วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

นโยบายการคลัง

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
ประการที่ 1 ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน
ประการที่ 2 ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน
ประการที่ 3 เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน
ประการที่ 4 รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
นโยบายทางเศรษฐกิจ
นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือคณะบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งไว้
นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ในการกำหนดและ ควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการชำระเงินระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของรัฐบาล โดยใช้
เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งเป็น การเพิ่มอำนาจการซื้อให้ประชาชน เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จูงใจให้ ลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มจนรายได้ประชาชาติสูงขึ้น เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืด
2) นโยบายการเงินแบบเข้มงวดหรือแบบรัดตัว เป็นการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของรัฐบาลโดยใช้เครื่องมือการเงินต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น คือ ลดอำนาจการซื้อของประชาชนลง เป็นการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

2. นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการหารายได้และการวางแผนการใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายการคลัง เป็นเครื่องมือในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของรายได้ในประเทศ เพราะผลจากการดำเนิน นโยบายการคลังของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของรัฐบาลที่วางไว้ มี 3 ประเภท ดังนี้
1) นโยบายการคลังกับการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติ การเก็บภาษีอากรและการ
ใช้จ่าย ของรัฐบาลมีผลกระทบกับรายได้และค่าใช้จ่ายของประเทศ เพราะถ้ารัฐบาลเก็บภาษี
ในอัตราที่สูงทำให้ประชาชน มีรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายได้จริงมีจำนวนลดลง ทำให้การบริโภคของประชาชนลดลง ถ้ารัฐบาลเก็บภาษี ในอัตราที่ต่ำจะทำให้ประชาชนมีรายได้เหลืออยู่ในมือจำนวนมาก ประชาชนจะบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
2) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว
เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยการเพิ่มอัตราภาษีและลดรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อลดปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ลดความต้องการบริโภคของประชาชนลงและลดรายจ่าย ของรัฐบาลทำให้ประชาชนมี รายได้ลดลง นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแบบเกินดุล คือต้องทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่าย
3) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบ
ขยายตัว เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลและลดอัตราภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ เพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพิ่มการลงทุนเพิ่มการจ้างงานและผลผลิต ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณ แบบขาดดุล คือต้องทำให้รายจ่าย สูงกว่ารายรับ
รายรับของรัฐบาล หมายถึง เงินที่รัฐบาลได้รับในรอบปี ได้แก่ รายได้รัฐบาลและเงินกู้
ของรัฐบาล

รายได้ของรัฐบาล หมายถึง เงินภาษีอากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ในรอบปี
รายได้ของรัฐบาลที่สำคัญ คือ รายได้จากภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. รายได้จากภาษีอากร 2. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร รายได้จากภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้เพื่อ
ใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และไม่มีผลตอบแทนโดยตรงจากผู้เสียภาษีอากร

รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บ จากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียม จดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่าง ๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศและรายได้ค่าปรับดอกเบี้ย เงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

ภาษีอากร
วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากร
1. เพื่อเป็นรายได้ของรัฐบาล ส่วนใหญ่มาจากภาษีอากร
2. เพื่อจัดสรรและกระจายรายได้ โดยยึดหลักการเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้มาก
ในอัตราที่สูงและ ยกเว้นรายได้ในกรณีไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
3. เพื่อเป็นการควบคุมการบริโภค การผลิต ตลอดจนการนำเข้าและส่งออก
4. เพื่อนำไปชำระหนี้ของรัฐบาลและพัฒนาประเทศ
5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการปรับอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพ
เศรษฐกิจ ใช้แก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด
หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
1. หลักความยุติธรรม หมายถึง บุคคลทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีจากรายได้
ของตนเอง
2. หลักความแน่นอน หมายถึง การกำหนดวิธีการปฏิบัติให้แน่นอน เพื่อให้ทุกคน
ถือปฏิบัติให้ เหมือนกัน เช่น อัตราการคำนวณภาษี วิธีการชำระภาษี ระยะเวลาในการชำระภาษี การจ่ายคืนภาษี ฯลฯ
3. หลักความสะดวก หมายถึง การกำหนดให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกในการ
เสียภาษี
4. หลักความประหยัด หมายถึง การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี
เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้
5. หลักความยืดหยุ่น หมายถึง การควบคุมภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำหรือรุ่งเรือง
จนเกินไป
ประเภทของภาษีอากร
1. การแบ่งตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1) การเก็บภาษีจากทรัพย์สิน ได้แก่ ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน2) การเก็บภาษีจากการขายหรือใช้สิ่งของ ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีศุลกากร ภาษี
สรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
3) การเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. การแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1) ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ฯลฯ
2) ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีอากรสามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ

หนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะ
รายรับของรัฐบาลบางส่วนได้มาจากการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีข้อผูกพันที่จะใช้คืนเงินต้นและพร้อมดอกเบี้ย เมื่อมีการกู้เงินทุกๆ ปี หนี้สินของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อผูกพันของรัฐบาลในหนี้สินนั้นมิได้เกิดจากการกู้ยืมโดยรัฐบาลเท่านั้นบางส่วนจะเกิดจากการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาลให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ หนี้สินของรัฐบาลเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หนี้สาธารณะ
วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้สาธารณะ
ชดเชยการขาดดุลของรัฐบาล เมื่อประมาณการรายจ่ายสูงกว่ารายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ รัฐบาลต้องแสวงหาเงินส่วนที่ยังขาดโดยการกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นหนี้
ที่รัฐบาลกู้โดยตรงไม่รวมการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันให้กับรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศ ถ้ารัฐบาลสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้มีประสิทธิภาพมากกว่าภาคเอกชน การที่รัฐบาลกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศจะเป็นการดึงเงินจากภาคเอกชนมาใช้จ่ายหรือโอนทรัพยากรของประเทศมาให้รัฐบาลใช้
รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ บางครั้งแม้รัฐบาลจะมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายแต่เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องก่อหนี้ขึ้น หรือในช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาขาดดุลการชำระเงินและทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการชำระเงินและมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่ต่างประเทศเชื่อมั่น
เร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการที่จำเป็นต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจซึ่งใช้เงินลงทุนสูง หรือกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อนำมาซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องมือจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งส่งผลต่อการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
หลักในการก่อหนี้สาธารณะ
ในการก่อหนี้สาธารณะจะต้องคำนึงถึงหลักในการก่อหนี้เพื่อให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดผลดีแก่ประเทศ ดังนี้
หลักผลประโยชน์ของเงินกู้ เงินกู้นั้นควรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือกู้เพื่อการลงทุน และควรเป็นการลงทุนในโครงการที่สามารถให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนของเงินกู้นั้น
หลักภาระหนี้ การกู้เงินจะมีภาระการใช้คืนซึ่งจะทำให้รายจ่ายของรัฐบาลในปีต่อมาสูงขึ้น ถ้าเป็นการกู้จากต่างประเทศการใช้คืนจะต้องชำระคืนเป็นเงินสกุลต่างประเทศซึ่งอาจทำให้ประเทศประสบปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงภาระการใช้คืนหนี้ด้วย
หลักเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การกู้ยืมเงินจากประชาชนจะทำให้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนลดลง การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง ดังนั้น จะต้องระมัดระวังมิให้มีการก่อหนี้ภายในประเทศมากจนเกินไปจนอาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัวอย่างรุนแรง

