วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย

ความหมายของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่วางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อทำหน้าที่แบ่งแยกกันออกไป โดยปกติแล้ว รัฐธรรมนูญต้องตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่ว่าด้วยสถาบันการเมืองต่างๆในรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญกฎมณเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมืองและกฎหมายอื่นๆ ด้วย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดจากแนวคิดเรื่องปฏิรูปการเมือง เริ่มต้นจากกลุ่มนักวิชาการ ได้เผยแพร่แนวคิดผ่านสื่อมวลชน จึงเกิดกระแสในหมู่นักการเมืองและประชาชนทั่วไป โดยในปี พ.ศ. 2537 ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อปฏิรูประบบการเมืองทั้งระบบ โดยยึดระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นกรอบหลัก
ต่อมาสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้คำนึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งเน้นให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมืองให้ระบบการเมืองมีความชอบธรรม ทั้งยังปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและสามารถสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยพลังใจของปวงชนชาวไทยที่สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการทำประชาพิจารณ์ในร่างรัฐธรรมนูญด้วยความเห็นชอบของสมาชิกรัฐสภา จึงทำให้รัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบพิจารณาอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มีการตราไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2540 รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้ชื่อว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ประกอบด้วยทั้งหมด 12 หมวด 336 มาตรา ซึ่งรวมทั้งบทเฉพาะกาล ได้บัญญัติถึงโครงสร้างของระบบการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบันโดยบัญญัติไว้ในมาตราต่าง ๆ เช่น
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
2. รัฐธรรมนูญมีการกำหนดความสำคัญขององค์กรทางการเมืองระบุอำนาจหน้าที่
3. รัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของประชากรในรัฐ
อำนาจอธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีหลักการสำคัญว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ซึ่งประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
อำนาจนิติบัญญัติ ประเทศไทยมีฝ่ายนิติบัญญัติเรียกว่า รัฐสภา
รัฐสภา คือ องค์กรที่มีหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ (การบัญญัติกฎหมาย) รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน เป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้ รัฐสภามีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ
1) หน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย กฎหมายที่ตราขึ้นโดยการแนะนำและยินยอมของรัฐสภา คือร่างพระราชบัญญัติแลหะร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
2) หน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ของสมาชิกผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ การเปิดอภิปรายทั่วไป และการตั้งกระทู้ถาม
(1) การเปิดอภิปรายทั่วไป กระทำได้โดย 2 วิธี คือ
ก. การเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ กระทำได้โดยสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
ข. การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ กระทำได้โดยสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง โดยไม่มีการลงมติ
(2) การตั้งกระทู้ถาม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้
3) การให้ความเห็นชอบ สมาชิกรัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อให้ความเห็นชอบในเรื่อง ต่อไปนี้
(1) การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(2) การสืบราชสมบัติ
(3) การปิดสมัยประชุม
(4) การให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(5) การให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(6) การประกาศสงคราม
อำนาจบริหาร
คณะรัฐมนตรี(ฝ่ายบริหาร)ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งคนและรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน มีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คุณสมบัติของรัฐมนตรี คือ
1) มีสัญชาติไทยให้ตรวจสอบ
2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3) การศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
4) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้วไม่เกิน 1 ปี หรือสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเพราะถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
5) รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ภายใน 15 วัน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันไม่ได้
อำนาจตุลาการ
ศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้การพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล ซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
การจัดตั้งศาลต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ประเภทของศาลมี 4 ประเภท ประกอบด้วย
1) ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่วินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ กรณีที่องค์กรนั้น ๆ มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ เป็นต้น
2) ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือนและการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ต้องได้รับความเห็นชอบจาก “คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม”
3) ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมาย (มาตรา 276)
4) ศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
รัฐ มีองค์ประกอบ คือ ดินแดน ประชาชน อำนาจอธิปไตย รัฐบาล กฎเกณฑ์สำหรับการปกครองประเทศ ควรเป็นเรื่องที่สำคัญแน่นอนพอสมควร ไม่ควรถูกแก้ไขโดยง่ายและควรเป็นแม่บทให้กับให้กฎหมายอื่นๆคล้อยตาม รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายสูงสุดความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ : รัฐธรรมนูญต้องเป็นลายลักษณ์อักษรส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ประวัติแนวคิดในการจัดทำรัฐธรรมนูญสมัยแรก การออกข้อกำหนดส่วนใหญ่กษัตริย์จะออกเอง กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลักษณะราชาธิปไตย ถือว่ายังไม่มีรัฐธรรมนูญสมัยที่สอง กฎหมายรัฐธรรมนูญเริ่มชัดเจนขึ้นเช่นการจำกัดขอบเขตอำนาจของผู้ปกครองประเทศ กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นลักษณะอภิชนาธิปไตยสมัยที่สาม เริ่มมีรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งแยกอำนาจและประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎร อันได้แก่ การจำกัดอำนาจรัฐ การวางกฎการปกครองประเทศจากความสมัครใจของราษฎรปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และราษฎรของฝรั่งเศส ข้อ 16”สังคมใดที่ไม่มีการประกันสิทธิหรือไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ สังคมนั้นหาได้ชื่อว่ามีรัฐธรรมนูญไม่” สมัยที่สี่ (ปัจจุบัน) เริ่มหย่อนลงเป็นเพียงคำกลางๆสำหรับใช้เรียกกฎหมายที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การปกครองประเทศเท่านั้น
ประเภทของรัฐธรรมนูญ
แบ่งตามรูปแบบของรัฐบาล เช่นรัฐเผด็จการ รัฐขุนนาง รัฐประชาธิปไตย หรือ แบ่งตามรูปแบบรัฐ เช่นรัฐเดี่ยว รัฐรวมหรือ แบ่งตามวิธีการบัญญัติเช่น บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ แบ่งตามวิธีการแก้ไข เช่นแก้ไขง่าย แก้ไขยาก หรือ แบ่งตามกำหนดเวลาในการใช้ เช่น ชั่วคราว ถาวร
ในปัจจุบันจะแบ่งตามความเป็นจริง โดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้รัฐธรรมนูญ ความมุ่งหมายให้มี จึงแบ่งได้เป็น
- รัฐธรรมนูญซึ่งมีกฎเกณฑ์ตรงต่อสภาพของสังคม เช่นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย แบบสังคมนิยม
- รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองไว้เกินความจริง
- รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองไว้ตบตาคน

