วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเงินระหว่างประเทศ

การเงินระหว่างประเทศ
เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมา ในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้ เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

ดุลการค้า (Balance of trade)
ดุลการค้า หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือจากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.3 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า มูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ

ดุลการชำระเงิน (Balance of payment)
ดุลการชำระเงิน หรือ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีหรือรายการที่ แสดงการรับ และการจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้า การบริการ และการเงินด้านอื่นๆ ของประเทศที่เกิดจากการติดต่อกับประเทศอื่นสนระยะเวลาหนึ่ง (ปกติมีระยะเวลา 1 ปี) ดุลการชำระเงินจะแสดงรายการรายรับและรายจ่ายในการนำสินค้าเข้าประเทศและส่งสินค้าออก ไปขายต่างประเทศ และรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าชนส่งและค่าประกันภัยในการนำสินค้า เข้าหรือออก เงินที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศ เงินต้น และดอกเบี้ยที่รัฐบาลส่งไปชำระให้ต่างประเทศ เป็นต้น
ลักษณะของดุลการชำระเงิน มี 3 ลักษณะ คือ
1. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศเท่ากับยอดรายจ่าย เงินตราต่างประเทศ
2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศน้อยกว่ายอดรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
3. ดุลการชำระเงินเกิดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศมากกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในด้านการค้า และติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือ ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ดุลการชำระเงินนี้จะแสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศ ถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุล มียอดรายจ่าย มากกว่ายอดรายรับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวนเงินตราต่างประเทศหรือทองคำที่สะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลง และถ้าลดลงมากก็อาจกระทบกระเทือน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้
ดุลการชำระเงินแตกต่างจากดุลการค้า คือ ดุลการชำระเงินบันทึกการรับจ่ายที่เกิด จากการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกๆ ธุรกรรม(Transaction) ในขณะที่ ดุลการค้าจะบันทึกรายการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงธุรกรรมเดียว ดังนั้นดุลการค้า จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงินเท่านั้น และหากว่าดุลการค้าไม่สมดุล ก็ไม่จำเป็นว่า ดุลการชำระเงินจะต้องไม่สมดุลตามไปด้วย
ตามปกติดุลการชำระเงินจะมียอดบัญชีที่สมดุลอยู่เสมอ เพราะมีบัญชีทุนสำรอง ระหว่างประเทศใช้เป็นตัวปรับความไม่สมดุลที่เกิดจากยอดรวมสุทธิของบัญชีอื่น ถ้าผลรวม ของบัญชีอื่นมียอดขาดดุลจะส่งผลให้ยอดบัญชีทุนสำรองระหว่าง ประเทศลดลง แต่ถ้าผลรวม บัญชีอื่นมียอดเกินดุลยอดบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ
คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