ประมาณการรายจ่าย
การประมาณการรายจ่ายจำแนกได้หลายประเภท เช่น ตามหน้าที่งาน ตามลักษณะเศรษฐกิจ ตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามแผนงานของสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ เป็นต้น
การจำแนกรายจ่ายตามแผนงาน เป็นการจำแนกรายจ่ายตามแผนงานด้านต่างๆ ดังนี้ การเกษตร การอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ การคมนาคมขนส่งและสื่อสาร การพาณิชย์และท่องเที่ยว การวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม การศึกษา การสาธารณสุข การบริการสังคม การรักษาความมั่นคงของชาติ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การบริหารงานทั่วไปของรัฐ และการชำระหนี้เงินกู้
การจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ เป็นการจำแนกงบประมาณรายจ่ายเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยจำแนกเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน รายจ่ายประจำ และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
การจำแนกรายจ่ายตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นการจำแนกออกตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ได้รับการจัดสรรรายจ่าย เช่น กระทรวงต่างๆ หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล
วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายของรัฐบาล
วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายของรัฐบาลสามารถจำแนกได้จากงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล นอกจากเพื่อบริหารประเทศ รักษาความสงบภายในประเทศและความมั่นคงของชาติแล้ว วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายของรัฐบาล ได้แก่
1. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของอุปสงค์มวลรวม ดังนั้น ควรให้มีการยืดหยุ่นด้านรายจ่ายเพื่อให้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้
2. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ในช่วงที่ประเทศประสบปัญหาด้านดุลการชำระเงิน รัฐบาลสามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายเพื่อให้ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ประชาชาติและดุลการชำระเงินของประเทศด้วย
3. เร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องใช้จ่ายในโครงการที่จำเป็นต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ เช่น โครงการเขื่อนเพื่อการชลประทานด้านการเกษตรและการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
4. เกิดความเสมอภาคในการกระจายรายได้ การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลจะส่งผลให้การกระจายรายได้มีความเสมอภาคมากขึ้น เช่น การใช้จ่ายเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรยากจนในชนบทซึ่งจะช่วยทำให้การกระจายรายได้เสมอภาคมากขึ้น

งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณแผ่นดิน
งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น จึงเรียกว่า งบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณแผ่นดินและนำเสนอเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเพื่อใช้บังคับต่อไป
การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้าและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบของอุปสงค์รวม การวางแผนการใช้จ่ายและการหารายรับจะทำให้สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจในปีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รัฐบาลบริการการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตของงบประมาณที่จัดทำขึ้น

ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน
งบประมาณแผ่นดินแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. งบประมาณสมดุล (Balanced budget) หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลรวมกันแล้วเท่ากับรายจ่ายของรัฐบาลพอดี ดังนั้น รัฐบาลไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้
2. งบประมาณไม่สมดุล (Unbalanced budget) หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลไม่เท่ากับรายจ่ายของรัฐบาล ถ้ารายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่ายของรัฐบาลเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (Surplus budget) ซึ่งรัฐบาลจะมีรายได้เหลือจากการใช้จ่าย เงินคงคลังของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น ถ้ารายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาล เรียกว่า งบประมาณขาดดุล (Deficit budget) ซึ่งรัฐบาลต้องกู้เงินหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่ของประมาณการรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลแล้ว งบประมาณแผ่นดินจะต้องสมดุลเพื่อมิให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมา

การเงิน การธนาคาร และการคลัง

การเงินและการธนาคาร
เหตุที่เงินมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจเพราะการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรายได้ ผลผลิต การจ้างงาน และการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย และจากการที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการใช้จ่ายมวลรวม ผลกระทบเหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเงิน
เงิน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นที่ยอมรับในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เงินประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งสามารถสั่งจ่ายด้วยเช็ค และบัตรเครดิต เป็นบัตรที่สามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการได้สะดวก

หน้าที่ของเงิน

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนการตกลงซื้อขาย
เพราะเงินมีอำนาจซื้อ ทำให้ผู้ถือเงินสามารถซื้อหาสินค้าและบริการได้

2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า หน่วยของเงินสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้า และบริการทำให้ทราบว่าสินค้าและบริการแต่ละชนิดมีมูลค่าแตกต่างกัน เช่น ราคาเสื้อตัวละ100 บาท กางเกงตัวละ 200 บาท
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า เช่น การกู้ยืมเงิน การประกันภัย ฯลฯ
4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์รูปแบบหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมเก็บสะสม
เพราะเงินเป็น ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด เช่น พ่อค้าขายของชำในหมู่บ้านซื้อสินค้ามาไว้เพื่อขายทรัพย์สินจะอยู่ในรูป ของสินค้า ถ้าพ่อค้าจำหน่ายสินค้าจะได้รับเงินมาหมุนเวียน แต่ถ้าพ่อค้าไม่ได้ขายสินค้า ก็เป็นการเก็บรักษา มูลค่าของสินค้านั้นไว้แทนเงิน