การจัดทำรัฐธรรมนูญ
อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญผู้จัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นมักเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองหรือบุคคลที่มีฐานะให้มี เรียกว่า รัฎฐาธิปัตย์ แบ่งได้ดังนี้
1. ประมุขของรัฐ (ช่วยให้รอดพ้นจากการปฏิวัติ , สร้างบารมี)2. ผู้ก่อการปฏิวัติหรือรัฐประหารในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี
3. ราษฎรในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี(ราษฎรร่วมกันก่อการปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
4. ประมุขของรัฐ คณะปฏิวัติ หรือราษฎรในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มีร่วมกัน
5. ผู้มีอำนาจจากองค์กรภายนอกในฐานะผู้มีอำนาจจัดให้มี (รัฐเจ้าอาณานิคมเดิม)เหตุผลที่การตรารัฐธรรมนูญขึ้นมาบังคับใช้ใหม่ในประเทศไทย เป็นการตราร่วมกันของประมุขของรัฐ คณะปฏิวัติ คือ - คณะปฏิวัติต้องการอาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ทรงยินยอม - คณะปฏิวัติต้องการอาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้นานาประเทศรับรองรัฐบาลใหม่
- คณะปฏิวัติต้องการให้เห็นความสำคัญของสถาบันประมุขเดิมว่าไม่เปลี่ยนแปลงอำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ
1. โดยบุคคลคนเดียว
2. โดยคณะบุคคล
3. โดยสภานิติบัญญัติหรือสภาร่าง
ผลดีของการร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างที่ มาจากบุคคลหลายวงการ ทำให้ความเห็นแตกต่างกัน ทำงานเฉพาะด้านทุ่นเวลาลงได้มากกว่าสภานิติบัญญัติ สานประประโยชน์ทุกฝ่าย

