลฯ
2. หลักการรวมและการแยกอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
1) แบบรัฐสภา ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ได้แก่ การมีเฉพาะผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวหรืออาจมี 2 สภาก็ได้ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตัวแทนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนมากสมาชิกได้มาจากการแต่งตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภาในบางประเทศก็มาจากการเลือกตั้ง ชื่อสภาอาจเรียกต่างกันได้ เช่น ในอังกฤษเรียกสภาผู้แทนราษฎรว่า สภาล่างและวุฒิสภาว่า สภาสูงหรือสภาขุนนาง แต่โดยหลักการสภาทั้งสองต้องประชุมร่วมกันรวมกันเป็นรัฐสภา ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คือมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อใช้ปกครองประเทศ และมีอำนาจบริหารในการให้ความเห็นชอบหรือจัดตั้งรัฐบาล และควบคุมการบริหารของรัฐบาลด้วย คือ รัฐบาลบริหารด้วยความไว้วางใจของรัฐสภา ในทางปฏิบัติถือกันเป็นหลักเกณฑ์ว่า สมาชิกสภากลุ่มหรือพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากสนับสนุนจะได้สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง แต่รัฐบาลจะต้องอยู่ในความควบคุมของสมาชิกรัฐสภา ลักษณะดังกล่าวนี้ รัฐสภาและรัฐบาลต่างทำหน้าที่ของตน แต่รัฐสภาควบคุมรัฐบาลด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ และอาจลงมติไม่ไว้วางใจเพื่อให้รัฐบาลลาออกได้ ส่วนรัฐบาลก็อาจยุบสภาได้ ทำให้เกิดความสมดุลแห่งอำนาจ
2) แบบประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบรัฐสภา การมีรัฐสภาเหมือนกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การมีประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร โดยประธานาธิบดีมีสิทธิและหน้าที่ในการจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อบริหารประเทศและรับผิดชอบร่วมกัน ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นก็ยังคงตกอยู่ที่รัฐ สภาการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีนี้ ทั้งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ได้รับเลือกจากประชาชน ทั้งสองฝ่ายจึงต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อระชาชน ส่วนอำนาจตุลาการยังคงเป็นอิสระ ฉะนั้นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ต่างก็เป็นอิสระและแยกกัน สถาบันผู้ใช้อำนาจทั้งสามจะเป็นตัวที่คอยยับยั้งและถ่วงดุลกันและกัน ไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจเกินขอบเขต เช่น การปกครองของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3) แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายรัฐมนตรี ในด้านการบริหารนั้นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามประกาศใช้กฎหมาย และคณะรัฐมนตรีก็ยังคงเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร แต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ส่วนรัฐสภาเองก็ยังคงทำหน้าที่สำคัญ คือ ออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ประธานาธิบดีในระบอบประชาธิปไตยแบบนี้ เป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศและการเมืองโดยทั่วๆ ไป ทั้งยังทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีอำนายยุบสภาได้ด้วย จึงมีอำนาจมาก เช่น อินเดีย ฝรั่งเศส
ประเภทของประบอบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ประชาธิปไตยโดยทางตรง เป็นรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนทั้งประเทศ เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการประชุมร่วมกัน พิจารณา ตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง และจะเป็นผู้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของรัฐโดยตรง เราจะเห็นว่าประชาธิปไตยประเภทนี้จะใช้ได้ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ก็แต่เฉพาะในสังคมเล็กๆ หรือประเทศเล็กๆ ที่มีสมาชิกจำนวนน้อย ซึ่งแต่ละคนมีโอกาสอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ และพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างละเอียดและมีเหตุผล แต่ถ้านำเอาประชาธิปไตยประเภทนี้มาใช้กับสังคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวนมากแล้วจะเป็นอุปสรรค เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงกัน และการที่จะหาสถานที่ประชุมขนาดใหญ่ เพื่อจะให้ประชาชนทั้งประเทศมาประชุมในที่เดียวกันย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง
2. ประชาธิปไตยโดยทางอ้อม เป็นประชาธิปไตยอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประเทศต่างๆ ของโลกได้ขยายตัวออกไปมาก ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมามาก ฉะนั้นโอกาสที่ประชาชนทั้งประเทศจะมานั่งปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ปัญหากันแบบประชาธิปไตยโดยทางตรงย่อมเป็นไปไม่ได้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้แทนที่ประชาชนทุกคนจะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใด ก็จะให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตัวแทนหรือที่รู้จักในนาม สมาชิกรัฐสภา เข้าไปสู่ที่ประชุมแทน ส่วนลักษณะและวิธีการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป
ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย
ข้อดี
1. ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและเสมอภาค ประชาชนทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นคนเหมือนกันไม่ว่ายากดี มีจน เช่น สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สินทุกคนมีเสรีภาพในการกระทำใด ๆ ได้หากเสรีภาพนั้นไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น เสรีภาพในการนับถือศาสนา เสรีภาพในการพูด การเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ และทุกคนมีความเสมอภาค หรือเท่าเทียมกันที่จะได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย มีความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ เป็นต้น
