วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ความรู้เกี่ยวกับรัฐ

ความหมายของรัฐ ชาติ ประเทศ
“รัฐ” หมายถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
“ชาติ” หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า “ชาติไทย”
“ประเทศ” ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า “ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ แม่น้ำภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา

องค์ประกอบของรัฐ
1. ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ
1) จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้
2) ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม
3) คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ
2. ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ
1)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้องทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล
2) ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย
3. รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ
4. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการ ใด ๆ ในประเทศอย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ หรือกล่าวกันอีกอย่างหนึ่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง
องค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่ง แม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง
จุดประสงค์ของรัฐ 1. สร้างความเป็นระเบียบ 2. การส่งเสริมสวัสดิภาพแก่ประชาชน 3. การส่งเสริมสวัสดิการแก่ส่วนรวม 4. การส่งเสริมคุณธรรม
หน้าที่ของรัฐหน้าที่ของรัฐแล้วมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
2. การให้บริการและสวัสดิการทางสังคม
3. การพัฒนาประเทศ
4. การป้องกันการรุกรานจากภายนอก

รูปแบบของรัฐ (Forms of State)
1. รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
รัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอด รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศด้วย ตัวอย่างรัฐเดี่ยว ได้แก่ อังกฤษ ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น
ขอสังเกตลักษณะของรัฐเดี่ยว
1.1 ตองมีรูปลักษณะการปกครองที่มีกฎหมาย ระเบียบแบบแผน เปนแบบอยางเดียวกันทั้งประเทศ
1.2 มีอาณาเขตไมกวางขวางเทาใดนัก
1.3 รัฐบาลกลางรวมอํานาจไวที่สวนกลางแหงเดียว
1.4 ประชาชนในรัฐจะมีเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เปนแบบอยางเดียวกัน
1.5 ตัวอยางประเทศที่มีลักษณะเปนรัฐเดียว ไดแก ญี่ปุน อังกฤษ ฝรั่งเศส นอรเวย สวีเดน เดนมารก ฟลิปปนส อินโดนีเซีย ฯลฯ


2. รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป โดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกัน อาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น
ขอสังเกตลักษณะของรัฐรวม
2.1 มีรัฐบาล2 ระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลสวนทองถิ่น
2.2 สวนใหญจะมีอาณาเขตกวางขวาง
2.3 รัฐบาลกลางจะไมมีเอกภาพในการบริหารเพราะรัฐบาลสวนทองถิ่นจะวางนโยบายปกครองตนเอง
2.4 ประชาชนจะมีหลายเชื้อชาติและหลายวัฒนธรรมมาอยูรวมกัน
2.5 ชื่อประเทศมักจะขึ้นตนดวยคําวาสหรัฐ สหภาพ สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ
รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1) สหพันธรัฐ (Federal State) สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับเดียวกันร่วมกันและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ๆ รูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย 2) สมาพันธรัฐ (Confederation State) สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่นการเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของรัฐแบบสมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้ว แต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีมากเลยค่ะ หาทุก web ไม่เจอมาเจอนี่เลยทำงานส่งได้สบายเลย ขอบคุณค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมาก ๆ นะคะ เป็นบทความที่มีประโยชน์มาก ๆ ^^

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ละเอียดดีครับ