การจัดทำรัฐธรรมนูญ
1. นำหลักเกณฑ์มาบัญญัติ เช่นคิดเอง หยิบยืมมารัฐธรรมนูญที่เป็นเจ้าตำรับเวลานี้มี 4 ฉบับคือ ของอังกฤษ สหรัฐ ฝรั่งเศส รุสเซีย
หลักเกณฑ์สำคัญของรัฐธรรมนูญสหรัฐ : การปกครองแบบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน หลักเกณฑ์สำคัญของรัฐธรรมนูญรุสเซีย : ใครไม่ทำงานก็อย่าได้มีกิน
2. ความสั้นยาวของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
3. จำนวนฉบับของรัฐธรรมนูญ หากมีรัฐธรรมนูญขึ้นอีกบางครั้งจะเรียกว่า บทแก้ไขเพิ่มเติม(สหรัฐ) ภาคผนวก(อิหร่าน) ในไทยเราจะประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทุกครั้ง
4. การให้ประชาชนแสดงความเห็นในร่างรัฐธรรมนูญ โดยผ่านสื่อหรืออภิปรายแก่สาธารณชน , ให้ประชาชนแสดงประชามติให้ผู้แทนของประชาชนออกเสียงเห็นชอบกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศซึ่งแยกออกมาบัญญัติรายละเอียดต่างหากออกไปจากรัฐธรรมนูญ

ข้อดี ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จในเวลาอันสั้น , รัฐธรรมนูญมีรายละเอียดน้อยจดจำง่าย แก้ไขกฎเกณฑ์ในกฎหมายประกอบไม่ต้องแก้ในรัฐธรรมนูญ , วางรายละเอียดกฎเกณฑ์การปกครองให้เหมาะสมในบ้านเมืองเป็นคราวๆ ไป

การแก้ไขและการยกเลิกรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็น การแก้ไขถ้อยคำ การเพิ่มเติมข้อความใหม่ การเปลี่ยนทั้งฉบับ (ชั่วคราวเป็นถาวร) จะห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาดคงทำไม่ได้และจะเป็นการยั่วยุให้ผู้ประสงค์จะขอแก้ไขเปลี่ยนเป็นยกเลิกแทน (ล้มล้าง)
ดังนั้นจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้บ้างแต่แก้ไขได้ยาก ไม่ใช่แก้ไขโดยพร่ำเพรื่อ - ควบคุมผู้เสนอแก้ไข ประมุขของรัฐเสนอแก้ไข ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติ 1ใน 3 ก่อนสภานิติบัญญัติเสนอแก้ไข ต้องได้รับการรับรองจากที่ประชุมประชาชนเสนอแก้ไข ต้องมีรายชื่อ 5 หมื่น - ควบคุมผู้ดำเนินการพิจารณาแก้ไข ต้องได้รับเห็นชอบผ่านด้วยเสียงข้างมากในแต่ละสภาก่อน
- ควบคุมวิธีการแก้ไข ต้องลงมติด้วยเสียงมากเป็นพิเศษ
- ควบคุมระยะเวลาการแก้ไข กำหนดระยะเวลาว่าจะแก้ไขได้เมื่อใด
- การให้ประมุขของรัฐเข้ามามีส่วน คือการลงนามในรัฐธรรมนูญที่แก้ไขการแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทย ผู้ริเริ่ม (คณะรัฐมนตรีหรือสภา1ใน 3) ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม พิจารณาแก้ไข (2 สภา) 3 วาระ คือ
1. รับหลักการ
2. พิจารณาเรียงมาตรา
3. ประกาศใช้ (กษัตริย์ลงนาม)

การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2 วิธี คือ โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ และนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ เมื่อมีหลักการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศหรือไม่สอดคล้องกับจิตใจของประชาชนผู้มีอำนาจจัดทำก็อาจจัดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้ (ฉบับเก่าจะถูกยกเลิกในวันที่ฉบับใหม่ประกาศใช้)
นอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ คือการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติหรือรัฐประหาร การปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยยึดอำนาจการปกครองอย่างฉับพลันทันใด มีการใช้กำลังบังคับ และจัดตั้งระบอบการปกครองขึ้นใหม่ รัฐประหาร หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยยึดอำนาจการปกครองอย่างฉับพลันทันใด มีการใช้กำลังบังคับ แต่มิได้จัดตั้งระบอบการปกครองขึ้นใหม่ คงมีแต่รัฐบาลใหม่เท่านั้นคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารเมื่อกระทำการสำเร็จ ย่อมถือว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์ สถาบันการเมืองย่อมถูกยกเลิกไปด้วย ไม่จำเป็นต้องออก พ.ร.บนิรโทษกรรม (โดยส่วนใหญ่ทางปฏิบัติผู้ร่าง พ.ร.บ จะออกนิรโทษกรรมให้) แถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ไม่มีผลในกฎหมาย ประกาศของคณะปฏิวัติที่ใช้อำนาจในทางบริหารและตุลาการ มีศักดิ์และฐานะเป็นกฎหมาย
ข้อสังเกต
1. คำสั่งทุกฉบับลงนามโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ ปกติกษัตริย์จะลงพระปรมาภิไธย
2. ประกาศจะใช้บังคับได้เสมอไปจนกว่าจะมีกฎหมายเท่ากันหรือสูงกว่ามาเปลี่ยนแปลง
3. ศักดิ์ของประกาศพิจารณาจากเนื้อหา การแก้ไขหรือยกเลิก โดยกฎหมายเท่ากันหรือสูงกว่า
4. ประกาศบางฉบับไม่เป็นกฎหมาย (แจ้งให้ทราบรายชื่อคณะปฏิวัติ) โครงร่างของรัฐธรรมนูญประกอบด้วย คำปรารภ และส่วนที่เป็นเนื้อหาคำปรารภหมายถึงบทนำเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งอาจแสดงเหตุผลแห่งการมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นคำปรารภเป็นคนละส่วนกับตัวบทมาตรา แต่เป็นเครื่องมือช่วยในการตีความหรือค้นหาเจตนารมณ์ขอบทมาตราต่างๆในรัฐธรรมนูญ
ข้อความในคำปรารภ มักจะมี ลักษณะดังนี้
1. ที่มาหรือจัดให้มีรัฐธรรมนูญ
2. ความจำเป็นที่ต้องมีรัฐธรรมนูญ
3. วัตถุประสงค์ในรัฐธรรมนูญ4. อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
5. ประวัติของชาติ
6. ข้อความประกาศสิทธิและเสรีภาพของราษฎร
รัฐธรรมนูญมักมีเนื้อความว่าด้วยเรื่อง กฎเกณฑ์การปกครองประเทศ กฎเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติม ความเป็นกฎหมายสูงสุด หน้าที่พลเมือง แนวนโยบายแห่งรัฐ บทเฉพาะกาล รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
รูปของรัฐ แบ่งเป็น
1. รัฐเดี่ยว มีการใช้อำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย)ทั้งภายในและภายนอกโดยองค์การเดียวกันทั่วดินแดนของรัฐ
2. รัฐรวมสองรัฐ มีประมุขร่วมกัน ใช้อำนาจภายนอกร่วมกันแต่ใช้อำนาจภายในแยกจากกัน
3. รัฐรวมหลายรัฐ สหพันธรัฐหรือสหรัฐ เป็นการรวมตัวกันของมลรัฐ เกิดเป็นรัฐใหม่เรียกว่าสหรัฐ เช่นอเมริกา มาเลเซีย แคนาดา สหรัฐ มีรัฐบาลกลาง มีรัฐสภา(ตรากฎหมายใช้ทั่วสหรัฐ) มีศาลสูง(ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างมลรัฐ) มีอำนาจเด็ดขาดทางทหาร เศรษฐกิจ การเงินการคลัง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีฐานะเป็นบุคคล มีสัญชาติเดียวและดินแดนเดียว มลรัฐ มีรัฐบาลมลรัฐ สภามลรัฐ ศาลมลรัฐ รัฐธรรมนูญของมลรัฐ (ขัดกับสหรัฐไม่ได้) การที่เป็นรูปแบบสหรัฐได้ ต้องมีรัฐตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป แสดงเจตนาอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน แบ่งปันอำนาจของรัฐบาลกลางและอำนาจของรัฐบาลมลรัฐ (มีอำนาจเคียงคู่กัน) ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวและเป็นราชอาณาจักร คือ มีดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งประเทศ มีองค์กรและวิธีการใช้อำนาจอธิปไตยในลักษณะเดียวกันทั้งประเทศ ราชอาณาจักรหมายถึงรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