อุปทานของเงินตราต่างประเทศ
คือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศที่เรามีอยู่ และส่วนใหญ่ได้จากการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศซึ่งการที่อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
1. ปริมาณสินค้าและบริการที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
2. ความต้องการของนักธุรกิจต่างประเทศในอันที่จะนำเงินมาลงทุน หรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศ
3. ปริมาณเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ระบบการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
1. ระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ( Free Exchange Rate ) เป็นระบบที่อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นหรือต่ำลงได้อย่างเสรีตามสภาพอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยผ่านกลไกของราคาในตลาด โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล ระบบนี้จะไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนทางการ จะมีแต่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเพียงอย่างเดียว และระบบนี้จะไม่มีกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ( Exchange Stabilization Fund : ESF ) ทั้งนี้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการปรับดุลการชำระเงินให้สู่ระดับสมดุลโดยกลไกของราคาตลาด ซึ่งจะดำเนินอยู่ตลอดเวลา
** ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ไม่นิยมใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรี เพราะเหตุ 3 ประการ คือ
1.ทำให้ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศมีค่าน้อยมาก จะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้มาก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ
2. เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศขึ้น มักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศในทางที่ทับทวีมากขึ้น
3. ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ ก่อให้เกิดการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ อันเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนยิ่งห่างไกลจากความสมดุลมากขึ้นแทนที่จะปรับตัวได้
**ภายในระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ค่าแห่งเงินตราของประเทศต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศจะเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นประจำ ซึ่งมีผลเสียต่อการค้าระหว่างประเทศ และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงขึ้นได้โดยง่าย
2. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดให้คงที่ ( Fixed Exchange Rate ) ระบบนี้อาจจำแนกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
2.1 ระบบมาตรฐานทองคำ ( Gold Standard ) เป็นระบบที่กำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำตามน้ำหนักและความบริสุทธิ์ที่กำหนดไว้โดยเงินตราของประเทศนั้น
** Mint Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนในระบบมาตรฐานทองคำที่ได้มาจากการเทียบค่าเงินโดยผ่านน้ำหนักของทองคำ
** อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ จะอยู่ระหว่างจุดทองคำไหลออก ( Gold Export Point ) และจุดทองคำไหลเข้า ( Gold Import Point ) โดยจุดทองคำจะถูกกำหนดขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งทองคำเข้า – ออก และอัตราแลกเปลี่ยนทางการ
ตัวอย่างที่ 1 ค่าขนส่งทองคำจากสหรัฐฯ ไปอังกฤษ หรืออังกฤษไปสหรัฐฯ เท่ากับ 0.02 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนทางการ 1 ปอนด์ = 2.40 ดอลลาร์
- จุดทองคำไหลออก คือ 1 ปอนด์ = 2.42 ดอลลาร์ ( 2.40 + 0.02 ดอลลาร์ )
- จุดทองคำไหลเข้า คือ 1 ปอนด์ = 2.38 ดอลลาร์ ( 2.40 – 0.02 ดอลลาร์ )
ตัวอย่างที่ 2 ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทในมาตราทองคำเท่ากับ 10 บาท ต่อ 1 ปอนด์ ต่อทองคำ 10 กรัม และค่าขนส่งทองคำ 1 กรัม ระหว่างไทยและอังกฤษ มีอัตราเท่ากับ 0.2 บาท จุดทองคำไหลออกจะเท่ากับเท่าไร
- จุดทองคำไหลออก = อัตราแลกเปลี่ยนทางการ + ค่าขนส่งทองคำ
= 10 + ( 0.2 X 10 ) = 12 บาท
** จุดทองคำไหลออกมีค่าเท่ากับ 12 บาท ต่อ 1 ปอนด์
** ประเทศที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ เมื่อมีการสั่งสินค้าเข้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องส่งทองคำออกไปชำระค่าสินค้าที่สั่งเข้ามาก ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองที่เป็นทองคำน้อยลง และทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนของประเทศลดลงด้วย เมื่อปริมาณเงินลดลงแล้ว หากปริมาณสินค้าในตลาดมีจำนวนเท่าเดิม จะทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศสามารถส่งสินค้าออกไปขายได้มากขึ้น และจะสั่งเข้าน้อยลง เพราะประชาชนจะหันมาซื้อสินค้าภายในประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่ามากขึ้น
** ประเทศใดจะอยู่บนมาตรฐานทองคำได้ จะต้องอยู่ในเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ
1. ต้องกำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำที่เรียกว่า “Gold Parity” และมี ทุนสำรองเงินตราเป็นทองคำเพียงอย่างเดียว
2. ธนาคารกลางจะรับซื้อหรือขายทองคำตามอัตราทางการโดยไม่จำกัดจำนวน
3. การซื้อขายแลกเปลี่ยนทองคำจะต้องเป็นไปโดยเสรี
** ประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนตั้งอยู่บนมาตรฐานทองคำ อาจประสบปัญหาการขาดแคลนทองคำ และถ้าราคาทองคำเปลี่ยนแปลงไป อัตราแลกเปลี่ยนก็จะผันแปรตามไปด้วย ประเทศที่ยึดระบบมาตรฐานทองคำจึงมักประสบปัญหาการขึ้นลงของราคาทองคำอยู่เสมอ จนกระทั่งต้องออกจากมาตรฐานทองคำและหันไปใช้ระบบมาตราปริวรรตทองคำแทน
2.2 ระบบมาตราปริวรรตทองคำ ( Gold Exchange Standard ) เป็นระบบที่ประเทศต่าง ๆ เคยนิยมใช้ ประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบนี้จะต้องเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF และต้องกำหนดเงินตราของตน 1 หน่วย ให้มีค่าเทียบกับทองคำจำนวนหนึ่ง หรือกำหนดค่าเงินตราของตนเทียบเท่ากับเงินตราสกุลที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ เช่น
- 1 ดอลลาร์ เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.736662 กรัม
- 1 บาท เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.038331 กรัม
** ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนโดยผ่านทองคำจะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ ต่อ 20 บาท เรียกว่า “ค่าเสมอภาค” ( Par Value ) ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนทางการที่กำหนดไว้ตายตัวโดย IMF และประเทศสมาชิกจะต้องตั้งกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ( ESF ) ขึ้น เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดให้อยู่ในช่วง Support Point ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้สูงกว่าค่าเสมอภาคได้ไม่เกิน + 2.25 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้
- Upper Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 + (2.25 X 20) = 20.45 บาท
- Lower Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 – (2.25 X 20) = 19.55 บาท
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีมากกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะสูง
ESF จะต้องขายดอลลาร์ออกไป
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีน้อยกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะต่ำ
ESF จะต้องซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้
** ถ้าเกิดกรณีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดห่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการมากเกินไปจน ESF แก้ไขไม่ได้ ประเทศสมาชิกอาจต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาค หรืออาจเพิ่มหรือลดค่าของเงินตรา
** การลดค่าของเงินตรา ( Devaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาล ทำให้ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมรัฐบาลประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทางการไว้ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมาประกาศลดค่าลดเหลือ 27 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเพิ่มค่าของเงินตรา ( Revaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาลทำให้ต้องใช้เงินบาทน้อยลงเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมารัฐบาลประกาศเพิ่มค่าเงินบาทเป็น 23 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเสื่อมค่าของเงิน ( Depreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาลดลง ทั้งนี้เกิดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราเปลี่ยนแปลงไป
** การเพิ่มค่าของเงิน ( Appreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาสูงขึ้น เช่น เงินดอลลาร์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท แสดงว่า เงินดอลลาร์หนึ่ง ๆ จะแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
3. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกควบคุม ( Exchange Control ) เป็นระบบที่รัฐบาลใช้อำนาจผูกขาดควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศจะตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อจำกัดการนำเงินทุนเข้าประเทศหรือการส่งเงินทุนออก
2. เพื่อรักษาค่าภายนอกของเงินตราของประเทศให้มีเสถียรภาพ
3. เพื่อรักษาทุนสำรองเงินตราที่เป็นทองคำของประเทศและทรัพย์สินต่าง
ประเทศไว้
4. เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือในความมั่นคงของเงินตรา
5. เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศเอาไว้ใช้ในภาระจำเป็น
6. เพื่อต้องการเงินตราต่างประเทศเอาไว้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
หลักทรัพย์ซึ่งพลเมืองในประเทศอื่นถือไว้
** ผลเสียที่สำคัญของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนก็คือ มักจะทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องรักษาดุลการค้าแบบทวิภาค ซึ่งนับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎของ Comparative Advantage โดยระบบการค้าแบบทวิภาคจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิตลดน้อยลง
** ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีหรือแบบลอยตัว ( Floating Exchange Rate ) อย่างมีการจัดการ กล่าวคือ สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทได้บ้างตามความเหมาะสม ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทลดต่ำลงจากเดิมอย่างมาก

เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมาในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

ดุลการค้า (Balance of trade)
ดุลการค้า หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่า สินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชี เดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการ ศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือ จากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติใน ปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติใน ปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า มูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ

ดุลการชำระเงิน (balance of payment)
ดุลการชำระเงิน หรือ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีหรือรายการที่ แสดงการรับ และการจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้า การบริการ และการเงินด้านอื่นๆ ของประเทศที่เกิดจากการติดต่อกับประเทศอื่นสนระยะเวลาหนึ่ง (ปกติมีระยะเวลา 1 ปี) ดุลการชำระเงินจะแสดงรายการรายรับและรายจ่ายในการนำสินค้าเข้าประเทศและส่งสินค้าออก ไปขายต่างประเทศ และรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าชนส่งและค่าประกันภัยในการนำสินค้า เข้าหรือออก เงินที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศ เงินต้น และดอกเบี้ยที่รัฐบาลส่งไปชำระให้ต่าง ประเทศ เป็นต้น
ลักษณะของดุลการชำระเงิน มี 3 ลักษณะ คือ
1. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศเท่ากับยอดรายจ่าย เงินตราต่างประเทศ
2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศน้อยกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
3. ดุลการชำระเงินเกิดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศมากกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในด้านการค้า และติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือ ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ดุลการชำระเงินนี้จะแสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศ ถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุล มียอดรายจ่าย มากกว่ายอดรายรับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวนเงินตราต่างประเทศหรือทองคำที่ สะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลง และถ้าลดลงมากก็อาจกระทบกระเทือน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้
ดุลการชำระเงินแตกต่างจากดุลการค้า คือ ดุลการชำระเงินบันทึกการรับจ่ายที่เกิดทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกๆ ธุรกรรม (transaction) ในขณะที่ ด จากการแลกเปลี่ยนดุลการค้าจะบันทึกรายการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงธุรกรรมเดียว ดังนั้นดุลการค้า จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงินเท่านั้น และหากว่าดุลการค้าไม่สมดุล ก็ไม่จำเป็นว่า ดุลการชำระเงินจะต้องไม่สมดุลตามไปด้วย
ตามปกติดุลการชำระเงินจะมียอดบัญชีที่สมดุลอยู่เสมอ เพราะมีบัญชีทุนสำรอง ระหว่างประเทศใช้เป็นตัวปรับความไม่สมดุลที่เกิดจากยอดรวมสุทธ ิของบัญชีอื่น ถ้าผลรวม ของบัญชีอื่นมียอดขาดดุลจะส่งผลให้ยอดบัญชีทุนสำรองระหว่าง ประเทศลดลง แต่ถ้าผลรวม บัญชีอื่นมียอดเกินดุลยอดบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เนื้อหาดีมากค่ะ
อยากทราบชื่อ นามสกุลของอาจารย์ได้ไหมคะ
จะทำรายงานค่ะ

cad23dd กล่าวว่า...



สร้างรายได้ จากการเทรดค่าเงิน,ทองแร่ต่างๆ บนมือถือ ได้ด้วยตัวเอง สามารถเล่นได้ จ-ศ.ตลอด24ชม.

ดูได้ที่ www.forexcoolcool.blogspot.com