2. ประชาชนปกครองตนเอง ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมาย มาใช้ปกครองตนเอง และเป็นรัฐบาลเพื่อใช้อำนาจบริหาร ซึ่งสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนส่วนรวมได้ดี เพราะผู้บริหารที่เป็นตัวแทนของปวงชนย่อมรู้ความต้องการของประชาชนได้ดี
3. ประเทศมีความเจริญมั่นคง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองทำให้ประชาชนมีความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติตามกฎ และระเบียบที่ตนกำหนดขึ้นมา ยอมรับในคณะผู้บริหารที่ตนเลือกขึ้นมาและประชาชนไม่มีการต่อต้าน ทำให้ประเทศมีความสงบสุขเจริญก้าวหน้าและมั่นคง
ข้อเสีย
1. ดำเนินการยาก ระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการปกครองที่ดี แต่การที่จัดสรรผลประโยชน์ตรงกับความต้องการประชาชนทุกคนย่อมทำไม่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นการยากที่จะให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามสิทธิ เสรีภาพทุกประการ ทั้งนี้เพราะวิสัยของมนุษย์ย่อมมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมจึงมีการกระทบกระทั่งและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้
2. เสียค่าใช้จ่ายสูง การปกครองระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่แทนตน การเลือกตั้งในแต่ละระดับต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทั่งงบประมาณดำเนินงานของทางราชการและค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
3. มีความล่าช้าในการตัดสินใจ การตัดสินใจในระบอบประชาธิปไตยต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ โดยผ่านขั้นตอนการอภิปราย แสดงเหตุผลและมติที่มีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงต้องดำเนินตามขั้นตอน ทำให้เกิดความล่าช้า เช่น การตรากฎหมาย ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของวาระ อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือบางฉบับต้องใช้เวลาเป็นปี จึงจะตราออกมาเป็นกฎหมายได้
ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการคือ ระบอบการเมืองการปกครองที่โอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตกลงใจถูกจำกัดอยู่ในบุคคลเพียงคนเดียวหรือสองสามคน กล่าวคือจะใช้โอกาสในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดยใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน หากประชาชนคัดค้านก็จะถูกผู้นำหรือคณะบุคคลลงโทษหลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้
1) ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว กลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
2) การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
3) ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4) รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ
1. ไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประเทศ
2. จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
3. ยึดหลักความมั่นคง ปลอดภัยของรัฐเป็นสำคัญ ยกย่องอำนาจและความสำคัญขอรัฐ เหนือเสรีภาพของประชาชน
4. ยึดหลักรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลางของประเทศ ให้อำนาจอยู่ในมือผู้นำเต็มที่
5. ยึดหลักการใช้กำลัง การบังคับ และความรุนแรง เพื่อควบคุมประชาชนให้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้นำ
6. ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำอย่างเคร่งครัด ไม่มีสิทธิโต้แย้งในนโยบายหรือหลักการของรัฐ
7. สร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความหวั่นวิตกเกรงกลัวอันทำให้อำนาจรัฐเข้มแข็ง
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ
ระบบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. เผด็จการอำนาจนิยม มีลักษณะ ดังนี้
- อำนาจทางการเมืองเป็นของผู้ปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิ
- ควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย
- ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในครอบครัว การนับถือศาสนา การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ โดยที่รัฐมีสิทธิแทรกแซง
2. เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ มีลักษณะ ดังนี้
- ควบคุมอำนาจประชาชนทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ
- ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมในการปกครองใด ๆ ทั้งสิ้น
- รัฐเข้าดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยประชาชนเป็นเพียงผู้ให้แรงงาน
- มีการลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืนหรือต่อต้าน ประชาชนต้องเชื่อฟังรัฐบาล ผู้นำ ผู้ปกครองอย่างเคร่งครัด
- การปกครองแบบนี้ ได้แก่ การปกครองของรัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน
ข้อดีของระบบเผด็จการ
1. ช่วยให้การปกครองมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว
2. สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์หรือภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
3. ยกย่องผู้ที่มีความรู้ความสามารถสูงเพื่อช่วยปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้า
4. สร้างความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น -ประเทศเยอรมัน ในสมัยรัฐบาลนาซีภายใต้ฮิตเลอร์ -ประเทศอิตาลีในสมัยรัฐบาลฟาสซิสต์ภายใต้มุสโสลินี -ประเทศโซเวียต ภายใต้การนำพรรคคอมมิวนิสต์ -ประเทศจีน ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
ข้อเสียของระบบเผด็จการ
1. จำกัดและขัดขวางสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. สกัดกั้นมิให้ผู้มีความสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
3. ผู้ปกครองและพรรคพวกอาจใช้อำนาจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
4. ก่อให้เกิดการต่อต้าน ประเทศชาติขาดความสงบสุข5. ก่อให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องมาจากการผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้นผู้นำและพวกพ้อง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องพ้นจากตำแหน่งหรือว่าสมาชิกภาพเมื่อใด
ตอบลบวิธีด้านทางการและการกำเนิดการปกครองระบบการปกครองมีที่มาและปัญหายังไง มีลักษณะการปกครองยังไง
ตอบลบสล็อตpg https://www.pgslot-game.com/
ตอบลบ