รูปแบบของประมุขของรัฐ
ประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดี การปกครองแบบสาธารณรัฐจะมีประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐและประมุข
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน รัฐมนตรีต่างๆเป็นเพียงที่ปรึกษา ฝ่ายบริหารไม่สามารถตั้งกระทู้ถามไม่สามารถเปิดการอภิปรายไม่วางใจ ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี ไม่อาจยุบสภาได้ แต่มีระบบคานและดุลอำนาจ กล่าวคือ ประธานาธิบดี มีอำนาจยับยั้งกฎหมาย(Veto) ของสภาและสภามีอำนาจไม่อนุมัติงบประมาณที่ ประธานาธิบดี ขอมาก็ได้รัฐบาลแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นประมุขของรัฐแต่ไม่เป็นประมุขฝ่ายบริหาร(มีนายกรัฐมนตรี)

ประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์รัฎฐาธิปัตย์ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการพระมหากษัตริย์ในระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจทุกประการเว้นแต่ที่ต้องถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร เรียกรูปแบบนี้ว่า “Constitutional Monarchy” พระมหากษัตริย์ดีกว่า ประธานาธิบดี ในข้อที่ว่าทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์ เป็นกลางทางการเมือง เป็นประมุขถาวร เป็นศูนย์รวมการเข้าสู่ตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ โดย ปราบดาภิเษกสืบราชสมบัติ ความเห็นชอบของรัฐสภา เลือกตั้งระหว่างผู้มีสิทธิ ประมุขของประเทศไทย เข้าสู่ตำแหน่งโดยกฎมณเฑียรบาล (กฎมณเฑียรบาลถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง) ขณะที่ไม่ประทับอยู่มีผู้สำเร็จราชการแทน มีองค์มนตรี 15 คนเป็นที่ปรึกษา ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเพราะมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชฯ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย(พระราชบัญญัติ,พระราชกำหนด,รัฐบาลในพระบาทสมเด็จฯ ฯลฯ) ทรงอยู่เหนือกฎหมาย ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ

10 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากเลยนะคับถ้าไม่เปิดมาเจอนะ
รุบรองไม่งานส่งอาจารย์แน่
เฮ้อ~เกือบมีงานงอกแล้ว
ถ้าไม่เปิดมาเจองานงอกชัว
ยังไงก้อขอบคุณนะคับ
ขอบุณคับ ขอบคุณคับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ก็ดีค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากเลยนะคะ

บทความนี้ทำให้ได้รู้อะไรมากขึ้น

กว่าเดิมเยอะเลยคะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มีเยอะกว่านี้มั้ยคร้าบบบบบบบบบบบ

ขอคุณคับ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากคับ

ขอให้ทำอย่างนี้นานๆๆและมีขอมูลเยอะๆๆๆนะคับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยปวงชนเพื่อปวงชน คือ ประชาธิปไตยสากล สำหรับประเทศไทย เพิ่มว่าอำนาจอธิปไตยนั้น พระมหากษัตริย์ทรงใช้ บริหารประเทศ ทางคณะรัฐบาล-ศาลสถิตยุติธรรมทางทางศาลพิกษาคดี-นิติบัญญัติทางรัฐสภาส.ส.และส.ว.
ฉะนั้น ผู้กระทำการรัฐประหาร จะต้องเป็นผู้ละเมิดอำนาจอธิปไตยของปวงชน และละเมิดอำนาจพระมหากษัตริย์ด้วย ซึ่งไม่น่าจะมีการออกกฏหมายอภัยโทษให้ เพื่อตัดรากเหง้าของการกระทำรัฐประหาร และให้การเปลี่ยนแปลง คณะบริหารประเทศ โดยทางการเมืองและโดยประชาชน จำนวนตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องเป็นประชาชนผู้มีสิทธิ์ทำการเลือกตั้งด้วย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากไม่เข้าใจขึ้นเยอะเลย*0*

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

55555555+
+++++++++


f
+fefefdf
dfe+fdfe+f
dsf+e
e+ewf
dsfg+ew+tgwer
fd+eg
rgw+er+ดเเ+พเ
ดเพ+เดก
เ+พำฌโ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากรู้ว่าใครคานอำนาจของใคร

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีเยี่ยมครับ