คำนิยามของปริมาณเงิน
ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) หมายถึง เงินเหรียญ ธนบัตร และเงินฝากประเภทกระแสรายวัน
ปริมาณเงินในความหมายกว้าง (M2 ) M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำของภาคเอกชน
ตลาดการเงิน ( Finance Market)
บทบาทของตลาดการเงิน ตลาดการเงินจะเป็นแหล่งระดม หรือหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยระดมจากบุคคลที่มีเงินออมเหลือโดยโอนไปเป็นเงินลงทุนทั้งหมด การระดมเงินทุนดังกล่าวจึงต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า ตลาดการเงิน เพื่อให้ผู้ออม และผู้ลงทุน ซึ่งมีจำนวนมาก สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินเหลือไปให้หน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการ
เงินลงทุน โดนผ่านตลาดการเงิน ซึ่งจะมีสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ระหว่างผู้ออมกับผู้ลงทุน โดยผู้ออมจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก และผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ มากกว่าผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับ
ตลาดการเงินจะเป็นตัวกลางทางการเงินที่อยู่ในรูปสถาบันการเงิน หรือมิใช่สถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนทั้งนาระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้เครื่องมือทางเครดิตเป็นหลักฐานในการกู้ยืม ซึ่งได้แก่ สัญญากู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร เงินกู้ เป็นต้น

ตลาดการเงินตามระบบ
1. ตลาดการเงินในระบบ (Organized Market) คือแหล่งให้มีการให้กู้ยืมกัน โดยมี
สถาบันการเงินต่าง ๆ ดำเนินงานภายในขอบเขตของตัวบทกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติจะแตกต่างไปตามประเภทของสถาบันตามที่กฎหมายระบุ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
2. ตลาดการเงินนอกระบบ ( Unorganized Market) เป็นแหล่งเงินที่มีการกู้ยืม
ระหว่างผู้ต้องการเงินกับผู้ให้กู้ยืม โดยไม่มีกฎหมายรองรับ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น การเล่นแชร์ ยืมเงินจากเพื่อนสนิท ญาติ รับจำนำ ซื้อขายแบบผ่อนส่ง เป็นต้น แหล่งการเงินแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเองตามความจำเป็น และความต้องการของสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจการเงินค่อนข้างสูง

ดุลยภาพในตลาดเงิน
อุปสงค์ของเงิน(Demand for money) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย โดยปกติทุกคนต้องถือเงินไว้จำนวนหนึ่งให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในกิจวัตรประจำวัน สาเหตุที่คนเราต้องถือเงินไว้เพราะรายรับและรายจ่ายไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่การใช้จ่ายจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยคัญที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยก็คือ รายได้ประชาชาติ ถ้ารายได้ประชาชาติสูง ความต้องการถือเงินไว้ใช้จ่ายก็จะสูงด้วย อุปสงค์ต่อเงินประเภทนี้จะผันแปรไปโดยตรงกับระดับรายได้ประชาชาติ และอุปสงค์ต่อเงินประเภทนี้ยังขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย เพราะในขณะใดขณะหนึ่งเราถือเงินไว้จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสใน
รูปของอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับ จากการเอาเงินไปลงทุนทำอย่างอื่น ดังนั้นถ้าหาก
อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น อุปสงค์ต่อเงินประเภทนี้จะลดลง เหตุผลก็คือผู้มีเงินจะจัดสรรเงินไปซื้อหลักทรัพย์ หรือฝากธนาคารไว้ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนก็คือ ดอกเบี้ย นั่นเอง
2. ความต้องการถือเงินเพื่อสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน โดยทั่วไปคนเราจำเป็นต้องถือเงิน
ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยกะทันหัน เป็นต้น ความต้องการประเภทนี้จะผันแปรโดยตรงกับรายได้และยังอาจผันแปรไปในทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยด้วย
3. ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร เป็นการถือเงินไว้เพื่อสะสมค่า หากถือเงินไว้เกิน
ความต้องการก็ย่อมมีค่าเสียโอกาส ที่จะได้รับผลตอบแทนจากการนำเงินนั้นไปฝากธนาคารหรือซื้อหลักทรัพย์เป็นต้น ความต้องการถือเงินไว้เพื่อเก็งกำไร เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์อันมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาด เช่น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำคนจะไม่นำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ จะพากันถือเงินไว้เฉย ๆ เพื่อรอให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในอนาคต ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันสูง ผู้ถือเงินจะนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์ เพราะคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่สูงไปกว่านี้ ดังนั้น ราคาของหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย
กล่าวคือ ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยตลาดสูง ราคาหลักทรัพย์จะลดลง และถ้าหากอัตรา
ดอกเบี้ยตลาดลดลงราคาหลักทรัพย์จะสูงขึ้น จึงเห็นได้ว่าอุปสงค์ต่อเงินเพื่อเก็งกำไรจะผันแปรตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยตลาดสูงขึ้น ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะต่ำลง เนื่องจากผลตอบแทนจากการถือหลักทรัพย์จะมีน้อยกว่าการถือเงิน ทำให้คนขายหลักทรัพย์ลดลง
อุปทานของเงิน (Supply of Money)
คือความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงินที่หมุนเวียน
ในระบบเศรษฐกิจขณะใดขณะหนึ่งจะถูกกำหนดโดยนโยบายของธนาคารกลาง ทั้งนี้พิจารณาตามความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นปริมาณเงินจะไม่มีความยืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ย
ดุลยภาพในตลาดเงิน
เงื่อนไขหรือภาวะสมดุลในตลาดเงินเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของเงินทั้งหมดเท่ากับ
ปริมาณเงินที่มีอยู่พอดี กลไกที่ทำให้เกิดภาวะสมดุลคืออัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ ถ้าหากอัตราดอกเบี้ย สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพจะมีแรงผลักดันในตลาด ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงจนเข้าสู่ภาวะสมดุล ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดุลภาพ ก็จะผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น
ภาวะสมดุลในตลาดเงินอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงิน ซึ่งจะ
ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยจะกระตุ้นการใช้จ่ายมวลรวมโดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของธุรกิจ และส่งผลต่อรายได้ประชาชาติในที่สุด เพราะการเพิ่มในปริมาณเงินจะก่อให้เกิดการลดลงในอัตราดอกเบี้ยและจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลงย่อมก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นในการใช้จ่ายลงทุน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการใช้จ่ายมวลรวมของระบบเศรษฐกิจ

