วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

นโยบายการคลัง

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง
วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
ประการที่ 1 ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน
ประการที่ 2 ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน
ประการที่ 3 เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน
ประการที่ 4 รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
นโยบายทางเศรษฐกิจ
นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือคณะบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งไว้
นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ในการกำหนดและ ควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการชำระเงินระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของรัฐบาล โดยใช้
เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งเป็น การเพิ่มอำนาจการซื้อให้ประชาชน เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จูงใจให้ ลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มจนรายได้ประชาชาติสูงขึ้น เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืด
2) นโยบายการเงินแบบเข้มงวดหรือแบบรัดตัว เป็นการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของรัฐบาลโดยใช้เครื่องมือการเงินต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น คือ ลดอำนาจการซื้อของประชาชนลง เป็นการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

2. นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการหารายได้และการวางแผนการใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายการคลัง เป็นเครื่องมือในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของรายได้ในประเทศ เพราะผลจากการดำเนิน นโยบายการคลังของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของรัฐบาลที่วางไว้ มี 3 ประเภท ดังนี้
1) นโยบายการคลังกับการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติ การเก็บภาษีอากรและการ
ใช้จ่าย ของรัฐบาลมีผลกระทบกับรายได้และค่าใช้จ่ายของประเทศ เพราะถ้ารัฐบาลเก็บภาษี
ในอัตราที่สูงทำให้ประชาชน มีรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายได้จริงมีจำนวนลดลง ทำให้การบริโภคของประชาชนลดลง ถ้ารัฐบาลเก็บภาษี ในอัตราที่ต่ำจะทำให้ประชาชนมีรายได้เหลืออยู่ในมือจำนวนมาก ประชาชนจะบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
2) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบหดตัว
เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยการเพิ่มอัตราภาษีและลดรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อลดปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ลดความต้องการบริโภคของประชาชนลงและลดรายจ่าย ของรัฐบาลทำให้ประชาชนมี รายได้ลดลง นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแบบเกินดุล คือต้องทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่าย
3) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบ
ขยายตัว เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลและลดอัตราภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ เพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพิ่มการลงทุนเพิ่มการจ้างงานและผลผลิต ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณ แบบขาดดุล คือต้องทำให้รายจ่าย สูงกว่ารายรับ
รายรับของรัฐบาล หมายถึง เงินที่รัฐบาลได้รับในรอบปี ได้แก่ รายได้รัฐบาลและเงินกู้
ของรัฐบาล

รายได้ของรัฐบาล หมายถึง เงินภาษีอากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ในรอบปี
รายได้ของรัฐบาลที่สำคัญ คือ รายได้จากภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. รายได้จากภาษีอากร 2. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร รายได้จากภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้เพื่อ
ใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และไม่มีผลตอบแทนโดยตรงจากผู้เสียภาษีอากร

รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บ จากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียม จดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่าง ๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศและรายได้ค่าปรับดอกเบี้ย เงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

ภาษีอากร
วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากร
1. เพื่อเป็นรายได้ของรัฐบาล ส่วนใหญ่มาจากภาษีอากร
2. เพื่อจัดสรรและกระจายรายได้ โดยยึดหลักการเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้มาก
ในอัตราที่สูงและ ยกเว้นรายได้ในกรณีไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
3. เพื่อเป็นการควบคุมการบริโภค การผลิต ตลอดจนการนำเข้าและส่งออก
4. เพื่อนำไปชำระหนี้ของรัฐบาลและพัฒนาประเทศ
5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการปรับอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพ
เศรษฐกิจ ใช้แก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด
หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
1. หลักความยุติธรรม หมายถึง บุคคลทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีจากรายได้
ของตนเอง
2. หลักความแน่นอน หมายถึง การกำหนดวิธีการปฏิบัติให้แน่นอน เพื่อให้ทุกคน
ถือปฏิบัติให้ เหมือนกัน เช่น อัตราการคำนวณภาษี วิธีการชำระภาษี ระยะเวลาในการชำระภาษี การจ่ายคืนภาษี ฯลฯ
3. หลักความสะดวก หมายถึง การกำหนดให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกในการ
เสียภาษี
4. หลักความประหยัด หมายถึง การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี
เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้
5. หลักความยืดหยุ่น หมายถึง การควบคุมภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำหรือรุ่งเรือง
จนเกินไป
ประเภทของภาษีอากร
1. การแบ่งตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
1) การเก็บภาษีจากทรัพย์สิน ได้แก่ ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน2) การเก็บภาษีจากการขายหรือใช้สิ่งของ ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีศุลกากร ภาษี
สรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
3) การเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. การแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1) ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ฯลฯ
2) ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีอากรสามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ

หนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะ
รายรับของรัฐบาลบางส่วนได้มาจากการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีข้อผูกพันที่จะใช้คืนเงินต้นและพร้อมดอกเบี้ย เมื่อมีการกู้เงินทุกๆ ปี หนี้สินของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อผูกพันของรัฐบาลในหนี้สินนั้นมิได้เกิดจากการกู้ยืมโดยรัฐบาลเท่านั้นบางส่วนจะเกิดจากการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาลให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ หนี้สินของรัฐบาลเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หนี้สาธารณะ
วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้สาธารณะ
ชดเชยการขาดดุลของรัฐบาล เมื่อประมาณการรายจ่ายสูงกว่ารายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ รัฐบาลต้องแสวงหาเงินส่วนที่ยังขาดโดยการกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นหนี้
ที่รัฐบาลกู้โดยตรงไม่รวมการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจ หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันให้กับรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศ ถ้ารัฐบาลสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้มีประสิทธิภาพมากกว่าภาคเอกชน การที่รัฐบาลกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศจะเป็นการดึงเงินจากภาคเอกชนมาใช้จ่ายหรือโอนทรัพยากรของประเทศมาให้รัฐบาลใช้
รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ บางครั้งแม้รัฐบาลจะมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายแต่เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องก่อหนี้ขึ้น หรือในช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาขาดดุลการชำระเงินและทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการชำระเงินและมีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่ต่างประเทศเชื่อมั่น
เร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายในโครงการที่จำเป็นต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจซึ่งใช้เงินลงทุนสูง หรือกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อนำมาซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องมือจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการลงทุนซึ่งส่งผลต่อการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
หลักในการก่อหนี้สาธารณะ
ในการก่อหนี้สาธารณะจะต้องคำนึงถึงหลักในการก่อหนี้เพื่อให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดผลดีแก่ประเทศ ดังนี้
หลักผลประโยชน์ของเงินกู้ เงินกู้นั้นควรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือกู้เพื่อการลงทุน และควรเป็นการลงทุนในโครงการที่สามารถให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนของเงินกู้นั้น
หลักภาระหนี้ การกู้เงินจะมีภาระการใช้คืนซึ่งจะทำให้รายจ่ายของรัฐบาลในปีต่อมาสูงขึ้น ถ้าเป็นการกู้จากต่างประเทศการใช้คืนจะต้องชำระคืนเป็นเงินสกุลต่างประเทศซึ่งอาจทำให้ประเทศประสบปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงภาระการใช้คืนหนี้ด้วย
หลักเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การกู้ยืมเงินจากประชาชนจะทำให้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนลดลง การขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง ดังนั้น จะต้องระมัดระวังมิให้มีการก่อหนี้ภายในประเทศมากจนเกินไปจนอาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัวอย่างรุนแรง

ประมาณการรายจ่าย
การประมาณการรายจ่ายจำแนกได้หลายประเภท เช่น ตามหน้าที่งาน ตามลักษณะเศรษฐกิจ ตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามแผนงานของสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ เป็นต้น
การจำแนกรายจ่ายตามแผนงาน เป็นการจำแนกรายจ่ายตามแผนงานด้านต่างๆ ดังนี้ การเกษตร การอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ การคมนาคมขนส่งและสื่อสาร การพาณิชย์และท่องเที่ยว การวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม การศึกษา การสาธารณสุข การบริการสังคม การรักษาความมั่นคงของชาติ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การบริหารงานทั่วไปของรัฐ และการชำระหนี้เงินกู้
การจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ เป็นการจำแนกงบประมาณรายจ่ายเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยจำแนกเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน รายจ่ายประจำ และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
การจำแนกรายจ่ายตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นการจำแนกออกตามส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ได้รับการจัดสรรรายจ่าย เช่น กระทรวงต่างๆ หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล
วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายของรัฐบาล
วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายของรัฐบาลสามารถจำแนกได้จากงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล นอกจากเพื่อบริหารประเทศ รักษาความสงบภายในประเทศและความมั่นคงของชาติแล้ว วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายของรัฐบาล ได้แก่
1. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของอุปสงค์มวลรวม ดังนั้น ควรให้มีการยืดหยุ่นด้านรายจ่ายเพื่อให้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้
2. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ในช่วงที่ประเทศประสบปัญหาด้านดุลการชำระเงิน รัฐบาลสามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายเพื่อให้ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ประชาชาติและดุลการชำระเงินของประเทศด้วย
3. เร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องใช้จ่ายในโครงการที่จำเป็นต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ เช่น โครงการเขื่อนเพื่อการชลประทานด้านการเกษตรและการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
4. เกิดความเสมอภาคในการกระจายรายได้ การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลจะส่งผลให้การกระจายรายได้มีความเสมอภาคมากขึ้น เช่น การใช้จ่ายเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรยากจนในชนบทซึ่งจะช่วยทำให้การกระจายรายได้เสมอภาคมากขึ้น

งบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณแผ่นดิน
งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น จึงเรียกว่า งบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณแผ่นดินและนำเสนอเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเพื่อใช้บังคับต่อไป
การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้าและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบของอุปสงค์รวม การวางแผนการใช้จ่ายและการหารายรับจะทำให้สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจในปีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รัฐบาลบริการการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตของงบประมาณที่จัดทำขึ้น

ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน
งบประมาณแผ่นดินแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. งบประมาณสมดุล (Balanced budget) หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลรวมกันแล้วเท่ากับรายจ่ายของรัฐบาลพอดี ดังนั้น รัฐบาลไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้
2. งบประมาณไม่สมดุล (Unbalanced budget) หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลไม่เท่ากับรายจ่ายของรัฐบาล ถ้ารายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่ายของรัฐบาลเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (Surplus budget) ซึ่งรัฐบาลจะมีรายได้เหลือจากการใช้จ่าย เงินคงคลังของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น ถ้ารายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาล เรียกว่า งบประมาณขาดดุล (Deficit budget) ซึ่งรัฐบาลต้องกู้เงินหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่ของประมาณการรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลแล้ว งบประมาณแผ่นดินจะต้องสมดุลเพื่อมิให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมา

การเงิน การธนาคาร และการคลัง

การเงินและการธนาคาร
เหตุที่เงินมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจเพราะการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรายได้ ผลผลิต การจ้างงาน และการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย และจากการที่อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการใช้จ่ายมวลรวม ผลกระทบเหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ความหมายของเงิน
เงิน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นที่ยอมรับในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เงินประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งสามารถสั่งจ่ายด้วยเช็ค และบัตรเครดิต เป็นบัตรที่สามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการได้สะดวก

หน้าที่ของเงิน

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนการตกลงซื้อขาย
เพราะเงินมีอำนาจซื้อ ทำให้ผู้ถือเงินสามารถซื้อหาสินค้าและบริการได้

2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า หน่วยของเงินสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้า และบริการทำให้ทราบว่าสินค้าและบริการแต่ละชนิดมีมูลค่าแตกต่างกัน เช่น ราคาเสื้อตัวละ100 บาท กางเกงตัวละ 200 บาท
3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า เช่น การกู้ยืมเงิน การประกันภัย ฯลฯ
4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์รูปแบบหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมเก็บสะสม
เพราะเงินเป็น ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด เช่น พ่อค้าขายของชำในหมู่บ้านซื้อสินค้ามาไว้เพื่อขายทรัพย์สินจะอยู่ในรูป ของสินค้า ถ้าพ่อค้าจำหน่ายสินค้าจะได้รับเงินมาหมุนเวียน แต่ถ้าพ่อค้าไม่ได้ขายสินค้า ก็เป็นการเก็บรักษา มูลค่าของสินค้านั้นไว้แทนเงิน

คำนิยามของปริมาณเงิน
ปริมาณเงินในความหมายแคบ (M1) หมายถึง เงินเหรียญ ธนบัตร และเงินฝากประเภทกระแสรายวัน
ปริมาณเงินในความหมายกว้าง (M2 ) M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำของภาคเอกชน
ตลาดการเงิน ( Finance Market)
บทบาทของตลาดการเงิน ตลาดการเงินจะเป็นแหล่งระดม หรือหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยระดมจากบุคคลที่มีเงินออมเหลือโดยโอนไปเป็นเงินลงทุนทั้งหมด การระดมเงินทุนดังกล่าวจึงต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า ตลาดการเงิน เพื่อให้ผู้ออม และผู้ลงทุน ซึ่งมีจำนวนมาก สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินเหลือไปให้หน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการ
เงินลงทุน โดนผ่านตลาดการเงิน ซึ่งจะมีสถาบันทางการเงินต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ระหว่างผู้ออมกับผู้ลงทุน โดยผู้ออมจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝาก และผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ มากกว่าผลตอบแทนที่ผู้ออมได้รับ
ตลาดการเงินจะเป็นตัวกลางทางการเงินที่อยู่ในรูปสถาบันการเงิน หรือมิใช่สถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนทั้งนาระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้เครื่องมือทางเครดิตเป็นหลักฐานในการกู้ยืม ซึ่งได้แก่ สัญญากู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร เงินกู้ เป็นต้น

ตลาดการเงินตามระบบ
1. ตลาดการเงินในระบบ (Organized Market) คือแหล่งให้มีการให้กู้ยืมกัน โดยมี
สถาบันการเงินต่าง ๆ ดำเนินงานภายในขอบเขตของตัวบทกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ ในการปฏิบัติจะแตกต่างไปตามประเภทของสถาบันตามที่กฎหมายระบุ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
2. ตลาดการเงินนอกระบบ ( Unorganized Market) เป็นแหล่งเงินที่มีการกู้ยืม
ระหว่างผู้ต้องการเงินกับผู้ให้กู้ยืม โดยไม่มีกฎหมายรองรับ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น การเล่นแชร์ ยืมเงินจากเพื่อนสนิท ญาติ รับจำนำ ซื้อขายแบบผ่อนส่ง เป็นต้น แหล่งการเงินแบบนี้มักจะเกิดขึ้นเองตามความจำเป็น และความต้องการของสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจการเงินค่อนข้างสูง