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ฝากเงิน และผู้ต้องการกู้ยืมเงินมีลักษณะ สำคัญดังนี้
1. เป็นแหล่งระดมเงินออม โดยวิธีรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป และออกตราสารอื่นให้แก่ประชาชน
2. เป็นสถาบันที่เป็นตัวกลางในการให้บริการกู้ยืมเงินโดยใช้เงินออมที่รับฝากจากประชาชนนำมาให้ กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อลงทุน
3. เป็นสถาบันที่อำนวยความสะดวกทางการเงิน โดยการให้บริการค้ำประกันสัญญาใช้เงินหุ้นหรือ หลักทรัพย์ทางการเงินบางประเภท ทำให้สินทรัพย์มีความน่าเชื่อถือ


ประเภทของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้1. ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงินของ
ประเทศ ดูแลเงินสำรองระหว่างประเทศ ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และออกธนบัตรของรัฐบาล ควบคุม ปริมาณเงินของประเทศ

บทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลาง เป็นสถาบันการเงินที่สำคัญยิ่งของประเทศ เนื่องจากมีบทบาทหน้าที่หลัก ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และดูแลระบบการเงินให้มั่นคงและ ก้าวหน้า ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ จะมีหน้าที่ดังกล่าวคล้ายคลึงกัน แต่ขอบเขตของหน้าที่และ บทบาทในการกำหนดนโยบายการเงิน การควบคุมดูแลสถาบันการเงิน ความรับผิดชอบใน การบริหารนโยบาย การใช้มาตรการและเครื่องมือแตกต่างกันไป สำหรับประเทศกำลังพัฒนาธนาคารกลางจะมี บทบาทที่กว้างกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการเงินให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน สากล เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและ มีสถียรภาพ
บทบาทและหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
1 การรักษาเสถียรภาพทางการเงินโดยดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินทั้งภายในและภายนอก เสถียรภาพภายใน ได้แก่ การรักษาค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับราคาและปริมาณสินค้า ส่วนเสถียรภาพภายนอก ได้แก่ การรักษาค่าของเงินบาทเมื่อเทียบ กับสกุลเงินตราต่างประเทศธนาคารมีหน้าที่ดูแลตลาดเงินระยะสั้นให้เป็นแหล่งที่เสริมสร้างสภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน พัฒนาตลาดตราสารการเงิน และสนับสนุนตลาดทุน เพื่อให้เป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว ตลอดจนดูแลและส่งเสริมให้ตลาดเงินตราต่างประเทศมีเสถียรภาพ เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุน
2 การกำกับดูแลสถาบันการเงิน
กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ รวมทั้งกิจการวิเทศธนกิจ ให้มีความมั่นคงและได้มาตรฐานสากล ตลอดจนดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการกระจายสินเชื่อไปสู่ภาคเศรษฐกิจสำคัญด้านต่างๆ เช่น การส่งออก การเกษตรกรรม และการอุตสาหกรรม รวมทั้งดูแลและส่งเสริมให้มีการให้สินเชื่อในการพัฒนาหรือเป็นประโยชน์แก่ชนบท และเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย โดยการให้กู้ยืมผ่านสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้ง ดำเนินการพัฒนาสถาบันการเงินให้ก้าวหน้าและให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินในกรณีที่จำเป็นต้องมีการแก้ไข
3 การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลการเป็นนายธนาคารของรัฐบาลประกอบด้วย การให้บริการธุรกิจธนาคารแก่ส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ เช่น การรับฝากเงิน การให้กู้เงิน การ โอนเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการควบคุม การก่อหนี้ต่างประเทศและบริหารหนี้ในประเทศของรัฐบาล โดยเป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในด้านการให้คำปรึกษานโยบายเศรษฐกิจแก่รัฐบาล ได้แก่ รวบรวมข้อมูล/ วิเคราะห์ และประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนของรัฐบาลในองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลุ่มธนาคารกลางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN) และกลุ่มธนาคารกลาง แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย (SEANZA) เพื่อส่งเสริมการร่วมมือทางการเงินและการพัฒนาประเทศ มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นกับองค์กรทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เช่น ธนาคารโลก (IBRD) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และองค์การเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD) รวมทั้งธนาคารกลางของประเทศต่างๆ
4 การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงินให้บริการทางการเงินแก่สถาบันการเงินโดยไม่มุ่งหวังกำไร ได้แก่ การรับฝากเงินและเก็บรักษาเงินสำรองตามกฎหมายของสถาบันการเงิน เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง เป็นศูนย์กลางการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน รวมทั้งให้บริการโอนเงิน ระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
5 การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสภาพคล่องปลอดภัย และมีระดับที่เหมาะสม ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายเพื่อเสถียรภาพ และความน่าเชื่อถือของเงินบาท
6 การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตรออกแบบและจัดพิมพ์ธนบัตรและบัตรธนาคาร ออกใช้ธนบัตรและรับแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด เพื่อให้ประชาชนมีธนบัตรที่อยู่ในสภาพดี ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั่วถึงทั้งประเทศ รวมทั้งดูแลการหมุนเวียนของธนบัตรให้มีปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ



ธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 กล่าวว่าธนาคาร
พาณิชย์คือสถาบันผู้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินและจ่ายคืนเมื่อทวงถามเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และให้บริการกู้ยืม ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซื้อลดตั๋วเงิน และบริการอื่น ๆ เช่น เช่าตู้นิรภัย บัตรเครดิต บัตร ATM บริการจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น