ดุลยภาพในตลาดเงิน
อุปสงค์ของเงิน(Demand for money) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุปสงค์ของเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย โดยปกติทุกคนต้องถือเงินไว้จำนวนหนึ่งให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในกิจวัตรประจำวัน สาเหตุที่คนเราต้องถือเงินไว้เพราะรายรับและรายจ่ายไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่การใช้จ่ายจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยคัญที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยก็คือ รายได้ประชาชาติ ถ้ารายได้ประชาชาติสูง ความต้องการถือเงินไว้ใช้จ่ายก็จะสูงด้วย อุปสงค์ต่อเงินประเภทนี้จะผันแปรไปโดยตรงกับระดับรายได้ประชาชาติ และอุปสงค์ต่อเงินประเภทนี้ยังขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย เพราะในขณะใดขณะหนึ่งเราถือเงินไว้จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสใน
รูปของอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะได้รับ จากการเอาเงินไปลงทุนทำอย่างอื่น ดังนั้นถ้าหาก
อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น อุปสงค์ต่อเงินประเภทนี้จะลดลง เหตุผลก็คือผู้มีเงินจะจัดสรรเงินไปซื้อหลักทรัพย์ หรือฝากธนาคารไว้ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนก็คือ ดอกเบี้ย นั่นเอง
2. ความต้องการถือเงินเพื่อสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน โดยทั่วไปคนเราจำเป็นต้องถือเงิน
ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยกะทันหัน เป็นต้น ความต้องการประเภทนี้จะผันแปรโดยตรงกับรายได้และยังอาจผันแปรไปในทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยด้วย
3. ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร เป็นการถือเงินไว้เพื่อสะสมค่า หากถือเงินไว้เกิน
ความต้องการก็ย่อมมีค่าเสียโอกาส ที่จะได้รับผลตอบแทนจากการนำเงินนั้นไปฝากธนาคารหรือซื้อหลักทรัพย์เป็นต้น ความต้องการถือเงินไว้เพื่อเก็งกำไร เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์อันมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาด เช่น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำคนจะไม่นำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ จะพากันถือเงินไว้เฉย ๆ เพื่อรอให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในอนาคต ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันสูง ผู้ถือเงินจะนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์ เพราะคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่สูงไปกว่านี้ ดังนั้น ราคาของหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย
กล่าวคือ ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยตลาดสูง ราคาหลักทรัพย์จะลดลง และถ้าหากอัตรา
ดอกเบี้ยตลาดลดลงราคาหลักทรัพย์จะสูงขึ้น จึงเห็นได้ว่าอุปสงค์ต่อเงินเพื่อเก็งกำไรจะผันแปรตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยตลาดสูงขึ้น ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรจะต่ำลง เนื่องจากผลตอบแทนจากการถือหลักทรัพย์จะมีน้อยกว่าการถือเงิน ทำให้คนขายหลักทรัพย์ลดลง
อุปทานของเงิน (Supply of Money)
คือความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงินที่หมุนเวียน
ในระบบเศรษฐกิจขณะใดขณะหนึ่งจะถูกกำหนดโดยนโยบายของธนาคารกลาง ทั้งนี้พิจารณาตามความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นปริมาณเงินจะไม่มีความยืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ย
ดุลยภาพในตลาดเงิน
เงื่อนไขหรือภาวะสมดุลในตลาดเงินเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของเงินทั้งหมดเท่ากับ
ปริมาณเงินที่มีอยู่พอดี กลไกที่ทำให้เกิดภาวะสมดุลคืออัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ ถ้าหากอัตราดอกเบี้ย สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพจะมีแรงผลักดันในตลาด ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงจนเข้าสู่ภาวะสมดุล ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดุลภาพ ก็จะผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น
ภาวะสมดุลในตลาดเงินอาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงิน ซึ่งจะ
ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย โดยที่อัตราดอกเบี้ยจะกระตุ้นการใช้จ่ายมวลรวมโดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของธุรกิจ และส่งผลต่อรายได้ประชาชาติในที่สุด เพราะการเพิ่มในปริมาณเงินจะก่อให้เกิดการลดลงในอัตราดอกเบี้ยและจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลงย่อมก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นในการใช้จ่ายลงทุน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการใช้จ่ายมวลรวมของระบบเศรษฐกิจ

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ฝากเงิน และผู้ต้องการกู้ยืมเงินมีลักษณะ สำคัญดังนี้
1. เป็นแหล่งระดมเงินออม โดยวิธีรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป และออกตราสารอื่นให้แก่ประชาชน
2. เป็นสถาบันที่เป็นตัวกลางในการให้บริการกู้ยืมเงินโดยใช้เงินออมที่รับฝากจากประชาชนนำมาให้ กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อลงทุน
3. เป็นสถาบันที่อำนวยความสะดวกทางการเงิน โดยการให้บริการค้ำประกันสัญญาใช้เงินหุ้นหรือ หลักทรัพย์ทางการเงินบางประเภท ทำให้สินทรัพย์มีความน่าเชื่อถือ


ประเภทของสถาบันการเงิน
สถาบันการเงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้1. ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงินของ
ประเทศ ดูแลเงินสำรองระหว่างประเทศ ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และออกธนบัตรของรัฐบาล ควบคุม ปริมาณเงินของประเทศ

บทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลาง เป็นสถาบันการเงินที่สำคัญยิ่งของประเทศ เนื่องจากมีบทบาทหน้าที่หลัก ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และดูแลระบบการเงินให้มั่นคงและ ก้าวหน้า ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ จะมีหน้าที่ดังกล่าวคล้ายคลึงกัน แต่ขอบเขตของหน้าที่และ บทบาทในการกำหนดนโยบายการเงิน การควบคุมดูแลสถาบันการเงิน ความรับผิดชอบใน การบริหารนโยบาย การใช้มาตรการและเครื่องมือแตกต่างกันไป สำหรับประเทศกำลังพัฒนาธนาคารกลางจะมี บทบาทที่กว้างกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการเงินให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน สากล เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและ มีสถียรภาพ
บทบาทและหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
1 การรักษาเสถียรภาพทางการเงินโดยดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินทั้งภายในและภายนอก เสถียรภาพภายใน ได้แก่ การรักษาค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับราคาและปริมาณสินค้า ส่วนเสถียรภาพภายนอก ได้แก่ การรักษาค่าของเงินบาทเมื่อเทียบ กับสกุลเงินตราต่างประเทศธนาคารมีหน้าที่ดูแลตลาดเงินระยะสั้นให้เป็นแหล่งที่เสริมสร้างสภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน พัฒนาตลาดตราสารการเงิน และสนับสนุนตลาดทุน เพื่อให้เป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว ตลอดจนดูแลและส่งเสริมให้ตลาดเงินตราต่างประเทศมีเสถียรภาพ เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุน
2 การกำกับดูแลสถาบันการเงิน
กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ รวมทั้งกิจการวิเทศธนกิจ ให้มีความมั่นคงและได้มาตรฐานสากล ตลอดจนดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการกระจายสินเชื่อไปสู่ภาคเศรษฐกิจสำคัญด้านต่างๆ เช่น การส่งออก การเกษตรกรรม และการอุตสาหกรรม รวมทั้งดูแลและส่งเสริมให้มีการให้สินเชื่อในการพัฒนาหรือเป็นประโยชน์แก่ชนบท และเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย โดยการให้กู้ยืมผ่านสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้ง ดำเนินการพัฒนาสถาบันการเงินให้ก้าวหน้าและให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินในกรณีที่จำเป็นต้องมีการแก้ไข
3 การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลการเป็นนายธนาคารของรัฐบาลประกอบด้วย การให้บริการธุรกิจธนาคารแก่ส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ เช่น การรับฝากเงิน การให้กู้เงิน การ โอนเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการควบคุม การก่อหนี้ต่างประเทศและบริหารหนี้ในประเทศของรัฐบาล โดยเป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในด้านการให้คำปรึกษานโยบายเศรษฐกิจแก่รัฐบาล ได้แก่ รวบรวมข้อมูล/ วิเคราะห์ และประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนของรัฐบาลในองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กลุ่มธนาคารกลางแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN) และกลุ่มธนาคารกลาง แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย (SEANZA) เพื่อส่งเสริมการร่วมมือทางการเงินและการพัฒนาประเทศ มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นกับองค์กรทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เช่น ธนาคารโลก (IBRD) ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และองค์การเพื่อความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD) รวมทั้งธนาคารกลางของประเทศต่างๆ
4 การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงินให้บริการทางการเงินแก่สถาบันการเงินโดยไม่มุ่งหวังกำไร ได้แก่ การรับฝากเงินและเก็บรักษาเงินสำรองตามกฎหมายของสถาบันการเงิน เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง เป็นศูนย์กลางการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน รวมทั้งให้บริการโอนเงิน ระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
5 การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีสภาพคล่องปลอดภัย และมีระดับที่เหมาะสม ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายเพื่อเสถียรภาพ และความน่าเชื่อถือของเงินบาท
6 การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตรออกแบบและจัดพิมพ์ธนบัตรและบัตรธนาคาร ออกใช้ธนบัตรและรับแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด เพื่อให้ประชาชนมีธนบัตรที่อยู่ในสภาพดี ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั่วถึงทั้งประเทศ รวมทั้งดูแลการหมุนเวียนของธนบัตรให้มีปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ



ธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 กล่าวว่าธนาคาร
พาณิชย์คือสถาบันผู้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินและจ่ายคืนเมื่อทวงถามเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และให้บริการกู้ยืม ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซื้อลดตั๋วเงิน และบริการอื่น ๆ เช่น เช่าตู้นิรภัย บัตรเครดิต บัตร ATM บริการจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น

สถาบันการเงินอื่น ๆ ได้แก่ สถาบันการเงินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ได้แก่ธนาคารออมสิน เป็นของรัฐบาล บริการรับฝากเงินแล้วให้รัฐบาลกู้โดยวิธีการซื้อพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านเกษตรและสหกรณ์โดยเฉพาะ บริษัทเงินทุนของ เอกชน รับฝากเงินก้อนใหญ่ และให้กู้เงินเพื่อการค้า การบริโภค การเคหะ และอุตสาหกรรม สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์และบริษัทประกันภัยก็เป็นแหล่งรวบรวมเงินทุนโดยมีผลตอบแทนให้แก่ผู้เอาประกันตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

การคลัง
การคลัง หมายถึง เศรษฐกิจภาครัฐบาล เกี่ยวกับการหารายได้เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม การคลังนั้นมีขอบเขตครอบคลุมอยู่ 3 อย่าง คือ รายรับของรัฐบาล
รายจ่ายของรัฐบาลและงบประมาณแผ่นดิน
รายรับของรัฐบาล ได้จากเงินต่างๆ 3 ประการ คือ
1. รายได้ของรัฐบาล ประกอบด้วย ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และ
อื่นๆ เช่น ค่าปรับ ค่าภาคหลวง ฤชากร การผลิตเหรียญกษาปณ์
2. เงินกู้ เงินกู้ของรัฐบาลนั้นมีทั้งกู้ภายในประเทศและกู้จากต่างประเทศ เรียกว่า “หนี้
สาธารณะ”
3. เงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่แต่มิได้นําออกมาใช้ เงินนี้อาจจะเหลือจากงบประมาณในปีก่อนก็ได้รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากภาษีอากร ในประเทศไทยการเก็บภาษีเงินได้ใช้ระบบก้าวหน้า หมายถึง ยิ่งมีรายได้สูงอัตราการเก็บภาษีจะสูงขึ้นเรื่อยๆ (5 - 37%) การเก็บภาษีแบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ
1) ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากผู้มีรายได้โดยตรงหรือผู้ที่เป็นเจ้าของ
ทรัพย์สิน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย (เงินฝากประจํา)ภาษีรางวัล ภาษีทะเบียนรถยนต์ ภาษีมอเตอร์ไซด์ ภาษีทะเบียนเรือ ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีสนามบิน เป็นต้น
2) ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือภาษีที่เก็บจากบุคคลหนึ่งแล้วบุคคลนั้นผลักภาระการ
เสียภาษีนั้นไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ภาษีศุลากร เป็นภาษีที่เก็บจากการนําเข้าและส่งออกสินค้า
2. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากการผลิตหรือจํ าหน่ายสินค้าบางชนิด เช่น นํ้ามัน
เชื้อเพลิง ก๊าซ บุหรี่ เบียร์ เครื่องดื่ม ยานัตถุ์ ไพ่ ไม้ขีด ปูนซีเมนต์ เป็นต้น
3. ภาษีสรรพากร เช่น อากรมหรสพ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
การกู้เงินของรัฐบาล รัฐบาลมีแหล่งเงินกู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ คื อ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคาร
พาณิชย์ องค์การ สถาบัน มูลนิธิ บริษัท และประชาชน
แหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ คือ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินต่างประเทศ และรั ฐบาลต่างประเทศ
รายจ่ายของรัฐบาล วัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการจ่ายเงิน คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทําให้รายได้ประชาชนสูงขึ้น เพื่อสาธารณูปโภคบริการแก่ประชาชน เพื่อรักษาความสงบภายใน และเพื่อใช้ป้องกันประเทศรายจ่ายของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 12 ประการ เช่น การเกษตร การศึกษา การสาธารณสุขการรักษาความมั่นคงแห่งชาติและการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และการชําระหนี้เงินกู้เป็นต้น
งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง เอกสารประมาณการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลงบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นการวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลนั่นเอง ประเทศไทยเริ่มมีงบประมาณแผ่นดินครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดทํางบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนผู้ที่อนุมัติการใช้งบประมาณ คือ รัฐสภา โดยประกาศออกมาเป็นกฎหมาย เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พ.ศ. …”ปีงบประมาณของประเทศไทยจะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป เช่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้น
ลักษณะของงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. งบประมาณขาดดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลตํ่ากว่ายอดรายจ่าย จําต้องนําเอาเงินกู้และเงินคงคลังมาเสริม
2. งบประมาณเกินดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลสูงกว่ายอดรายจ่าย
3. งบประมาณได้ดุล (สมดุล) หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลเท่ากับยอดรายจ่าย

การลงทุนระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศ
การลงทุนระหว่างประเทศ หมายถึง การที่รัฐบาลหรือเอกชนของประเทศหนึ่งนำเงินไปลงทุนดำเนินธุรกิจ เพื่อแสวงผลกำไรในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment ) ในปัจจุบันการลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการดำเนินงานโดยวิสาหกิจ และมีสถาบันการเงินของเอกชนเป็นผู้จัดหาเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ให้
2. การลงทุนโดยอ้อม ( Indirect Investment ) เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนต่างชาติไม่ได้เข้ามามีส่วนดำเนินกิจการโดยตรง ได้แก่ การลงทุนในรูปเงินกู้ ( Loan ) , การลงทุนแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนโดยการซื้อหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศ

การโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ
1. เพื่อปรับดุลการชำระเงินให้สมดุล
2. เพื่อชำระหนี้สินต่างประเทศซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
3. แบบโดยตรงเพื่อหวังผลกำไรที่เกิดจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ ต้นทุนการผลิต ภาวะการตลาด และนโยบายของรัฐบาลที่รับการลงทุน

การเงินระหว่างประเทศ

การเงินระหว่างประเทศ
เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมา ในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้ เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

ดุลการค้า (Balance of trade)
ดุลการค้า หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือจากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.3 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า มูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ

ดุลการชำระเงิน (Balance of payment)
ดุลการชำระเงิน หรือ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีหรือรายการที่ แสดงการรับ และการจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้า การบริการ และการเงินด้านอื่นๆ ของประเทศที่เกิดจากการติดต่อกับประเทศอื่นสนระยะเวลาหนึ่ง (ปกติมีระยะเวลา 1 ปี) ดุลการชำระเงินจะแสดงรายการรายรับและรายจ่ายในการนำสินค้าเข้าประเทศและส่งสินค้าออก ไปขายต่างประเทศ และรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าชนส่งและค่าประกันภัยในการนำสินค้า เข้าหรือออก เงินที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศ เงินต้น และดอกเบี้ยที่รัฐบาลส่งไปชำระให้ต่างประเทศ เป็นต้น
ลักษณะของดุลการชำระเงิน มี 3 ลักษณะ คือ
1. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศเท่ากับยอดรายจ่าย เงินตราต่างประเทศ
2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศน้อยกว่ายอดรายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
3. ดุลการชำระเงินเกิดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศมากกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในด้านการค้า และติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือ ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ดุลการชำระเงินนี้จะแสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศ ถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุล มียอดรายจ่าย มากกว่ายอดรายรับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวนเงินตราต่างประเทศหรือทองคำที่สะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลง และถ้าลดลงมากก็อาจกระทบกระเทือน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้
ดุลการชำระเงินแตกต่างจากดุลการค้า คือ ดุลการชำระเงินบันทึกการรับจ่ายที่เกิด จากการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกๆ ธุรกรรม(Transaction) ในขณะที่ ดุลการค้าจะบันทึกรายการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงธุรกรรมเดียว ดังนั้นดุลการค้า จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงินเท่านั้น และหากว่าดุลการค้าไม่สมดุล ก็ไม่จำเป็นว่า ดุลการชำระเงินจะต้องไม่สมดุลตามไปด้วย
ตามปกติดุลการชำระเงินจะมียอดบัญชีที่สมดุลอยู่เสมอ เพราะมีบัญชีทุนสำรอง ระหว่างประเทศใช้เป็นตัวปรับความไม่สมดุลที่เกิดจากยอดรวมสุทธิของบัญชีอื่น ถ้าผลรวม ของบัญชีอื่นมียอดขาดดุลจะส่งผลให้ยอดบัญชีทุนสำรองระหว่าง ประเทศลดลง แต่ถ้าผลรวม บัญชีอื่นมียอดเกินดุลยอดบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง ราคาของเงินตราประเทศ 1 หน่วย คิดเทียบกับเงินตราอีกสกุลหนึ่ง เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเทียบกับเงินบาทเท่ากับ 39 บาท เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยน อาจมีได้หลายอัตรา เช่น
1. อัตราทางการ ( Official Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินของประเทศ เช่น ประเทศไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทางการเอาไว้ในอัตราดอลลาร์ละ 20 บาท เป็นต้น
2. อัตราตลาด ( Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่กำหนดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
3. อัตราตลาดมืด ( Black Market Rate ) คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการกำหนดทางการไว้สูงกว่าอัตราตลาด
**ในกรณีที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกันได้อย่างเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 กรณี คือ
1. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีมากขึ้น แต่จำนวนดอลลาร์มีน้อย ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะสูงขึ้น ส่วนค่าของเงินบาทจะลดลง
2. ถ้าความต้องการใช้ดอลลาร์มีน้อยลง แต่จำนวนดอลลาร์มีมาก ค่าของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินบาทจะต่ำลง ส่วนค่าของเงินบาทจะสูงขึ้น


อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ
คือ ความต้องการการเงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าที่เราสั่งเข้ามาก ซึ่งการที่อุปสงคาของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
2. เพื่อนำไปให้ต่างประเทศกู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
3. เพื่อนำมากักตุนเก็งกำไร
4. เพื่อส่งออกไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

อุปทานของเงินตราต่างประเทศ
คือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศที่เรามีอยู่ และส่วนใหญ่ได้จากการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศซึ่งการที่อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ
1. ปริมาณสินค้าและบริการที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
2. ความต้องการของนักธุรกิจต่างประเทศในอันที่จะนำเงินมาลงทุน หรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศ
3. ปริมาณเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ระบบการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
1. ระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ( Free Exchange Rate ) เป็นระบบที่อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นหรือต่ำลงได้อย่างเสรีตามสภาพอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยผ่านกลไกของราคาในตลาด โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล ระบบนี้จะไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนทางการ จะมีแต่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเพียงอย่างเดียว และระบบนี้จะไม่มีกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ( Exchange Stabilization Fund : ESF ) ทั้งนี้เพราะอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการปรับดุลการชำระเงินให้สู่ระดับสมดุลโดยกลไกของราคาตลาด ซึ่งจะดำเนินอยู่ตลอดเวลา
** ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ไม่นิยมใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรี เพราะเหตุ 3 ประการ คือ
1.ทำให้ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศมีค่าน้อยมาก จะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้มาก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ
2. เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศขึ้น มักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศในทางที่ทับทวีมากขึ้น
3. ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรีจะมีการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ ก่อให้เกิดการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ อันเป็นผลให้อัตราแลกเปลี่ยนยิ่งห่างไกลจากความสมดุลมากขึ้นแทนที่จะปรับตัวได้
**ภายในระบบการเงินซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเสรี ค่าแห่งเงินตราของประเทศต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศจะเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นประจำ ซึ่งมีผลเสียต่อการค้าระหว่างประเทศ และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงขึ้นได้โดยง่าย
2. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดให้คงที่ ( Fixed Exchange Rate ) ระบบนี้อาจจำแนกออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
2.1 ระบบมาตรฐานทองคำ ( Gold Standard ) เป็นระบบที่กำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำตามน้ำหนักและความบริสุทธิ์ที่กำหนดไว้โดยเงินตราของประเทศนั้น
** Mint Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนในระบบมาตรฐานทองคำที่ได้มาจากการเทียบค่าเงินโดยผ่านน้ำหนักของทองคำ
** อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ จะอยู่ระหว่างจุดทองคำไหลออก ( Gold Export Point ) และจุดทองคำไหลเข้า ( Gold Import Point ) โดยจุดทองคำจะถูกกำหนดขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายในการขนส่งทองคำเข้า – ออก และอัตราแลกเปลี่ยนทางการ
ตัวอย่างที่ 1 ค่าขนส่งทองคำจากสหรัฐฯ ไปอังกฤษ หรืออังกฤษไปสหรัฐฯ เท่ากับ 0.02 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนทางการ 1 ปอนด์ = 2.40 ดอลลาร์
- จุดทองคำไหลออก คือ 1 ปอนด์ = 2.42 ดอลลาร์ ( 2.40 + 0.02 ดอลลาร์ )
- จุดทองคำไหลเข้า คือ 1 ปอนด์ = 2.38 ดอลลาร์ ( 2.40 – 0.02 ดอลลาร์ )
ตัวอย่างที่ 2 ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทในมาตราทองคำเท่ากับ 10 บาท ต่อ 1 ปอนด์ ต่อทองคำ 10 กรัม และค่าขนส่งทองคำ 1 กรัม ระหว่างไทยและอังกฤษ มีอัตราเท่ากับ 0.2 บาท จุดทองคำไหลออกจะเท่ากับเท่าไร
- จุดทองคำไหลออก = อัตราแลกเปลี่ยนทางการ + ค่าขนส่งทองคำ
= 10 + ( 0.2 X 10 ) = 12 บาท
** จุดทองคำไหลออกมีค่าเท่ากับ 12 บาท ต่อ 1 ปอนด์
** ประเทศที่อยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ เมื่อมีการสั่งสินค้าเข้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องส่งทองคำออกไปชำระค่าสินค้าที่สั่งเข้ามาก ซึ่งจะทำให้ทุนสำรองที่เป็นทองคำน้อยลง และทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนของประเทศลดลงด้วย เมื่อปริมาณเงินลดลงแล้ว หากปริมาณสินค้าในตลาดมีจำนวนเท่าเดิม จะทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศสามารถส่งสินค้าออกไปขายได้มากขึ้น และจะสั่งเข้าน้อยลง เพราะประชาชนจะหันมาซื้อสินค้าภายในประเทศ ซึ่งมีราคาต่ำกว่ามากขึ้น
** ประเทศใดจะอยู่บนมาตรฐานทองคำได้ จะต้องอยู่ในเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการ
1. ต้องกำหนดหน่วยเงินตราไว้กับทองคำที่เรียกว่า “Gold Parity” และมี ทุนสำรองเงินตราเป็นทองคำเพียงอย่างเดียว
2. ธนาคารกลางจะรับซื้อหรือขายทองคำตามอัตราทางการโดยไม่จำกัดจำนวน
3. การซื้อขายแลกเปลี่ยนทองคำจะต้องเป็นไปโดยเสรี
** ประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนตั้งอยู่บนมาตรฐานทองคำ อาจประสบปัญหาการขาดแคลนทองคำ และถ้าราคาทองคำเปลี่ยนแปลงไป อัตราแลกเปลี่ยนก็จะผันแปรตามไปด้วย ประเทศที่ยึดระบบมาตรฐานทองคำจึงมักประสบปัญหาการขึ้นลงของราคาทองคำอยู่เสมอ จนกระทั่งต้องออกจากมาตรฐานทองคำและหันไปใช้ระบบมาตราปริวรรตทองคำแทน
2.2 ระบบมาตราปริวรรตทองคำ ( Gold Exchange Standard ) เป็นระบบที่ประเทศต่าง ๆ เคยนิยมใช้ ประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบนี้จะต้องเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( International Monetary Fund : IMF และต้องกำหนดเงินตราของตน 1 หน่วย ให้มีค่าเทียบกับทองคำจำนวนหนึ่ง หรือกำหนดค่าเงินตราของตนเทียบเท่ากับเงินตราสกุลที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ เช่น
- 1 ดอลลาร์ เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.736662 กรัม
- 1 บาท เทียบทองคำบริสุทธิ์ไว้หนัก 0.038331 กรัม
** ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนโดยผ่านทองคำจะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ ต่อ 20 บาท เรียกว่า “ค่าเสมอภาค” ( Par Value ) ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนทางการที่กำหนดไว้ตายตัวโดย IMF และประเทศสมาชิกจะต้องตั้งกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ( ESF ) ขึ้น เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดให้อยู่ในช่วง Support Point ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้สูงกว่าค่าเสมอภาคได้ไม่เกิน + 2.25 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้
- Upper Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 + (2.25 X 20) = 20.45 บาท
- Lower Support Point คือ 1 ดอลลาร์ : 20 – (2.25 X 20) = 19.55 บาท
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีมากกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะสูง
ESF จะต้องขายดอลลาร์ออกไป
- ถ้าอุปสงค์ในดอลลาร์มีน้อยกว่าปริมาณดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนจะต่ำ
ESF จะต้องซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้
** ถ้าเกิดกรณีอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดห่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการมากเกินไปจน ESF แก้ไขไม่ได้ ประเทศสมาชิกอาจต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาค หรืออาจเพิ่มหรือลดค่าของเงินตรา
** การลดค่าของเงินตรา ( Devaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาล ทำให้ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมรัฐบาลประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทางการไว้ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมาประกาศลดค่าลดเหลือ 27 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเพิ่มค่าของเงินตรา ( Revaluation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคโดยรัฐ-บาลทำให้ต้องใช้เงินบาทน้อยลงเพื่อแลกได้ 1 ดอลลาร์เท่าเดิม เช่น เดิมอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ต่อมารัฐบาลประกาศเพิ่มค่าเงินบาทเป็น 23 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เป็นต้น
** การเสื่อมค่าของเงิน ( Depreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาลดลง ทั้งนี้เกิดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราเปลี่ยนแปลงไป
** การเพิ่มค่าของเงิน ( Appreciation ) หมายถึง การที่เงินตราสกุลนั้นเมื่อคิดเทียบกับเงินสกุลอื่นแล้วมีราคาสูงขึ้น เช่น เงินดอลลาร์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท แสดงว่า เงินดอลลาร์หนึ่ง ๆ จะแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
3. ระบบการเงินซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนถูกควบคุม ( Exchange Control ) เป็นระบบที่รัฐบาลใช้อำนาจผูกขาดควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศจะตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดขึ้น

วัตถุประสงค์ของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อจำกัดการนำเงินทุนเข้าประเทศหรือการส่งเงินทุนออก
2. เพื่อรักษาค่าภายนอกของเงินตราของประเทศให้มีเสถียรภาพ
3. เพื่อรักษาทุนสำรองเงินตราที่เป็นทองคำของประเทศและทรัพย์สินต่าง
ประเทศไว้
4. เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือในความมั่นคงของเงินตรา
5. เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศเอาไว้ใช้ในภาระจำเป็น
6. เพื่อต้องการเงินตราต่างประเทศเอาไว้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
หลักทรัพย์ซึ่งพลเมืองในประเทศอื่นถือไว้
** ผลเสียที่สำคัญของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนก็คือ มักจะทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องรักษาดุลการค้าแบบทวิภาค ซึ่งนับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎของ Comparative Advantage โดยระบบการค้าแบบทวิภาคจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิตลดน้อยลง
** ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีหรือแบบลอยตัว ( Floating Exchange Rate ) อย่างมีการจัดการ กล่าวคือ สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทได้บ้างตามความเหมาะสม ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทลดต่ำลงจากเดิมอย่างมาก

เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย เป็นผลให้ต้องมีเงิน ระหว่างประเทศติดตามมาในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น

ดุลการค้า (Balance of trade)
ดุลการค้า หมายถึง การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่า สินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชี เดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการ ศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือ จากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติใน ปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น
1.2 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติใน ปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า มูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ

ดุลการชำระเงิน (balance of payment)
ดุลการชำระเงิน หรือ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง บัญชีหรือรายการที่ แสดงการรับ และการจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้า การบริการ และการเงินด้านอื่นๆ ของประเทศที่เกิดจากการติดต่อกับประเทศอื่นสนระยะเวลาหนึ่ง (ปกติมีระยะเวลา 1 ปี) ดุลการชำระเงินจะแสดงรายการรายรับและรายจ่ายในการนำสินค้าเข้าประเทศและส่งสินค้าออก ไปขายต่างประเทศ และรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าชนส่งและค่าประกันภัยในการนำสินค้า เข้าหรือออก เงินที่รัฐบาลกู้จากต่างประเทศ เงินต้น และดอกเบี้ยที่รัฐบาลส่งไปชำระให้ต่าง ประเทศ เป็นต้น
ลักษณะของดุลการชำระเงิน มี 3 ลักษณะ คือ
1. ดุลการชำระเงินสมดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศเท่ากับยอดรายจ่าย เงินตราต่างประเทศ
2. ดุลการชำระเงินขาดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศน้อยกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
3. ดุลการชำระเงินเกิดดุล หมายถึง ยอดรายรับเงินตราต่างประเทศมากกว่ายอด รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ
ยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศ ในด้านการค้า และติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เงินโอนหรือเงินช่วยเหลือ ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ดุลการชำระเงินนี้จะแสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศ ถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุล มียอดรายจ่าย มากกว่ายอดรายรับติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวนเงินตราต่างประเทศหรือทองคำที่ สะสมไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศลดน้อยลง และถ้าลดลงมากก็อาจกระทบกระเทือน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศได้
ดุลการชำระเงินแตกต่างจากดุลการค้า คือ ดุลการชำระเงินบันทึกการรับจ่ายที่เกิดทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทุกๆ ธุรกรรม (transaction) ในขณะที่ ด จากการแลกเปลี่ยนดุลการค้าจะบันทึกรายการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพียงธุรกรรมเดียว ดังนั้นดุลการค้า จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดุลการชำระเงินเท่านั้น และหากว่าดุลการค้าไม่สมดุล ก็ไม่จำเป็นว่า ดุลการชำระเงินจะต้องไม่สมดุลตามไปด้วย
ตามปกติดุลการชำระเงินจะมียอดบัญชีที่สมดุลอยู่เสมอ เพราะมีบัญชีทุนสำรอง ระหว่างประเทศใช้เป็นตัวปรับความไม่สมดุลที่เกิดจากยอดรวมสุทธ ิของบัญชีอื่น ถ้าผลรวม ของบัญชีอื่นมียอดขาดดุลจะส่งผลให้ยอดบัญชีทุนสำรองระหว่าง ประเทศลดลง แต่ถ้าผลรวม บัญชีอื่นมียอดเกินดุลยอดบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือ นโยบายที่แต่ละประเทศใช้ในการนำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น นโยบายแบบเสรี และ นโยบายแบบคุ้มกัน

นโยบายการค้าแบบเสรี
เป็นนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ นำสินค้ามาทำการค้าขายระหว่างกันอย่าง เสรี โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ ประเทศที่จะถือนโยบายการค้าโดยเสรีจะต้องอยู่ในเงื่อนไข ดังนี้
1. ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงาน คือ ทุกประเภทจะต้องเลือกผลิตเฉพาะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูง
2. ต้องไม่มีการเก็บภาษี หรือมีการเก็บภาษีแต่น้อย โดยไม่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบ
3. ต้องไม่มีการให้สิทธิพิเศษและไม่มีข้อจำกัดทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ หากถือตามเงื่อนไขนี้แล้วในปัจจุบันไม่มีประเทศใดที่จะมีนโยบายการค้าโดยเสรีได้ อย่างเป็นทางการเพราะนโยบายลักษณะนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาจะเสียเปรียบประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก แต่บาง ประเทศมีการตกลงร่วมกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น

นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
เป็นนโยบายที่มุ่งสนับสนุนภาพการผลิตในประเทศ มีหลักการตรงกันข้ามกับนโยบาย การค้าโดยเสรี คือรัฐบาลจะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อจำกัดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออก
วัตถุประสงค์ของนโยบายการค้าแบบคุ้มกัน พอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อให้ประเทศช่วยตนเองได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดสงครามขึ้น อาจจะไม่ มีสินค้าที่จำเป็นบางอย่างใช้ เพราะไม่สามารถนำเข้ามาตามปกติได้ ในยามปกติจึงควรเตรียม การผลิตสินค้าที่จำเป็นสำรองไว้
2. เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เพิ่งเกิดใหม่ ถ้ารัฐบาล ไม่ห้ามสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด อุตสาหกรรมภายในจะต้องเลิกล้มกิจการ
3. เพื่อป้องกันการทุ่มตลาด การทุ่มตลาด ได้แก่ การส่งสินค้าไปขายประเทศอื่น ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนเพื่อทำลายคู่แข่งขันในตลาดต่างประเทศ และเมื่อทุ่มตลาดสำเร็จได้ครองตลาดแห่งนั้นแล้วก็จะเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้นในเวลาต่อมา
4. เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า การขาดดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศน้อยกว่ามูลค่าสินค้าที่นำเข้ามา ทำให้ต้องเสียงเงินตราต่างประเทศออกไป จำนวนมาก จึงต้องแก้ไขโดยจำกัดการนำเข้าและส่งออกให้มากขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน จะมุ่งส่งเสริมการส่งสินค้าออกและกีดกันการนำสินค้าเข้า คือ
1. การตั้งกำแพงภาษี ( Tariff Wall ) จะใช้วิธีการจัดเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าหลายอัตรา คือ จัดเก็บภาษีศุลกากรตั้งแต่ 2 อัตราขึ้นไปในสินค้าชนิดเดียวกัน และเลือกใช้อัตราสูงแก่สินค้าที่ต้องการจะกีดกันไม่ให้นำเข้า ซึ่งเป็นมาตรการทางอ้อม
2. การควบคุมสินค้า อาจเป็นการห้ามโดยเด็ดขาดหรือกำหนดโควต้า ( Quota ) ให้นำเข้าหรือส่งออก
3. การให้การอุดหนุน ( Subsidies ) เช่น การจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิต ลดภาษีบางอย่างให้ เป็นต้น
4. การทุ่มตลาด ( Dumping ) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายภายในประเทศ และด้วยราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งมี 3 กรณี คือ
1.) การทุ่มตลาดเฉพาะกิจ เพื่อล้างสินค้าเก่าที่ค้างสต๊อก หรือเป็นสินค้าที่ล้าสมัย หรือเป็นสินค้าที่ไม่ขายภายในประเทศ เพื่อรักษาระดับราคาสินค้านั้นในตลาดภายในไว้
2.) การทุ่มตลาดเป็นการชั่วคราว เป็นนโยบายที่จะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ำกว่าตลาดภายในประเทศเป็นการชั่วคราว และบางครั้งต้องขายต่ำกว่าทุน โดยมีเหตุผลดังนี้ คือ
- แสวงหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ
- กำจัดคู่แข่งขันซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิต
- กีดกันไม่ให้คู่แข่งขันเข้ามาแย่งตลาดที่ครองอยู่
- ตอบแทนการกระทำของผู้อื่น
3.) การทุ่มตลาดเป็นการถาวร เป็นการทุ่มตลาดระยะยาว ซึ่งปกติจะไม่ทุ่มขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และที่สามารถดำเนินการทุ่มตลาดได้เนื่องจากการผลิตภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้น และรัฐบาลให้เงินอุดหนุน โดยทั่วไปการส่งสินค้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศมักกระทำเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดคู่แข่ง และเมื่อสามารถผูกขาดตลาดได้แล้ว ก็จะขึ้นราคาสินค้าเพื่อชดเชยภายหลัง
5. ข้อตกลงทางการค้า นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการดำเนินนโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อให้สิทธิหรือฐานะทางการค้าเป็นพิเศษแก่ประเทศคู่สัญญา
6. การควบคุมเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางจะควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของเงิน เพื่อสกัดกั้นการไหลออกของเงิน และพยายามดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
** ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศของไทยก็ใช้นโยบายการค้าคุ้มกันเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ แต่ก็ส่งเสริมให้เอกชนทำการค้าเสรี และไม่สนับสนุนให้มีการค้าโดยรัฐมากเกินไป ซึ่งนโยบายการค้าต่างประเทศของไทยพอสรุปได้ดังนี้
1. ถือระบบการค้าเอกชน
2. ถือระบบภาษีศุลกากรอัตราเดียว
3. มีข้อจำกัดทางการค้าอย่างแผ่วเบา

การค้าระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจและการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความ
แตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศ
จะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น

สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนไม่เท่ากัน ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าไปขายที่อื่น ๆ เหตุที่ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่างกันเพราะว่า มีความแตกต่างในปริมาณและทรัพยากร กล่าวคือ บางประเทศมีแร่ธาตุมาก บางประเทศเป็นแหล่งน้ำมัน บางประเทศมีป่าไม้มาก เป็นต้น ประกอบกับความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่งผลให้สินค้าบางชนิดสามารถผลิตได้ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ยางพาราส่วนมากผลิตในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก กาแฟส่วนมากมาจากบราซิล เป็นต้น ประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตชนิดใดมาก จะได้เปรียบในการผลิตสินค้าซึ่งต้องใช้ทรัพยากรชนิดนั้นเป็นปัจจัยการผลิต เพราะราคาของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นจะต่ำ เนื่องจากมีมากเมื่อเทียบกับความต้องการซึ่งมีผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคาขายต่ำไปด้วย ประเทศจึงควรผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน หรือสินค้าที่มีราคาสูงโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศไทยมีที่ดินมากและสภาพภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ดังนั้นไทยควรจะผลิตข้าวหรือสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นเป็นสินค้าส่งออกเพราะต้นทุนต่ำกว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นก็ควรผลิตสินค้าประเภททุน เช่น เครื่องจักรเครื่องมือ รถยนต์ เนื่องจากมีที่ดินน้อย แต่มีปัจจัยทุนมาก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในญี่ปุ่นต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ญี่ปุ่นต้องซื้อข้าวจากไทยและไทยต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือจากญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามความมากน้อยของทรัพยากรตลอดจนปัจจัยการผลิตที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวมิใช่เป็นสิ่งที่กำหนดต้นทุนให้ต่ำกว่าประเทศอื่นเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความชำนาญของประชากรระดับเทคโนโลยี เป็นต้น จริงอยู่ ไทยและฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นประเทศที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากและค่าจ้างค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ แต่มิได้หมายความว่าไทยและฟิลิปปินส์จะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตเท่ากับญี่ปุ่นหรือสวิตเซอร์แลนด์ เพราะว่า คุณภาพของประชากรในการผลิต ตลอดจนความเจริญทางเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าไทยมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตนาฬิกาของญี่ปุ่นหรือ สวิตเซอร์แลนด์ ต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ไทยต้องซื้อนาฬิกาจากประเทศเหล่านี้ นั่นหมายถึงว่านอกจากปริมาณของทรัพยากรแล้ว ประสิทธิภาพการผลิตหรือความชำนาญของปัจจัยก็เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดต้นทุนการผลิตสินค้า
ความแตกต่างดังกล่าวข้างต้น คือ ความแตกต่างในปริมาณและชนิดของทรัพยากร สภาพภูมิอากาศและความชำนาญในการผลิตประกอบกับความไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชนิดที่ต้องการได้เองภายในประเทศ จึงมีความต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่างที่ผลิตได้กับสินค้าที่ต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ หรือผลิตได้คุณภาพก็ไม่ดีพอการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมาโดยมีหลักการสำคัญคือ ประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนเองขาดแคลนหรือผลิตได้แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงจากต่างประเทศการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตามหลักการแบ่งงานกันทำย่อมทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งเราสามารถพิจารณาจากการค้าขายของบุคคลภายในประเทศ นั่นคือ พ่อบ้านจะไม่ยอมตัดเสื้อเพื่อสวมใส่เอง ถ้าหากเขาสามารถซื้อเสื้อผ้าจากท้องตลาดในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เขาผลิตเอง ในทำนองเดียวกัน ช่างตัดเสื้อย่อมไม่พยายามทำรองเท้าใช้เองแต่จะซื้อรองเท้าใช้จากช่างทำรองเท้า ชาวนาย่อมไม่ตัดเสื้อหรือตัดรองเท้าโดยเขาจะจ้างช่างตัดเสื้อหรือจ้างช่างตัดรองเท้าเมื่อเขาเห็นว่า ราคาที่เขาจ่ายไปต่ำกว่าต้นทุนที่เขาต้องจ่าย เป็นต้น ทุกคนควรจะผลิตสินค้าที่ตัวเองมีความถนัดและชำนาญและนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนเองต้องการ จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นหรือราคาที่ต่ำลง ดังนั้นประเทศก็เช่นเดียวกับบุคคล โดยที่จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ถ้าหากประเทศสามารถซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ในราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ผลิตได้ภายในประเทศ

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Theory)
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศพยายามอธิบายถึงชนิดของสินค้าที่ซื้อขาย และประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ
1. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ อดัม สมิธ นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกในปลายศตวรรษที่ 18 ได้เสนอทฤษฎีการได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ โดยยึดหลักการแบ่งงานกันทำตามความถนัดมาใช้ เขาเห็นว่าการค้าระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศคู่ค้าเมื่อแต่ละประเทศยึดหลักในเรื่องการแบ่งงานกันทำ หมายความว่า ประเทศใดที่ถนัดในการผลิตสินค้าอย่างใด ก็ควรผลิตสินค้าอย่างนั้นนำมาแลกเปลี่ยนกันจะส่งผลให้เพิ่มความมั่งคั่งในรูปของผลผลิตหรือรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
สาระสำคัญของทฤษฎีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ คือ ประเทศหนึ่งจะได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ ถ้าประเทศนั้นสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มากกว่าอีกประเทศหนึ่งด้วยปัจจัยการผลิตจำนวนเท่ากันหรือผลิตได้จำนวนเท่ากันได้โดยการใช้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า ดังนั้นประเทศควรทำการผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบโดยสัมบูรณ์เพื่อการส่งออกแล้วซื้อสินค้าที่ตนเสียเปรียบโดยสัมบูรณ์เป็นสินค้าเข้า
2. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของ
เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) นักเศรษฐศาสตร์สมัยคลาสสิกได้พัฒนาทฤษฎีต่อจากทฤษฎีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ของ อดัม สมิธ โดยเขาไม่เห็นด้วยกับ สมิธ ในประเด็นต่อไปนี้คือ
- ประเทศคู่ค้าที่ผลิตสินค้าและส่งออกนั้นควรจะเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบ
โดยสัมบูรณ์ได้เสมอไป
- ประเทศสามารถผลิตสินค้าและส่งออกอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความได้เปรียบ
โดยสัมบูรณ์ได้ ถ้าประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า
- ประเทศที่มีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ของประเทศคู่ค้าในทุกกรณีของการผลิต
สินค้า ก็มิได้หมายความว่า ประเทศนั้นสมควรผลิตสินค้าเสียทุกอย่าง หากแต่สมควรที่จะเลือกผลิตสินค้าส่งออกชนิดที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่า
- ในทางปฏิบัติ การค้าระหว่างประเทศยังคงเกิดขึ้น แม้ว่าประเทศหนึ่งมีความ
ได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ (เสียเปรียบโดยสัมบูรณ์) เหนืออีกประเทศหนึ่งและประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศยังคงเกิดขึ้นในรูปผลผลิตรวมที่เพิ่มขึ้น

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยคลาสสิค (Classic Theory)
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศในสมัยของคลาสสิคนี้จะถือว่า แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการกำหนดมูลค่าของสินค้า ทฤษฎีที่น่าสนใจคือ ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเด็ดขาดและทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ซึ่งทั้งสองทฤษฎีจะทำการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตของแต่ละประเทศ และเลือกผลิตในสินค้าที่ประเทศของตนมีความได้เปรียบในการผลิตมากกว่า หรือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัดโดยเปรียบเทียบระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนจะมีขอบเขตอยู่ระหว่างปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ โดยเปรียบเทียบของประเทศทั้งสอง
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยนีโอคลาสสิค (Neo-classic Theory)
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศในสมัยนีโอคลาสสิค ได้นำทฤษฎีในสมัยคลาสสิคมาปรับปรุงแก้ไข ทฤษฎีที่น่าสนใจคือ ทฤษฎีการค้าแบบต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) โดยต้นทุนค่าเสียโอกาสจะถูกนำมาเป็นหลักในการพิจารณาเนื่องจากต้นทุนค่าเสียโอกาสในการผลิตสินค้าในแต่ละประเทศสามารถวัดได้จากมูลค่าสูงสุดของสินค้าอื่นที่ประเทศนั้นไม่ได้ผลิต ดังนั้น ประเทศจะได้รับประโยชน์ที่สามารถระบายสินค้าที่ผลิตได้มากและซื้อสินค้าที่ตนผลิตได้ไม่พอกับการบริโภคเข้าประเทศ และทฤษฎีการค้าที่พิจารณาปริมาณทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้แนวคิดเส้นความเป็นไปได้ในการผลิต ซึ่งในประเทศต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามปริมาณทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่ในประเทศ

ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยใหม่ (Modern Theory)
นักเศรษฐศาสตร์ได้ศึกษาและแก้ไขปรับปรุงทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยคลาสสิคโดยเพิ่มข้อสมมุติฐานในการพิจารณาคือ มีปัจจัยการผลิตหลายชนิด การทดแทนกันของปัจจัยไม่สมบูรณ์ การโยกย้ายปัจจัยการผลิตจะเกิดต้นทุนเพิ่ม และมีต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เกิดขึ้น การโยกย้ายปัจจัยการผลิตแยกได้ 3 ลักษณะ คือ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนเพิ่มขึ้น และต้นทุนลดลง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศโดยเสรี นอกจากจะก่อให้เกิดผลผลิตหรือรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่างน้อย 6 ประการ ด้วยกันได้แก่
1. ผลต่อแบบแผนการบริโภค และราคาของสินค้า เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศ ทำให้จำนวนสินค้าที่อุปโภคและบริโภคมีเพิ่มมากขึ้นความเป็นอยู่ของผู้บริโภคจะดีขึ้น ทั้งนี้ประเทศต่าง ๆ จะพากับผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบมากขึ้น และหันไปซื้อสินค้าที่ตนเสียเปรียบทางการผลิตจากประเทศอื่นมากขึ้น ทำให้อุปทานของสินค้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลในระดับราคาสินค้านั้นมีแนวโน้มต่ำลง
2. ผลต่อคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การค้าระหว่างประเทศนอกจากจะทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ยังทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้นเพราะ มีการแข่งขันในด้านการผลิตมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเข้มงวดในคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเนื่องจากต้องเผชิญกับคู่แข่งขัน ทำให้ต้องพัฒนาการผลิตโดยการใช้เทคนิคและวิทยาการให้ก้าวหน้าและทันสมัย เรามักจะได้ยินเสมอว่า สินค้าประเภทอุตสาหกรรมที่ผลิตในบางประเภท มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ราคาต่ำ คุณภาพสูง และรูปร่างลักษณะสวยงามทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอันมาก เช่น วิทยุ โทรทัศน์และวิดีโอ ของญี่ปุ่น เป็นต้น และนับวันสินค้าเหล่านี้เป็นที่ต้องการของประเทศอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ประเทศที่นำเข้าทั้งหลายสามารถควบคุมมาตรการการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเพื่อตอบสนองภายในประเทศ เพราะว่าการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบากกว่าเนื่องจากผู้ผลิตสินค้าจะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป
3. ผลต่อความชำนาญเฉพาะอย่าง การค้าระหว่างประเทศทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่สูงกว่าเพื่อส่งเป็นสินค้าออกมากขึ้นแต่เนื่องจากปัจจัยการผลิตมีจำนวนจำกัด ฉะนั้นจึงต้องดึงปัจจัยการผลิตจากการผลิตสินค้าชนิดอื่น ซึ่งบัดนี้ผลิตน้อยลง เพราะมีความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative disadvantage) เช่น ไทยดึงปัจจัยการผลิตจากการผลิตผ้า มาผลิตข้าวส่วนญี่ปุ่นก็จะดึงปัจจัยการผลิตจากข้าวมาผลิตผ้าแทน เพราะฉะนั้น ปัจจัยการผลิตจะมีความชำนาญเฉพาะอย่างมากขึ้น เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เป็นผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดต่ำลง
4. ผลต่อการเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีการบริหารและการจัดการ การค้าระหว่างประเทศทำให้สามารถเรียนรู้ท่งด้านเทคนิคการผลิต โดยการนำเอาเทคนิคการผลิตหรือวิธีการผลิตที่เหมาะสมและทันสมัยมาใช้ในการผลิตสินค้าภายในประเทศเช่น เทคนิคหรือวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมซึ่งถือว่าเป็นลักษณะของการเลียนแบบระหว่างประเทศซึ่งวิธีการนี้ประเทศญี่ปุ่นในอดีต ได้นำไปใช้และได้ผลมาแล้วโดยได้เลียนแบบเทคนิคและวิธีการผลิตของอังกฤษ และประเทศชั้นนำในยุโรปโดยการนำส่งไหมดิบออกไปขายแลกกับการนำเขาสินค้าประเภททุนและเครื่องจักรส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วได้ในที่สุด ในขณะเดียวกันการค้าระหว่างประเทศเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ได้เรียนรู้และนำเอาเทคนิคทางด้านการจัดการ หรือเทคนิคทางด้านการบริหาร จากประเทศที่ก้าวหน้าหรือพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นประเทศต่าง ๆ จึงนิยมเปิดการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ การปิดประเทศไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศนั้นจะทำให้ประเทศนั้น ไม่มีโอกาสที่จะเรียนรู้เทคนิคดังกล่าว การเปิดประเทศติดต่อค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ก็ตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผลดังกล่าวแล้ว
5. ผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าการค้าระหว่างประเทศเป็นตัวจักรที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาโดยผ่านกระบวนการส่งออกเพราะว่าประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจน ตลาดภายในประเทศแคบ จึงเป็นอุปสรรคต่อการค้าขาย ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากประชากรมีระดับรายได้สูง ตลาดภายในประเทศกว้างขวางตลอดจนการคมนาคมสะดวกสบาย มีผลให้ความต้องการในซื้อสินค้าและบริการจากประเทศกำลังพัฒนาสูงขึ้น เพราะฉะนั้นการพึงพาอาศัยตลาดต่างประเทศจึงเป็นทางออกที่สำคัญในระยะเริ่มแรกของการพัฒนาประเทศในขณะเดียวกัน ผลจากการที่มีรายได้จากการส่งออกมากขึ้น ย่อมทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีเงินตราต่างประเทศเพื่อที่จะนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักร เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดังกล่าว ย่อมใช้เงินทุนเป็นจำนวนมหาศาลเกินกว่าความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาจะหามาได้ในระยะเวลาอันสั้น
6. ผลต่อรายได้และการจ้างงาน การส่งออกเพิ่มขึ้นย่อมมีผลให้รายได้และการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น หรือเป็นการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศนั่นเองการเพิ่มขึ้นของการส่งออก จะทำให้ประเทศได้รับรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการในต่างประเทศ ซึ่งมีผลให้กระแสหมุนเวียนของรายได้ในระบบเศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้น ผู้ผลิตจะเพิ่มการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้ผลิตก็จะตกไปเป็นรายได้ของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ต่อไปกระบวนการเช่นนี้จะดำเนินไปเรื่อย ๆ และเมื่อรวมรายได้ของบุคคลที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จะเห็นว่ารายได้ประชาชาติก็จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนสูงกว่ารายรับจาการส่งออกในครั้งแรกเป็นหลายเท่า และผลจาการเพิ่มของรายได้ประชาชาตินี้เอง ย่อมเป็นผลทำให้มีการเพิ่มอุปสงค์ของสินค้าและบริการภายในประเทศทำให้การผลิต รายได้และการจ้างงานภายในประเทศขยายตัวมากขึ้น

ผลกระทบของการค้าระหว่างประเทศ
แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศคู่ค้าดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การค้าระหว่างประเทศก็มีผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาแก่ประเทศคู่ค้าได้เหมือนกัน ผลกระทบที่สำคัญพอจะจำแนกได้อย่างน้อย 6 ประการ ด้วยกันคือ
1. ผลต่อเสถียรภาพของราคา การค้าระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นให้ประเทศผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบโดยเปรียบเทียบไม่กี่ชนิด หรือชนิดเดียวนั้นจะเป็นผลให้รายได้ของประเทศขึ้นอยู่กับการจำหน่ายสินค้าออกเพียงไม่กี่ชนิด การผลิตและรายได้ของประเทศจึงเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ในอดีตที่ผ่านมา รายได้จากการส่งออกของไทยมาจากข้าว ยามใดที่ไทยสามารถส่งข้าวออกได้มาก เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดโลกมีสูงจะมีผลให้รายได้ของประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง และประชาชนมีการใช้จ่ายมากจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้
ในกรณีตรงข้าม หากอุปสงค์จากต่างประเทศในการเสนอซื้อข้าวลดลงอย่างฮวบฮาบ ก็จะทำให้รายได้จากการจำหน่ายข้าวลดลง การใช้จ่ายในประเทศลดลง จนทำให้เกิดภาวะเงินฝืด เป็นต้น และถ้าระบบเศรษฐกิจมีการพึ่งพา การนำเข้าจากต่างประเทศในระดับสูงก็จะก่อให้เกิดปัญหาของเสถียรภาพราคาได้เช่นกัน เช่น การขึ้นราคาน้ำมันดิบอย่างฮวบฮาบของกลุ่ม ผู้ผลิตน้ำมันเพื่อส่งออก (OPEC) เมื่อ พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2523 ทำให้เกิดภาวะ
เงินเฟ้อขึ้นทั่วโลกและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอันมาก เนื่องจากน้ำมันเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ราคาสินค้าจึงต้องสูงขึ้นตาม ทำให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่ว ๆไปสูงขึ้นได้
2. ผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่สนับสนุนให้ประเทศผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนั้นมีผลให้หลาย ๆ ประเทศอาจต้องซื้อสินค้าเข้าประเทศเป็นมูลค่ามากกว่ามูลค่าสินค้าออก ทำให้เกิดการขาดดุลในดุลการค้าอาจจะทำให้ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขาดดุลด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศต้องสูญเสียทองคำ หรือทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ (ดังจะได้กล่าวต่อไป) สาเหตุสำคัญเนื่องจาก อัตราการค้า (term of trade) ของประเทศคู่ค้าไม่เท่ากัน ในกรณีของประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป สินค้าส่งออกมักจะเป็นสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งระดับราคามักจะต่ำกว่าและขาดเสถียรภาพ เมื่อเทียบกับราคาสินค้านำเข้า ซึ่งมักจะเป็นสินค้าจำพวกทุนและสินค้าอุตสาหกรรม ผลที่ตามมาคืออัตราการค้าของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลง นั่นคือ มูลค่าจากการส่งสินค้าออกน้อยกว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าส่งผลให้เกิดปัญหาเสถียรภาพเศรษฐศาสตร์ต่อประเทศคือ ปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินขาดดุลในที่สุด
3. ผลต่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ การที่อัตราการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลงนั้น ทำให้การกระจายรายได้ในระดับนานาชาติซึ่งไม่เท่าเทียมกันอยู่แล้วยิ่งมีความไม่เป็นธรรมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นการโอนทรัพยากรจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาโดยกระบวนการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินนั่นเอง ในขณะเดียวกันการหล่อหลอมรสนิยมระหว่างประเทศให้อยู่ในแบบแผนเดียวกัน ก็เป็นกลไกสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้การกระจายรายได้ระหว่างประเทศเลวลงเพราะว่าบริษัทการค้าขนาดใหญ่ในประเทศที่ตามมาก็คือ การบริโภคสินค้าจำพวกอุปโภคและบริโภคในสินค้าอุตสาหกรรมนำเข้ามามีมากขึ้น ทำให้ต้องเสียเงินตราต่างประเทศมากขึ้น ในขณะที่รายได้จากการขายสินค้าออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่า
4. ผลต่อประสิทธิภาพของ นโยบายทางเศรษฐกิจยิ่งภาคการค้าระหว่างประเทศขนาดใหญ่ขึ้นเพียงใดทำให้ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีประสิทธิภาพน้อยลงเท่านั้น เช่น เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นภายในประเทศที่ผ่านกลไกของทั้งราคาสินค้าออกและราคาสินค้าเข้า นโยบายเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อจะมีความยุ่งยากมากขึ้นตามไปด้วย เพราะในกรณี เช่นนี้รัฐบาลไม่เพียงแต่จะต้องเข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร หากทว่ายังต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าด้วยว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้กลไกแก้ไขปัญหาดังกล่าวซับซ้อนขึ้น
5. ผลต่อรายได้และการจ้างแรงงาน ประเทศที่มีการพึ่งพาทางการค้าระหว่างประเทศในระดับที่สูง หากรายได้จากการส่งออกลดลงก็ดี หรือการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากก็ดี โดยที่ผลสุทธิของการนำเข้าสูงกว่าการส่งออกย่อมส่งผลให้ รายได้และการจ้างงานของประเทศนั้นลดลง ผลจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว
6. ผลต่อปัญหาความมั่นคงของประเทศ การดำเนินนโยบายการค้าโดยเสรีที่มุ่งให้ประเทศผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบเพียงไม่กี่ชนิดหรือเพียงชนิดเดียว ส่งผลต่อปัญหาความมั่นคงของประเทศได้ง่าย เพราะถ้าหากว่าการค้าต่างประเทศต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลที่สำคัญ เช่น การเกิดสงคราม การขัดแย้งทางด้านการเมืองกับบางประเทศ ความยุ่งยากทางด้านการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นต้น ย่อมส่งผลให้ประชาชนภายในประเทศเดือดร้อน เนื่องจาก การขาดแคลนสินค้าอุปโภค บริโภค ขาดแคลนวัตถุดิบ และสินค้าทุนในการพัฒนาประเทศ เป็นต้น จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทำให้ไม่มีประเทศใดในโลกนี้ยึดถือ นโยบายการค้าเสรี ตามหลักการแบ่งงานการทำระหว่างประเทศของเดวิด ริคาร์โด และนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกอย่างแท้จริง แต่ได้หันมาใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน ซึ่งเป็นนโยบายที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือการผลิตสินค้าชนิดต่าง ๆ ขึ้นใช้เองในประเทศเพื่อมิให้เศรษฐกิจของประเทศต้องขึ้นอยู่กับการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจนเกินไป เนื่องจากอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้นภายในประเทศ อาจยังไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศได้ รัฐจึงจำเป็นให้ความช่วยเหลือและคุ้มกันโดยใช้มาตรการที่สำคัญ คือ กำแพงภาษีสินค้าขาเข้า ( import tariffs) และโควตานำเข้า เป็นต้น

นโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับต่างประเทศประเทศ

นโยบายความสัมพันธ์ของไทยกับนานาประเทศ
การศึกษานโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับนานาประเทศนั้น สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ ปัจจัยของการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงลักษณะของนโยบายต่างประเทศ ตลอดจนผลและแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับนานาประเทศ

ประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา
นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา
1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ คือ
1) การเมือง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมารัฐบาลที่ทำการปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลภายใต้ผู้นำทหารที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งมีอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์คล้ายกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจเพียงประเทศเดียวที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่มีนโยบายสอดคล้องกับตน เช่น ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2501 – พ.ศ. 2506) และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 256) ซึ่งจะปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านอำนาจการปกครองของตนโดยยัดเยียดข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกันปฏิบัติการทางทหารในสงครามอินโดจีน เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะเป็นการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารแล้ว ยังทำให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการตัดสินนโยบายต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้สึกชาตินิยมเห็นว่าการมีกองกำลังของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย เป็นการเสียอำนาจอธิปไตยและเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของชาติ ประกอบกับสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงไป เช่น การผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตทำให้การเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นแฟ้นในลักษณะเช่นที่เป็นมา ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ไทยอีกต่อไป กลุ่มนิสิตนักศึกษาจึงได้เดินขบวนประท้วงและขับไล่กองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 ขณะเดียวกัน ม.ร.ว. ศึกฤกธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ยื่นคำขาดให้สหรัฐอเมริกาถอนทหารของตนออกจากประเทศไทยโดยเร็ว
การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 และรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 ที่ต้องการปรับความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนนั้น สืบเนื่องจากสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไป คือ สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามอินโดจีน มีการปรับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรับประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 ในขณะที่เขมร เวียดนามใต้ และลาวตกอยู่ภายใต้การยึดครองของคอมมิวนิสต์อย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2518 ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลผลักดันให้ไทยต้องปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ
2) การพัฒนาประเทศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะที่ต้องรับผลกระทบจากสงครามสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจประเทศเดียวในขณะนั้นที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือฟื้นฟูแก่ประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ การมุ่งแสวงหาความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเห็นประโยชน์จากการมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เช่น การให้เงินช่วยเหลือเพื่อซ่อมแซมทางรถไฟ และจัดหาอุปกรณ์สำคัญในการสร้างระบบคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ซึ่งถูกทำลายไปในระหว่างสงคราม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านการทหารให้แก่ไทย เพื่อต่อต้านทั้งการแทรกซึมบ่อนทำลายและการโจมตีจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในขณะเดียวกันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ผนวกความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านการทหารของไทย สหรัฐอเมริกาจึงได้กลายเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือต่อไทยมากที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาต่อไทยโดยเฉพาะความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ได้ลดน้อยลงจนเป็นรองจากความช่วยเหลือที่ไทยได้จากประเทศญี่ปุ่น
2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายของไทยต่อสหรัฐอเมริกา คือ
1) การเมืองระหว่างประเทศ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจากจีน และสหภาพโซเวียต โดยที่ไทยและสหรัฐอเมริกา มีแนวความคิดสอดคล้องกันที่ต้องการต่อต้านและปิดล้อมการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ดังนั้น บรรยากาศการเผชิญหน้าระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้ทำให้สหรัฐอเมริกา ซึ่งเห็นว่าตนจะต้องเป็นผู้นำในการปกป้องลัทธิเสรีนิยมและอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากการแพร่ขยายและการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ในทุก ๆ แห่งของโลก จึงได้ให้ความสำคัญต่อประเทศไทยในฐานะประเทศพันธมิตรและเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และเป็นตัวแทนของโลกเสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้ดำเนินนโยบายที่สอดคล้องและที่ตอบสนองและสนับสนุนสหรัฐอเมริกาเช่นกัน การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) และแถลงการณ์ร่วม ถนัด-รัสก์ (Thanat-Rusk Joint Communiqués) ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านความมั่นคงที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลาของสงครามเวียดนาม ไทยได้ให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา อย่างมาก ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกา ก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านความมั่นคงเป็นจำนวนมากแก่ไทยเช่นกัน นับได้ว่าทั้งสองประเทศได้พึ่งพาอาศัยกันบนผลประโยชน์ร่วมกันมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการที่สหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทางทหารออกจากเวียดนาม ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้เปลี่ยนมาเป็นความร่วมมือทางด้านการเมืองมากยิ่งขึ้น อาทิ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากัมพูชา โดยสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนับสนุนทางด้านการเมือง และความพยายามของประเทศอาเซียนในการแก้ไขปัญหาโดยวิถีทางการเมือง สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านความมั่นคงและการทหารก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มิได้อยู่ในระดับที่ใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกายังคงมองเห็นว่าไทยเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญ
ปัจจุบัน ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงระหว่างไทย – สหรัฐอเมริกา ยังเป็นไปโดยใกล้ชิด ทั้งความร่วมมือทางทหาร และความร่วมมือในกรอบการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยเฉพาะในเวที ARF (ASEAN Regional Forum) ซึ่งประเทศไทยมีปฏิสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดยังถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญต่อความร่วมมือระหว่างกัน ภายหลังวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นต้นมา ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นประเด็นใหม่ในนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้วัดระดับความสัมพันธ์ในทุก ๆ ด้าน ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศต่าง ๆ ไทยได้ให้ความร่วมมือด้วยดีกับสหรัฐอเมริกา และนานาประเทศในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย การตรวจคนเข้าเมือง ตลอดจนการสกัดเส้นทางการเงินของผู้ก่อการร้าย รวมทั้งการเร่งเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศในการต่อต้านการก่อการร้ายต่าง ๆ ซึ่งสหรัฐอเมริกาพอใจในบทบาทที่สร้างสรรค์ต่อการแก้ไขปัญหาข้ามชาติต่าง ๆ รวมทั้งการป้องกันและการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างแข็งขันของไทย
2) นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชีย ภายหลังสมครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยประธานาธิบดีแฮรี่ เอส ทรูแมน ( Harry S. Truman) ซึ่งหลักการ ทรูแมน (Truman doctrine ) สิ่งให้คำมั่นสัญญาว่าสหรัฐอเมริกาจะช่วยเหลือทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร แก่ประเทศที่ถูกคุกคามด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ และจะเทรกแซงในวิกฤตการณ์อันเกิดจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย โดยมีความเชื่อในทฤษฎีโดมิโน (Domino theory) ว่าหากกลุ่มประเทศอินโนจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศตะวันออกกลางก็จะตกเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ไปด้วยในที่สุด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพและความปลอดภัยมั่นคงของยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ให้เอเชีย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2511 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงาครั้งยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม
ในสงครามเวียดนามเนื่องจากความเบื่อหน่ายของชาวอเมริกันที่ไม่ทราบว่า สงครามเวียดนามจะสิ้นสุดลงเมื่อไร และไม่มีทีท่าว่าสหรัฐอเมริกาจะประสบชัยชนะ รวมทั้งไม่เห็นความสำคัญของเวียดนามต่อผลประโยชน์ของชาติสหรัฐอเมริกา ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพการเมืองระหว่างประชาชนจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังทหารออกจากเวียดนาม และนำนโยบายของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard M. Nixon) หรือที่รู้จักในนามของหลักการนิกสัน (Nixon Doctrine) หรือหลักการเกาะกวม (Guam Doctrine) มาใช้เป็นนโยบายของสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะคงรักษาพันธกรณีตามสนธิสัญญาทั้งมวลที่มีอยู่ และจะให้ความคุ้มครองแก่ประเทศใด ๆ ที่ถูกคุกคามจากประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และการคุกคามดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาหรือต่อภูมิภาค หากมีการรุกรานในลักษณะอื่น สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางทหารและเศรษฐกิจเท่าที่เห็นสมควร โดยให้ประเทศที่ถูกคุกคามโดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดหากำลังคนเพื่อป้องกันเอง
จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาลดบทบาทของตนลง ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ต้องตกอยู่ภายใต้การแข่งขันอิทธิพลของสหภาพโซเวียดและสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยต้องปรับนโยบายต่างประเทศใหม่ให้สอดคล้องกับสหรัฐอเมริกา ด้วยการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และเน้นการพึ่งตนเองมากขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ไทยทางด้านการเมือง เช่น สนับสนุนร่างข้อมติของไทยและอาเซียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากัมพูชาในที่ประชุมสหประชาชาติ การเพิ่มความช่วยเหลือทางด้านกำลังอาวุธ ช่วยเหลือในปัญหาผู้ลี้ภัย เป็นต้น รวมทั้งการให้คำยืนยันต่อรัฐบาลไทยที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อถูกคุกคาม
ปัจจุบันนโยบายต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาดำเนินกับไทยอย่างต่อเนื่องมีทั้งความร่วมมือทางทหารและความมั่นคงอย่างใกล้ชิด โดยใช้โครงการความช่วยเหลือทั้งด้านการค้า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา สาธารณสุข เพื่อสานสัมพันธ์และเชื่อมโยงระดับสังคมและประชาชน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมด้านการพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ขณะเดียวกันก็ได้ผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ใช้นโยบายการเปิดตลาดการค้าเสรี โดยเฉพาะด้านการเงิน การธนาคาร และโทรคมนาคม ในขณะที่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาครวมทั้งญี่ปุ่นเห็นว่าการเปิดเสรีทางการค้าควรคำนึงถึงความพร้อมของแต่ละประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาจะคงกดดันให้ประเทศไทยเร่งปรับปรุงมาตรฐานการค้า โดยเฉพาะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน และสิ่งแวดล้อม และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้มาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ฝ่ายเดียวมาเป็นเครื่องมือ
3) ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อสหรัฐอเมริกาส่งนายเอ็ดมันด์ รอเบิร์ต (Edmund Robert) ทูตอเมริกันคนแรกเข้ามาทำสนธิสัญญาฉบับแรกกับไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากกว่าจะมีความขัดแย้งกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ เช่น อังกฤษหรือฝรั่งเศส ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีลักษณะคุกคามต่ออำนาจอธิปไตยของไทย นอกจากนั้น ชาวอเมริกันหลายคนได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 และได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้ไทยได้แก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่ไทยทำกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก เช่น นายฟรานซิส บี แซร์ (Francis B. Syre) ที่ปรึกษาชาวอเมริกันสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ช่วยเหลือในการปรับปรุงระบบราชการและกิจการบ้านเมืองอื่น ๆ อีกด้วย จากความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐอเมริกาดังกล่าว จึงขอจำแนกลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
1. ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาช่วงที่เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2488 – 2516 ลักษณะนโยบายที่สำคัญในช่วงนี้ คือ การต่อต้านการครอบครองดินแดนไทยโดยมหาอำนาจหนึ่ง โดยไทยและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกันต่อต้านการขยายอิทธิพลของญี่ปุ่นเพื่อครอบครองดินแดนในเอเชียในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2484 – พ.ศ.2488) มีการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการถูกปฏิบัติเยี่ยงประเทศผู้แพ้สงครามจากประเทศมหาอำนาจพันธมิตร นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกันต่อต้านการคุกคามของประเทศใดประเทศหนึ่งต่อประเทศอื่น โดยเน้นการต่อต้านการคุกคามโดยการรักษาความมั่นคงป่ลอดภัยร่วมกันในระดับภูมิภาค เช่น การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ พ.ศ. 2497 เป็นต้น และการสนับสนุนองค์การระดับโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกันในกรณีปัญหาต่าง ๆ เช่น กรณีปัญหาเกาหลี (พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2496) ได้ส่งทหารเข้าร่วมกับทหารขององค์การสหประชาชาติ ซี่งนำโดยสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลี และกรณีสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2516) เป็นต้น
สำหรับนโยบายการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ไทยให้ความช่วยเหลือสหรัฐอเมริกาในกรณีเวียดนาม คือ การยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติการในประเทศอินโดจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ความช่วยเหลือไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เทคนิควิทยาการ สังคม และทางทหาร เพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ต่อประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อประเทศนั้น ๆ ด้วย โดยเฉพาะในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
2. หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาช่วงที่เริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 2522 นโยบายของไทยต่อสหรัฐอเมริกาที่สำคัญในช่วงนี้คือ การที่ไทยขอให้สหรัฐอเมริกาถอนฐานทัพออกจากไทย ขณะเดียวกันได้เกิดกรณีปัญหาเรือมายาเกซ โดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งทหารนาวิกโยธินผ่านประเทศไทยเพื่อยึดเรือมายาเกซซึ่งเป็นเรือของสหรัฐอเมริกาที่ถูกเขมรแดงยึดเอาไว้กลับคืน ซึ่งการกระทำของสหรัฐอเมริกาดังกล่าวไม่ได้ขออนุญาตหรือปรึกษารัฐบาลไทยแต่อย่างใด ซึ่งไทยถือว่าเป็นการล่วงละเมิดอธิปไตยของไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม กัมพูชา และลาว การกระทำดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาตกต่ำมากที่สุดเท่าที่ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันมา
3. ลักษณะนโยบายต่างประเทศปัจจุบัน นับจากปี พ.ศ. 2522 จนกระทั่งปัจจุบัน ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ในช่วงดังกล่าวกัมพูชาถูกเวียดนามรุกราน และโดยเฉพาะเมื่อเวียดนามบุกรุกดินแดนไทยในกรณีโนนหมากมุ่นในปี พ.ศ. 2523 ทำให้ไทยเห็นความจำเป็นในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามของเวียดนามซึ่งมีทหารยึดครองกัมพูชาอยู่ราว 200,000 คน สหรัฐอเมริกาได้ยืนยันถึงพันธกรณีและความช่วยเหลือที่จะให้ต่อไทยทางด้านความมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียที่ต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตโดยผ่านเวียดนามในลาวและกัมพูชา
นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนโยบายฝักใฝ่โลกเสรีที่เคยถูกกำหนดมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ในช่วงสงครามเย็นระหว่างอภิมหาอำนาจค่ายโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ได้ถึงจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ในยุคสิ้นสงครามเย็นในปี พ.ศ. 2533 เมื่อสหภาพโซเวียต ล่มสลาย ซึ่งนับเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกยุคหนึ่งของนโยบายของประเทศไทย ซึ่งไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับทุกฝ่าย หรือนโยบายรอบทิศทางด้วยการเป็นมิตรกับทุกค่ายและนานาประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพิจารณาถึงสถานการณ์โลกในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสิ้นสุดสงครามเย็นและการสร้างระเบียบโลกใหม่ ความเข้มข้นของสงครามการค้า การรวมกลุ่มเศรษฐกิจหลาย ๆ กลุ่มทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงในอินโดจีน โดยให้ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ตามด้วยประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประชาคมยุโรป
ในส่วนของการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของไทยนั้น ย่อมต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติโดยรวมเป็นหลัก รวมทั้งต้องยอมสละประโยชน์รองเพื่อประโยชน์หลัก ทั้งนี้ การมีท่าทีที่แข็งกร้าวหรือแตกต่างจากสหรัฐอเมริกา ย่อมทำได้ หากมีการจำแนกดุลยภาพของผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเมืองที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการวางกรอบนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาโดยสหรัฐอเมริกาจะต้องคำนึงถึงความร่วมมือในกรอบความมั่นคงและการเมืองมากขึ้น บทบาทและท่าทีของประเทศต่าง ๆ ในการให้ความร่วมมือด้านการก่อการร้ายจะมีผลต่ออำนาจต่อรองกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น การกำหนดท่าทีในเรื่องนี้ของไทยจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะมีประโยชน์โดยตรงต่อการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป สำหรับความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ในลักษณะของหุ้นส่วนมากขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ในภูมิภาค ดังนั้น ไทยจึงโน้มน้าวให้สหรัฐอเมริกาตระหนักถึงความสำคัญและศักยภาพของไทยในด้านดังกล่าว โดยเฉพาะในการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม การศึกษา และเป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค
สิ่งที่พอจะสรุปได้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาคือ ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ แม้ดูจะไม่ราบรื่นโดยตลอด แต่มีลักษณะเด่นที่ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แต่จะแน่นแฟ้นเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์สอดคล้องต้องกันมากน้อยเพียงใด


ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา แบ่งออกได้ 4 ด้านดังนี้
1. ด้านการทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาทางด้านการทหารเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2493 ด้วยนโยบายสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ของสหรัฐอเมริกาที่มุ่งให้ความสำคัญแก่การก่อตั้งระบบความมั่นคงร่วมกันในการต่อต้านการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของไทย ทั้งจากภัยคุกคามจากภายนอกคือการขยายอำนาจของประเทศอื่น และภัยจากภายในคือการแทรกแซงบ่อนทำลายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ไทยและสหรัฐอเมริกาได้มีการทำสนธิสัญญาทางทหารระหว่างกันหลายฉบับ ซึ่งบางฉบับเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกาสามารถเข้ามาตั้งฐานทัพในไทยได้ด้วย รวมทั้งการที่สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารในรูปอื่น ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือทั้งในรูปของเงินกู้และเงินให้เปล่า เพื่อให้ไทยได้ใช้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการฝึกอบรมทางด้านวิชาการทางทหาร และการฝึกผสมร่วมคอบบราโกลด์ (Cobra Gold) เป็นต้น
2. ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาทางด้านการเมืองนั้น เริ่มในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งสถานกงสุลขึ้นในไทยครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2399 ทั้งสองประเทศได้มีการส่งทูตแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา รวมถึงการที่พระมหากษัตริย์ได้มีพระราชหัตถเลขาติดต่อกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และผู้นำของประเทศทั้งสองได้มีการเดินทางไปเยือนแต่ละฝ่ายเสมอมา ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางมาเยือนไทย คือ นายพล ยูลิสซิส เอส. แกรนด์ (General Ulysses S. Grant) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 18 ของสหรัฐอเมริกาที่มาเยือนเมืองไทยในปี พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยที่ 5 ส่วนพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จเยือนทำเนียบขาวเมื่อ พ.ศ. 2474 คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองอย่างแน่นแฟ้น หลายระดับ นับตั้งแต่การมีแถลงการณ์ ประกาศในเชิงเป็นมิตรต่อกัน การเยี่ยมเยือนระหว่างผู้นำประเทศและข้าราชการในหลายระดับ การสนับสนุนซึ่งกันและกันทางการเมืองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศทุกระดับ
ปัจจุบันความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาโดยรวมมีการร่วมมือกันด้วยดี มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้จะมีความเห็นไม่สอดคล้องกันบ้าง แต่ก็ไม่มีลักษณะของความขัดแย้ง ประเด็นที่สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจ ได้แก่ ปัญหาการกักตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า ปัญหาสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรีในไทย เป็นต้น
3. ด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1) ด้านเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ไทยมากที่สุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายทางด้านการเมือง โดยเฉพาะการนำนโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ของประธานาธิบดีทรูแมนมาใช้ในปี พ.ศ. 2490 โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นการนำความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร สาธารณสุข คมนาคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดสงครามเย็นความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาได้ลดลง ในขณะที่ประเทศผู้ที่ให้ความช่วยเหลือไทยมากที่สุดกลายเป็นประเทศญี่ปุ่น
2) ด้านการค้า สหรัฐอเมริกาและไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างไม่เป็นทางการมาช้านานแล้ว แต่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาทางการค้าอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2463 คือ สนธิสัญญาทางไมตรีการพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างประเทศ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาได้ยกเลิกและมีการทำสนธิสัญญาใหม่อีกหลายฉบับ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ตรารัฐบัญญัติปฏิรูปการค้า ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาตามโครงการให้สิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลากากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of preference. GSP) เพื่อช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการส่งออกโดยผ่อนคลาย หรือยกเลิกการกีดกันทางการค้าในรูปภาษีศุลกากร (Tariff barriers) เพื่อเปิดตลาดให้แก่สินค้าออกของประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษนี้ในปี พ.ศ. 2519 รวมทั้งยังได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากรให้แก่ไทย ซึ่งเป็นประเทศภาคีของแกตต์ จากการประชุมรอบโตเกียว (Tokyo Round) ด้วย
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา การค้าและการลงทุนของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยเริ่มมีความสำคัญและขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มนักธุรกิจอเมริกันในประเทศไทยได้ร่วมกันก่อตั้งหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยขึ้น ซึ่งได้ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ไทยได้เจรจากับสหรัฐอเมริกาด้านการค้า รวมทั้งการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย – สหรัฐอเมริกา และลงทุนในกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement TIFA) เพื่อการร่วมมือและประสานงานด้านการค้าและการลงทุน แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน
สำหรับการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยนั้น ไทยเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 23 ของสหรัฐอเมริกา ขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย สินค้าหลักที่สหรัฐอเมริกา ส่งออกมาไทย ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ เมล็ดพืชน้ำมัน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือแพทย์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ สินแร่โลหะ และเศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ส่วนสินค้าหลักที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทย ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพารา เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
3) ด้านการลงทุน สำหรับในด้านการลงทุนนั้น ชาวอเมริกันเข้ามาดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยมากเป็นอันดับที่สองรองจากญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่ชาวอเมริกันนิยมมาลงทุนมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมประเภทผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เหมืองแร่ เครื่องกลและไฟฟ้า และเมื่อไทยได้กลายเป็นแหล่งที่มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สหรัฐอเมริกาก็ได้มีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมลงทุนทางด้านนี้อีกด้วย โดยบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกา เช่น ยูเนี่ยนออยล์ เอ๊กซอน (หรือเอสโซ่) อาโมโก้ เท็กซัสแปซิฟิก ฟิลลิปปิโตรเลียม และอื่น ๆ ได้ลงทุนในการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในไทย เป็นต้น
4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาด้านสังคมและวัฒนธรรม แบ่งออกเป็นหลายด้าน พอสรุปได้ดังนี้
(1) ด้านสาธารณสุข สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือต่อไทยในรูปของมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ราชแพทยาลัยเดิม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น จนสามารถผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปช่วยพัฒนาประเทศด้านการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการช่วยเหลือในด้านการปราบปรามโรคพยาธิปากขอ การพัฒนาระบบการประปาและศูนย์อนามัยตามเมืองต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
(2) ด้านการศึกษา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาและไทยได้ลงนามเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ไทยในการพัฒนาการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาอาชีวศึกษาระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ฝึกหัดครู บริหารการศึกษา สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ การฝึกอบรมและวิจัยในเรื่องต่าง ๆ รวมตลอดไปจนถึงการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบท นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาอีก เช่น หน่วยสันติภาพ (The Pease Corps) มูลนิธิการศึกษามิตรภาพ (The Mitraparb Education Foundation) มูลนิธิฟลูไบรท์ หรือมูลนิธิการศึกษาไทยอเมริกัน นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (The American University Alummi Lauguage Center : AUA) หรือเรียกกันทั่วไปว่า เอยูเอ. รวมทั้งโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ เอ.เอฟ.เอส. (The American Field Service, AFS) จากความช่วยเหลือดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาได้มีส่วนอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาแห่งประเทศไทย
(3) ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลทั้งสองได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือ โดยสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเงินแก่ไทยในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดใน 3 ด้าน ได้แก่ การปราบปราม การปลูกพืชทดแทนและการพัฒนาชาวไทยภูเขา และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดอาเซียน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไทยได้จับกุมผู้ค้ายาเสพติดที่สำคัญและส่งไปดำเนินคดีในสหรัฐอเมริกาหลายราย ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยโดยรัฐบาลมีนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างรุนแรง ส่งผลให้ยาเสพติดลดจำนวนเป็นอย่างมาก
(4) ด้านปัญหาผู้อพยพอินโดจีนในประเทศไทย จากปัญหาการสู้รบในอินโดจีนก่อให้เกิดการอพยพลี้ภัยของชาวลาว กัมพูชา และเวียดนามออกนอกประเทศเป็นจำนวนนับแสนคน ซึ่งสร้างปัญหาแก่ประเทศเป็นอย่างมาก ไทยต้องแก้ปัญหาดังกล่าวโดยขอความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ให้รับผู้อพยพลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศนั้น ๆ โดยสหรัฐอเมริการับผู้อพยพอินโดจีนจากไทยไปมากที่สุด โดยมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นผู้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยดังกล่าว
(5) ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาได้แลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรมกันอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ตัวอย่างที่สำคัญคือ ความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับกรมศิลปากรในการขุดค้นศิลปวัตถุสมัยบ้านเชียงซึ่งพบว่าดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีการใช้เครื่องโลหะและปั้นดินเผามาก่อนจีนและอินเดีย ซึ่งถือเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ทีสุดในเอเชีย นอกจากนั้นการที่ไทยมีความสัมพันธ์อันดีต่อสหรัฐอเมริกาในทุกด้าน ทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทำให้อิทธิพลของค่านิยมตะวันตกที่ลอกเลียนจากสหรัฐอเมริกาได้แทรกซึมอยู่ทั่วไปในสังคมไทย
3. ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการทหาร ความสัมพันธ์ด้านการทหารของทั้งสองประเทศก่อให้เกิดผลกระทบต่อไทยทั้งในด้านการเมืองและในด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ การช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาด้านการทหารทำให้กองทัพไทยมีความเข้มแข็งมากที่สุดซึ่งส่งผลต่อความเข้มแข็งทางด้านการเมืองรวมทั้งเปิดโอกาสให้สถาบันทหารมีอิทธิพลด้านการเมืองด้วย นอกจากนี้การที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อทำสงครามในเวียดนามนั้น ทำให้ไทยเสื่อมเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ ขณะเดียวกันความช่วยเหลือทางทหารทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเมื่อการช่วยเหลือแบบให้เปล่าถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบการให้สินเชื่อ ทำให้งบประมาณถูกใช้ในด้านการทหารมากกว่าด้านสาธารณสุข เกษตร และการศึกษา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ สำหรับแนวโน้มของความสัมพันธ์ในปัจจุบันจะเห็นการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งเน้นการฝึกอบรมมากกว่าการเป็นพันธมิตรทางทหาราเช่นที่เป็นมา
2. ด้านการเมือง การมีความสัมพันธ์ทางการเมืองของไทยและสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นแฟ้นในลักษณะที่ไทยมักจะมีนโยบายลู่ตามสหรัฐอเมริกาในอดีต ทำให้ดูเหมือนว่าไทยไม่มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายของตนเองเท่าที่ควร ต้องคอยปรับนโยบายทางการเมืองตามสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไทยได้ปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก ทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาอยู่บนรากฐานของเหตุผลและผลประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ มากกว่าอุดมการณ์เช่นที่ผ่านมา
3. ด้านเศรษฐกิจ ผลและแนวโน้มของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและด้านการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น แม้ว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ รวมทั้งช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ประชาชาติของไทย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดและส่งผลกระทบในทางลบต่อไทย กล่าวคือ สหรัฐอเมริกามักจะให้ความช่วยเหลือกับรัฐบาลที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมิได้มุ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มที่และไม่ได้ลงไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยตรง นอกจากนี้มักจะมุ่งเน้นการแก้ไขความไม่เท่าเทียมในส่วนภูมิภาค ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเมืองและชนบท ระหว่างชนชั้นนำกับประชาชน สหรัฐอเมริกามักจะปฏิเสธโครงการขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่ฝ่ายไทยขอสนับสนุน ด้วยเหตุผลว่าไม่สอดคล้องกับนโยบายของตนและไม่มีงบประมาณ แต่ขณะเดียวกันจะเสนอโครงการให้ไทยดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ส่วนความสัมพันธ์ด้านการค้านั้น ไทยต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากต้องนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าสินค้าที่สหรัฐอเมริกานำเข้าไปจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร นอกจากนี้การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ให้แก่ไทยไม่ได้เป็นประโยชน์แก่สินค้าที่ส่งออกของไทย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะครอบคลุมถึงชนิดของสินค้าตามความพอใจของสหรัฐอเมริกาเอง และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะข้าวและข้าวโพด ทำให้ไม่มีความต้องการที่จะสั่งเข้าจากไทยโดยตรง และนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 สหรัฐอเมริกามีนโยบายกีดกันทางการค้า เช่น การจำกัดโควต้า การตั้งกำแพงภาษีชลอการชำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดการขาดดุลการค้าและดุลการเงินกับประเทศที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้เสียเปรียบรายใหญ่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทย และทำให้ไทยต้องทบทวนนโยบายด้านการค้าใหม่ ด้วยการแสวงหาตลาดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาคห่างไกลออกไป เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกาและกลุ่มประเทศที่มีอุดมการณ์แตกต่างไปจากไทย เพื่อทดแทนตลาดสินค้าในสหรัฐอเมริกาที่ไทยสูญเสียไป
4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐอเมริกาในด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันและกัน ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ เป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม การที่คนไทยจำนวนมากไปศึกษาอบรมในด้านต่าง ๆ จากสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดการเรียนแบบรูปแบบและวิธีการในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของสังคมไทยหรือไม่ ทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าการทำให้ทันสมัยโดยไม่ได้มีการพัฒนา รวมทั้งเกิดช่องว่างระหว่างผู้ที่ได้รับการศึกษาจากสหรัฐอเมริกากับคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย การหลั่งไหลของวัฒนธรรมอเมริกันมีอิทธิพลในสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและทำลายค่านิยมอันดีของไทย เช่น ปัญหาโสเภณี ปัญหาวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือผลพวงบางประการและความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและสหรัฐอเมริกาควรที่จะได้มีการให้ความสนใจ และรวมทั้งการหาวิธีการแก้ไขและป้องกันผลกระทบอันไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศทั้งสองเอื้ออำนวยประโยชน์สูงสุดต่อไทย