สถาบันการเงินอื่น ๆ ได้แก่ สถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ได้แก่ธนาคารออมสิน เป็นของรัฐบาล บริการรับฝากเงินแล้วให้รัฐบาลกู้โดยวิธีการซื้อพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านเกษตรและสหกรณ์โดยเฉพาะ บริษัทเงินทุนของ เอกชน รับฝากเงินก้อนใหญ่ และให้กู้เงินเพื่อการค้า การบริโภค การเคหะ และอุตสาหกรรม สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์และบริษัทประกันภัยก็เป็นแหล่งรวบรวมเงินทุนโดยมีผลตอบแทนให้แก่ผู้เอาประกันตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

การคลัง
การคลัง หมายถึง เศรษฐกิจภาครัฐบาล เกี่ยวกับการหารายได้เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตครอบคลุมอยู่ 3 อย่าง คือ รายรับของรัฐบาล
รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน
รายรับของรัฐบาล ได้จากเงินต่างๆ 3 ประการ คือ
1. รายได้ของรัฐบาล ประกอบด้วย ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และ
อื่นๆ เช่น ค่าปรับ ค่าภาคหลวง ฤชากร การผลิตเหรียญกษาปณ์
2. เงินกู้ เงินกู้ของรัฐบาลนั้นมีทั้งกู้ภายในประเทศและกู้จากต่างประเทศ เรียกว่า “หนี้
สาธารณะ”
3. เงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่แต่มิได้นําออกมาใช้ เงินนี้อาจจะเหลือจากงบประมาณในปีก่อนก็ได้รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากภาษีอากร ในประเทศไทยการเก็บภาษีเงินได้ใช้ระบบก้าวหน้า หมายถึง ยิ่งมีรายได้สูงอัตราการเก็บภาษีจะสูงขึ้นเรื่อยๆ (5 - 37%) การเก็บภาษีแบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ
1) ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากผู้มีรายได้โดยตรงหรือผู้ที่เป็นเจ้าของ
ทรัพย์สิน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย (เงินฝากประจํา)ภาษีรางวัล ภาษีทะเบียนรถยนต์ ภาษีมอเตอร์ไซด์ ภาษีทะเบียนเรือ ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีสนามบิน เป็นต้น
2) ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือภาษีที่เก็บจากบุคคลหนึ่งแล้วบุคคลนั้นผลักภาระการ
เสียภาษีนั้นไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ภาษีศุลากร เป็นภาษีที่เก็บจากการนําเข้าและส่งออกสินค้า
2. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากการผลิตหรือจํ าหน่ายสินค้าบางชนิด เช่น นํ้ามัน
เชื้อเพลิง ก๊าซ บุหรี่ เบียร์ เครื่องดื่ม ยานัตถุ์ ไพ่ ไม้ขีด ปูนซีเมนต์ เป็นต้น
3. ภาษีสรรพากร เช่น อากรมหรสพ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
การกู้เงินของรัฐบาล รัฐบาลมีแหล่งเงินกู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ คื อ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคาร
พาณิชย์ องค์การ สถาบัน มูลนิธิ บริษัท และประชาชน
แหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ คือ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินต่างประเทศ และรั ฐบาลต่างประเทศ
รายจ่ายของรัฐบาล วัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการจ่ายเงิน คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทําให้รายได้ประชาชนสูงขึ้น เพื่อสาธารณูปโภคบริการแก่ประชาชน เพื่อรักษาความสงบภายใน และเพื่อใช้ป้องกันประเทศรายจ่ายของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 12 ประการ เช่น การเกษตร การศึกษา การสาธารณสุขการรักษาความมั่นคงแห่งชาติและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และการชําระหนี้เงินกู้เป็นต้น
งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง เอกสารประมาณการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลงบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นการวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลนั่นเอง ประเทศไทยเริ่มมีงบประมาณแผ่นดินครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดทํางบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนผู้ที่อนุมัติการใช้งบประมาณ คือ รัฐสภา โดยประกาศออกมาเป็นกฎหมาย เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พ.ศ. …”ปีงบประมาณของประเทศไทยจะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป เช่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้น
ลักษณะของงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. งบประมาณขาดดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลตํ่ากว่ายอดรายจ่าย จําต้องนําเอาเงินกู้และเงินคงคลังมาเสริม
2. งบประมาณเกินดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลสูงกว่ายอดรายจ่าย
3. งบประมาณได้ดุล (สมดุล) หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลเท่ากับยอดรายจ่าย

การลงทุนระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศ
การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงผลกำไรในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment ) ในปัจจุบันการลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการดำเนินงานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ให้
2. การลงทุนโดยอ้อม ( Indirect Investment ) เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนต่างชาติไม่ได้เข้ามามีส่วนดำเนินกิจการโดยตรง ได้แก่ การลงทุนในรูปเงินกู้ ( Loan ) , การลงทุนแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศ

การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1. เพื่อปรับดุลการชำระเงินให้สมดุล
2. เพื่อชำระหนี้สินต่างประเทศซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
3. แบบโดยตรงเพื่อหวังผลกำไรที่เกิดจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ ต้นทุนการผลิต ภาวะการตลาด และนโยบายของรัฐบาลที่รับการลงทุน

การเงินระหว่างประเทศ

การเงินระหว่างประเทศ
เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมา ในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้ เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

ดุลการค้า (Balance of trade)
ดุลการค้า หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือจากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.3 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า มูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ

ดุลการชำระเงิน (Balance of payment)
ดุลการชำระเงิน หรือ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีหรือรายการที่ แสดงการรับ และการจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้า การบริการ และการเงินด้านอื่นๆ ของประเทศที่เกิดจากการติดต่อกับประเทศอื่นสนระยะเวลาหนึ่ง (ปกติมีระยะเวลา 1 ปี) ดุลการชำระเงินจะแสดงรายการรายรับและรายจ่ายในการนำสินค้าเข้าประเทศและส่งสินค้าออก ไปขายต่างประเทศ และรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าชนส่งและค่าประกันภัยในการนำสินค้า เข้าหรือออก เงินที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศ เงินต้น และดอกเบี้ยที่รัฐบาลส่งไปชำระให้ต่างประเทศ เป็นต้น
ลักษณะของดุลการชำระเงิน มี 3 ลักษณะ คือ
1. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศเท่ากับยอดรายจ่าย เงินตราต่างประเทศ
2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศน้อยกว่ายอดรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
3. ดุลการชำระเงินเกิดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศมากกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในด้านการค้า และติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือ ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ดุลการชำระเงินนี้จะแสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศ ถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุล มียอดรายจ่าย มากกว่ายอดรายรับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวนเงินตราต่างประเทศหรือทองคำที่สะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลง และถ้าลดลงมากก็อาจกระทบกระเทือน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้
ดุลการชำระเงินแตกต่างจากดุลการค้า คือ ดุลการชำระเงินบันทึกการรับจ่ายที่เกิด จากการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกๆ ธุรกรรม(Transaction) ในขณะที่ ดุลการค้าจะบันทึกรายการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงธุรกรรมเดียว ดังนั้นดุลการค้า จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงินเท่านั้น และหากว่าดุลการค้าไม่สมดุล ก็ไม่จำเป็นว่า ดุลการชำระเงินจะต้องไม่สมดุลตามไปด้วย
ตามปกติดุลการชำระเงินจะมียอดบัญชีที่สมดุลอยู่เสมอ เพราะมีบัญชีทุนสำรอง ระหว่างประเทศใช้เป็นตัวปรับความไม่สมดุลที่เกิดจากยอดรวมสุทธิของบัญชีอื่น ถ้าผลรวม ของบัญชีอื่นมียอดขาดดุลจะส่งผลให้ยอดบัญชีทุนสำรองระหว่าง ประเทศลดลง แต่ถ้าผลรวม บัญชีอื่นมียอดเกินดุลยอดบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ
คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

อุปทานของเงินตราต่างประเทศ
คือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศที่เรามีอยู่ และส่วนใหญ่ได้จากการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศซึ่งการที่อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
1. ปริมาณสินค้าและบริการที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
2. ความต้องการของนักธุรกิจต่างประเทศในอันที่จะนำเงินมาลงทุน หรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศ
3. ปริมาณเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ระบบการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
1. ระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ( Free Exchange Rate ) เป็นระบบที่อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นหรือต่ำลงได้อย่างเสรีตามสภาพอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยผ่านกลไกของราคาในตลาด โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล ระบบนี้จะไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนทางการ จะมีแต่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเพียงอย่างเดียว และระบบนี้จะไม่มีกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ( Exchange Stabilization Fund : ESF ) ทั้งนี้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการปรับดุลการชำระเงินให้สู่ระดับสมดุลโดยกลไกของราคาตลาด ซึ่งจะดำเนินอยู่ตลอดเวลา
** ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ไม่นิยมใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรี เพราะเหตุ 3 ประการ คือ
1.ทำให้ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศมีค่าน้อยมาก จะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้มาก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ
2. เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศขึ้น มักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศในทางที่ทับทวีมากขึ้น
3. ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ ก่อให้เกิดการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ อันเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนยิ่งห่างไกลจากความสมดุลมากขึ้นแทนที่จะปรับตัวได้
**ภายในระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ค่าแห่งเงินตราของประเทศต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศจะเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นประจำ ซึ่งมีผลเสียต่อการค้าระหว่างประเทศ และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงขึ้นได้โดยง่าย
2. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดให้คงที่ ( Fixed Exchange Rate ) ระบบนี้อาจจำแนกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
2.1 ระบบมาตรฐานทองคำ ( Gold Standard ) เป็นระบบที่กำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำตามน้ำหนักและความบริสุทธิ์ที่กำหนดไว้โดยเงินตราของประเทศนั้น
** Mint Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนในระบบมาตรฐานทองคำที่ได้มาจากการเทียบค่าเงินโดยผ่านน้ำหนักของทองคำ
** อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ จะอยู่ระหว่างจุดทองคำไหลออก ( Gold Export Point ) และจุดทองคำไหลเข้า ( Gold Import Point ) โดยจุดทองคำจะถูกกำหนดขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งทองคำเข้า – ออก และอัตราแลกเปลี่ยนทางการ
ตัวอย่างที่ 1 ค่าขนส่งทองคำจากสหรัฐฯ ไปอังกฤษ หรืออังกฤษไปสหรัฐฯ เท่ากับ 0.02 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนทางการ 1 ปอนด์ = 2.40 ดอลลาร์
- จุดทองคำไหลออก คือ 1 ปอนด์ = 2.42 ดอลลาร์ ( 2.40 + 0.02 ดอลลาร์ )
- จุดทองคำไหลเข้า คือ 1 ปอนด์ = 2.38 ดอลลาร์ ( 2.40 – 0.02 ดอลลาร์ )
ตัวอย่างที่ 2 ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทในมาตราทองคำเท่ากับ 10 บาท ต่อ 1 ปอนด์ ต่อทองคำ 10 กรัม และค่าขนส่งทองคำ 1 กรัม ระหว่างไทยและอังกฤษ มีอัตราเท่ากับ 0.2 บาท จุดทองคำไหลออกจะเท่ากับเท่าไร
- จุดทองคำไหลออก = อัตราแลกเปลี่ยนทางการ + ค่าขนส่งทองคำ
= 10 + ( 0.2 X 10 ) = 12 บาท
** จุดทองคำไหลออกมีค่าเท่ากับ 12 บาท ต่อ 1 ปอนด์
** ประเทศที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ เมื่อมีการสั่งสินค้าเข้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องส่งทองคำออกไปชำระค่าสินค้าที่สั่งเข้ามาก ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองที่เป็นทองคำน้อยลง และทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนของประเทศลดลงด้วย เมื่อปริมาณเงินลดลงแล้ว หากปริมาณสินค้าในตลาดมีจำนวนเท่าเดิม จะทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศสามารถส่งสินค้าออกไปขายได้มากขึ้น และจะสั่งเข้าน้อยลง เพราะประชาชนจะหันมาซื้อสินค้าภายในประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่ามากขึ้น
** ประเทศใดจะอยู่บนมาตรฐานทองคำได้ จะต้องอยู่ในเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ
1. ต้องกำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำที่เรียกว่า “Gold Parity” และมี ทุนสำรองเงินตราเป็นทองคำเพียงอย่างเดียว
2. ธนาคารกลางจะรับซื้อหรือขายทองคำตามอัตราทางการโดยไม่จำกัดจำนวน
3. การซื้อขายแลกเปลี่ยนทองคำจะต้องเป็นไปโดยเสรี
** ประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนตั้งอยู่บนมาตรฐานทองคำ อาจประสบปัญหาการขาดแคลนทองคำ และถ้าราคาทองคำเปลี่ยนแปลงไป อัตราแลกเปลี่ยนก็จะผันแปรตามไปด้วย ประเทศที่ยึดระบบมาตรฐานทองคำจึงมักประสบปัญหาการขึ้นลงของราคาทองคำอยู่เสมอ จนกระทั่งต้องออกจากมาตรฐานทองคำและหันไปใช้ระบบมาตราปริวรรตทองคำแทน
2.2 ระบบมาตราปริวรรตทองคำ ( Gold Exchange Standard ) เป็นระบบที่ประเทศต่าง ๆ เคยนิยมใช้ ประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบนี้จะต้องเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF และต้องกำหนดเงินตราของตน 1 หน่วย ให้มีค่าเทียบกับทองคำจำนวนหนึ่ง หรือกำหนดค่าเงินตราของตนเทียบเท่ากับเงินตราสกุลที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ เช่น
- 1 ดอลลาร์ เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.736662 กรัม
- 1 บาท เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.038331 กรัม
** ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนโดยผ่านทองคำจะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ ต่อ 20 บาท เรียกว่า “ค่าเสมอภาค” ( Par Value ) ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนทางการที่กำหนดไว้ตายตัวโดย IMF และประเทศสมาชิกจะต้องตั้งกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ( ESF ) ขึ้น เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดให้อยู่ในช่วง Support Point ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้สูงกว่าค่าเสมอภาคได้ไม่เกิน + 2.25 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้
- Upper Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 + (2.25 X 20) = 20.45 บาท
- Lower Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 – (2.25 X 20) = 19.55 บาท
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีมากกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะสูง
ESF จะต้องขายดอลลาร์ออกไป
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีน้อยกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะต่ำ
ESF จะต้องซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้
** ถ้าเกิดกรณีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดห่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการมากเกินไปจน ESF แก้ไขไม่ได้ ประเทศสมาชิกอาจต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาค หรืออาจเพิ่มหรือลดค่าของเงินตรา
** การลดค่าของเงินตรา ( Devaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาล ทำให้ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมรัฐบาลประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทางการไว้ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมาประกาศลดค่าลดเหลือ 27 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเพิ่มค่าของเงินตรา ( Revaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาลทำให้ต้องใช้เงินบาทน้อยลงเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมารัฐบาลประกาศเพิ่มค่าเงินบาทเป็น 23 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเสื่อมค่าของเงิน ( Depreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาลดลง ทั้งนี้เกิดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราเปลี่ยนแปลงไป
** การเพิ่มค่าของเงิน ( Appreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาสูงขึ้น เช่น เงินดอลลาร์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท แสดงว่า เงินดอลลาร์หนึ่ง ๆ จะแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
3. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกควบคุม ( Exchange Control ) เป็นระบบที่รัฐบาลใช้อำนาจผูกขาดควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศจะตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อจำกัดการนำเงินทุนเข้าประเทศหรือการส่งเงินทุนออก
2. เพื่อรักษาค่าภายนอกของเงินตราของประเทศให้มีเสถียรภาพ
3. เพื่อรักษาทุนสำรองเงินตราที่เป็นทองคำของประเทศและทรัพย์สินต่าง
ประเทศไว้
4. เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือในความมั่นคงของเงินตรา
5. เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศเอาไว้ใช้ในภาระจำเป็น
6. เพื่อต้องการเงินตราต่างประเทศเอาไว้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
หลักทรัพย์ซึ่งพลเมืองในประเทศอื่นถือไว้
** ผลเสียที่สำคัญของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนก็คือ มักจะทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องรักษาดุลการค้าแบบทวิภาค ซึ่งนับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎของ Comparative Advantage โดยระบบการค้าแบบทวิภาคจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิตลดน้อยลง
** ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีหรือแบบลอยตัว ( Floating Exchange Rate ) อย่างมีการจัดการ กล่าวคือ สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทได้บ้างตามความเหมาะสม ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทลดต่ำลงจากเดิมอย่างมาก

เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมาในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

ดุลการค้า (Balance of trade)
ดุลการค้า หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่า สินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชี เดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการ ศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือ จากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติใน ปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติใน ปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า มูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ

ดุลการชำระเงิน (balance of payment)
ดุลการชำระเงิน หรือ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีหรือรายการที่ แสดงการรับ และการจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้า การบริการ และการเงินด้านอื่นๆ ของประเทศที่เกิดจากการติดต่อกับประเทศอื่นสนระยะเวลาหนึ่ง (ปกติมีระยะเวลา 1 ปี) ดุลการชำระเงินจะแสดงรายการรายรับและรายจ่ายในการนำสินค้าเข้าประเทศและส่งสินค้าออก ไปขายต่างประเทศ และรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าชนส่งและค่าประกันภัยในการนำสินค้า เข้าหรือออก เงินที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศ เงินต้น และดอกเบี้ยที่รัฐบาลส่งไปชำระให้ต่าง ประเทศ เป็นต้น
ลักษณะของดุลการชำระเงิน มี 3 ลักษณะ คือ
1. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศเท่ากับยอดรายจ่าย เงินตราต่างประเทศ
2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศน้อยกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
3. ดุลการชำระเงินเกิดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศมากกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในด้านการค้า และติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือ ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ดุลการชำระเงินนี้จะแสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศ ถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุล มียอดรายจ่าย มากกว่ายอดรายรับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวนเงินตราต่างประเทศหรือทองคำที่ สะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลง และถ้าลดลงมากก็อาจกระทบกระเทือน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้
ดุลการชำระเงินแตกต่างจากดุลการค้า คือ ดุลการชำระเงินบันทึกการรับจ่ายที่เกิดทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกๆ ธุรกรรม (transaction) ในขณะที่ ด จากการแลกเปลี่ยนดุลการค้าจะบันทึกรายการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงธุรกรรมเดียว ดังนั้นดุลการค้า จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงินเท่านั้น และหากว่าดุลการค้าไม่สมดุล ก็ไม่จำเป็นว่า ดุลการชำระเงินจะต้องไม่สมดุลตามไปด้วย
ตามปกติดุลการชำระเงินจะมียอดบัญชีที่สมดุลอยู่เสมอ เพราะมีบัญชีทุนสำรอง ระหว่างประเทศใช้เป็นตัวปรับความไม่สมดุลที่เกิดจากยอดรวมสุทธ ิของบัญชีอื่น ถ้าผลรวม ของบัญชีอื่นมียอดขาดดุลจะส่งผลให้ยอดบัญชีทุนสำรองระหว่าง ประเทศลดลง แต่ถ้าผลรวม บัญชีอื่นมียอดเกินดุลยอดบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือ นโยบายที่แต่ละประเทศใช้ในการนำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น นโยบายแบบเสรี และ นโยบายแบบคุ้มกัน

นโยบายการค้าแบบเสรี
เป็นนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ นำสินค้ามาทำการค้าขายระหว่างกันอย่าง เสรี โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ประเทศที่จะถือนโยบายการค้าโดยเสรีจะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
1. ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงาน คือ ทุกประเภทจะต้องเลือกผลิตเฉพาะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง
2. ต้องไม่มีการเก็บภาษี หรือมีการเก็บภาษีแต่น้อย โดยไม่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบ
3. ต้องไม่มีการให้สิทธิพิเศษและไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ หากถือตามเงื่อนไขนี้แล้วในปัจจุบันไม่มีประเทศใดที่จะมีนโยบายการค้าโดยเสรีได้ อย่างเป็นทางการเพราะนโยบายลักษณะนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเสียเปรียบประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก แต่บาง ประเทศมีการตกลงร่วมกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น

นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
เป็นนโยบายที่มุ่งสนับสนุนภาพการผลิตในประเทศ มีหลักการตรงกันข้ามกับนโยบาย การค้าโดยเสรี คือรัฐบาลจะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออก
วัตถุประสงค์ของนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อให้ประเทศช่วยตนเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดสงครามขึ้น อาจจะไม่ มีสินค้าที่จำเป็นบางอย่างใช้ เพราะไม่สามารถนำเข้ามาตามปกติได้ ในยามปกติจึงควรเตรียม การผลิตสินค้าที่จำเป็นสำรองไว้
2. เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ถ้ารัฐบาล ไม่ห้ามสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด อุตสาหกรรมภายในจะต้องเลิกล้มกิจการ
3. เพื่อป้องกันการทุ่มตลาด การทุ่มตลาด ได้แก่ การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่น ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนเพื่อทำลายคู่แข่งขันในตลาดต่างประเทศ และเมื่อทุ่มตลาดสำเร็จได้ครองตลาดแห่งนั้นแล้วก็จะเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา
4. เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า การขาดดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา ทำให้ต้องเสียงเงินตราต่างประเทศออกไป จำนวนมาก จึงต้องแก้ไขโดยจำกัดการนำเข้าและส่งออกให้มากขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน จะมุ่งส่งเสริมการส่งสินค้าออกและกีดกันการนำสินค้าเข้า คือ
1. การตั้งกำแพงภาษี ( Tariff Wall ) จะใช้วิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าหลายอัตรา คือ จัดเก็บภาษีศุลกากรตั้งแต่ 2 อัตราขึ้นไปในสินค้าชนิดเดียวกัน และเลือกใช้อัตราสูงแก่สินค้าที่ต้องการจะกีดกันไม่ให้นำเข้า ซึ่งเป็นมาตรการทางอ้อม
2. การควบคุมสินค้า อาจเป็นการห้ามโดยเด็ดขาดหรือกำหนดโควต้า ( Quota ) ให้นำเข้าหรือส่งออก
3. การให้การอุดหนุน ( Subsidies ) เช่น การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิต ลดภาษีบางอย่างให้ เป็นต้น
4. การทุ่มตลาด ( Dumping ) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายภายในประเทศ และด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งมี 3 กรณี คือ
1.) การทุ่มตลาดเฉพาะกิจ เพื่อล้างสินค้าเก่าที่ค้างสต๊อก หรือเป็นสินค้าที่ล้าสมัย หรือเป็นสินค้าที่ไม่ขายภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาสินค้านั้นในตลาดภายในไว้
2.) การทุ่มตลาดเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ำกว่าตลาดภายในประเทศเป็นการชั่วคราว และบางครั้งต้องขายต่ำกว่าทุน โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ
- แสวงหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ
- กำจัดคู่แข่งขันซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิต
- กีดกันไม่ให้คู่แข่งขันเข้ามาแย่งตลาดที่ครองอยู่
- ตอบแทนการกระทำของผู้อื่น
3.) การทุ่มตลาดเป็นการถาวร เป็นการทุ่มตลาดระยะยาว ซึ่งปกติจะไม่ทุ่มขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และที่สามารถดำเนินการทุ่มตลาดได้เนื่องจากการผลิตภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้น และรัฐบาลให้เงินอุดหนุน โดยทั่วไปการส่งสินค้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศมักกระทำเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดคู่แข่ง และเมื่อสามารถผูกขาดตลาดได้แล้ว ก็จะขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยภายหลัง
5. ข้อตกลงทางการค้า นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อให้สิทธิหรือฐานะทางการค้าเป็นพิเศษแก่ประเทศคู่สัญญา
6. การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางจะควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของเงิน เพื่อสกัดกั้นการไหลออกของเงิน และพยายามดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
** ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศของไทยก็ใช้นโยบายการค้าคุ้มกันเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ แต่ก็ส่งเสริมให้เอกชนทำการค้าเสรี และไม่สนับสนุนให้มีการค้าโดยรัฐมากเกินไป ซึ่งนโยบายการค้าต่างประเทศของไทยพอสรุปได้ดังนี้
1. ถือระบบการค้าเอกชน
2. ถือระบบภาษีศุลกากรอัตราเดียว
3. มีข้อจำกัดทางการค้าอย่างแผ่วเบา