ประเทศไทยกับรัฐรัสเซีย
ความสัมพันธ์และนโยบายของไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย
1. ความสัมพันธ์ของไทยกับรัสเซีย
ประเทศไทยและสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งเดิมคือ สหภาพโซเวียตได้เคยมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยกองเรือรัสเซียได้แวะเยือนประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ.2406 ต่อมานายพลบรูเมอร์ (Brumer) ผู้บัญชาการกองเรือรบรัสเซียในเขตแปซิฟิกได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ทั้ง 2 ประเทศก็ไม่ได้ทำสัญญาต่อกันหลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2425 รัสเซียได้ส่งนายพลเรือแอสแลนเบกอฟ (Aslambegov) ผู้บัญชาการกองเรือรบรัสเซียในเขตแปซิฟิก เข้าร่วมในพระราชพิธีฉลองครบรอบ 100 ปีของการสถาปนาราชวงศ์จักรีที่กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงความใกล้ชิดกันมากขึ้น ต่อมาในปีพ.ศ. 2434 เจ้าชายนิโคลลัส อเล็ก ซานโดรวิช มกุฎราชกุมารรัสเซีย ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้เสร็จมาเยือนประเทศไทย
การที่มกุฎราชกุมารของรัสเซียเสด็จเยือนประเทศไทยนั้นเป็นกุศโลบายทางการเมืองของรัสเซีย เนื่องจากขณะนั้นรัสเซียแข่งขันกับอังกฤษ ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ในแถบเปอร์เซียและอัฟกานิสถาน ทำให้รัสเซียต้องการมีอิทธิพลในแถบเอเชียอาคเนย์บ้าง โดยเฉพาะไทยที่ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจใด อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเข้าพระทัยในเจตนาของรัสเซีย จึงใช้โอกาสดังกล่าวกระชับไมตรีกับรัสซียด้วยการส่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไปเยือนรัสเซีย และส่งพระราชโอรสไปศึกษาด้วย ซึ่งได้รับการดูแลจากพระเจ้าซาร์เป็นอย่างดี
ในปี พ.ศ. 2459 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย พรรคบอลเซวิคนำโดย
เลนินยึดอำนาจรัฐในรัสเซีย และสถาปนารัฐบาลโซเวียต ขึ้นมา ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศหยุดชะงักลงไม่มีการติดต่อระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์รัสเซีย เนื่องจากการขัดแย้งทางอุดมการณ์อันเนื่องมาจากรัฐบาลสหภาพโซเวียตมีความต้องการที่จะสนับสนุนการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก และไทยเองก็ไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ กับสหภาพโซเวียต จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยมีความจำเป็นจะต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงได้รื้อฟื้นความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ในปี พ.ศ. 2490 แต่กลับไม่ดีขึ้นเนื่องจากไทยมีนโยบายสนับสนุนฝ่ายตะวันตก และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร ซึ่งในขณะนั้นได้เกิดสงครามเย็นระหว่างค่ายโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้คนไทยและรัสเซียก็มีวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน จึงไม่มีจุดร่วมที่จะจูงใจให้ทั้งสองประเทศติดต่อกันมากนัก
เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง การแข่งขันทางอาวุธนิวเคลียร์ได้ลดน้อยลง ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก สำหรับนโยบายต่างประเทศของรัสเซียยังคงที่จะดำเนินนโยบายรักษาเขตอิทธิพลของตนให้อยู่ต่อไป และป้องกันมิให้ประเทศอื่น ๆ ขยายอิทธิพลเข้ามา และสนับสนุนระบบอำนาจหลายขั้วในโลกเพื่อไม่ให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจหนึ่งเดียวในโลก ปัจจุบันรัสเซียดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบรอบทิศทาง โดยรัสเซียเริ่มให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์กับเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าเป็นเสมือนศูนย์รวมของผลประโยชน์ร่วมของประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน และญี่ปุ่น นอกจากญี่ปุ่นกับจีนแล้ว ประเทศที่รัสเซียให้ความสนใจก็มีอินเดียและกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย

2. นโยบายต่างประเทศของไทยต่อรัสเซีย
การที่รัฐบาลไทยมีอุดมการณ์และผลประโยชน์สอดคล้องกับประเทศตะวันตก ทำให้ไทยต้องดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับฝ่ายตะวันตก ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับสหภาพโซเวียต เนื่องจากระบอบการปกครองที่แตกต่างกันและเมื่อคอมมิวนิสต์ขยายอิทธิพลไปยังประเทศจีน ยิ่งทำให้ไทยหวั่นเกรงการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์มากขึ้น จึงดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ หรือต่อต้านสหภาพโซเวียตนั่นเอง ดังนั้น ไทยจึงไม่ได้มีนโยบายที่จะสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต เพราะเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในไทย
ภาวะสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายโลกเสรี ทำให้ไทยต้องอยู่ข้างฝ่ายโลกเสรีและใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรมหาอำนาจ ดังนั้น การดำเนินนโยบายของไทยต่อสหภาพโซเวียตจึงเป็นไปอย่างชาเย็น รวมทั้งความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็ไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นแต่อย่างใด สาเหตุมาจากสหภาพโซเวียตดำเนินนโยบายที่ไม่เป็นมิตรต่อประเทศไทย เช่น การกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยเข้าไปแทรกแซงเหตุการณ์ในประเทศลาว ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยไม่พอใจ และได้ยื่นประท้วงอย่างเป็นทางการต่อรัฐบาลของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม บางช่วงที่ผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศสอดคล้องกัน ไทยก็ได้ปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และจากการที่ไทยไม่ทำความตกลงในด้านการค้ากับสหภาพโซเวียต ทำให้เสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในประเทศ แต่ยอมค้าขายโดยตรงกับสหภาพโซเวียต จึงเป็นเหตุผลทำให้ไทยต้องทำความตกลงทางการค้ากับสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2513 นับเป็นสัญญาการค้าฉบับแรกตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันมา หลังจากไทยปรับนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศในปี พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียได้พัฒนาในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

3. ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับรัสเซีย
ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้
1. ด้านการเมือง การปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย ทำให้ไทยทั้งในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบประชาธิปไตย ไม่ประสงค์ที่จะมีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับสหภาพโซเวียตขึ้นใหม่ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่ได้มีสถานทูตเกิดขึ้นต่อมาประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่การที่ประเทศไทยจะขอให้สหภาพโซเวียตสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นเรื่องยากมาก เพราะไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ และมิได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต ดังนั้นไทยจึงพยายามเจรจากับผู้แทนสหภาพโซเวียตจนประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับอัครราชทูตขึ้นในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยประเทศแรกในเอเซียอาคเนย์ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียตที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
หลังจากรัสเซียเปลี่ยนระบอบการเมืองการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยและมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ในปี พ.ศ. 2536 แล้ว ความสัมพันธ์ของไทยกับรัสเซียมีความก้าวหน้าขึ้น มีการเยือนในระดับผู้นำสำคัญ ๆ หลายครั้ง ซึ่งล่าสุดประธานาธิบดีวลาดิมิร์ ปูติน (Vladimir putin) ได้เดินทางมาเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมประชุมเอเปคประจำปี พ.ศ.2546 ด้วย
2. ด้านเศรษฐกิจ เป็นเวลาเกือบ 25 ปี ที่ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต จึงได้มีการตกลงทางการค้าขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการทางการค้าโดยผ่านตัวกลางคือ สิงคโปร์ แต่ตัวเลขทางการค้ามีอัตราน้อยมาก หลังจากมีการตกลงทางการค้าระหว่างกัน สภาวะการค้าของทั้งสองประเทศได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ สิงค้าของสหภาพโซเวียตที่ส่งเข้ามาขายได้แก่ วัตถุดิบสำหรับการผลิตอุตสาหกรรม เช่น เซลลูโลส เครื่องเคมีภัณฑ์ กระดาษพิมพ์หนังสือพิมพ์ วัตถุดิบเวชภัณฑ์ รวมทั้งเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องสูบน้ำ เครื่องตัดโลหะ ตลับลูกปืน อุปกรณ์การแพทย์ และสารเคมี เป็นต้น ส่วนสินค้าออกของไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งทอ ดีบุก และสินค้าอื่น ๆ
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเฉพาะรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้มีการติดต่อกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์มากขึ้น โดยเฉพาะมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับสหภาพโซเวียตนอกจากได้มีการติดต่อด้านการค้าแล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการเชิญนักเรียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ และผู้นำทางศาสนา ไปเยือนสหภาพโซเวียตเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมทั้งการให้ทุนแก่นักเรียนนักศึกษาไทยไปศึกษาต่อในสหภาพโซเวียตด้วย

4. ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย ได้ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการเมือง ในช่วงสงครามเย็นความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นมาเลย เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างเวียดนามกับจีนอย่างรุนแรง สหภาพโซเวียตซึ่งขัดแย้งกับจีนได้มีนโยบายสนับสนุนเวียดนาม ในกรณีเวียดนามรุกรานกัมพูชาในปี พ.ศ. 2521 และยังคงกองกำลังทหารอยู่ในกัมพูชา และบางครั้งได้รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย หรือเมื่อเวียดนามรบกับกัมพูชาที่ชายแดนไทย และมีลูกปืนตกเข้ามาในเขตไทย ทำให้บ้านเรือนราษฎรไทยเสียหายย่อมกระเทือนความมั่นคงปลอดภัยของไทย จึงทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างไทยกับเวียดนาม และเมื่อสหภาพโซเวียตช่วยเวียตนามก็ย่อมทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตไม่ดีขึ้น
2. ด้านเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ไทยและสหภาพโซเวียตมีความตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อปีพ.ศ. 2513 เป็นต้น แต่ปริมาณการค้าหรือความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจของสองประเทศพัฒนาไปช้ามากเนื่องจากปัญหาทางด้านอุดมการณ์และระบบราชการอันล่าช้า ทำให้เกิดการเสียเวลามากกว่าการค้าขายในระบบเสรีต่างกับประเทศที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าออกของไทยที่เป็นที่ต้องการของสหภาพโซเวียต ได้แก่ ข้าวโพด
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากระบบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกัน ทำให้รัฐบาลเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะเอาการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นช่องทางในการเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ แม้จะมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำของทั้งสองฝ่ายก็ตาม จึงทำให้ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยกับสหภาพโซเวียตไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

ประเทศไทยกับจีน
นโยบายต่างประเทศของไทยต่อจีน
1. ลักษณะนโยบาย ไทยและจีนมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การดำเนินความสัมพันธ์มีทั้งด้านบวกคือการไม่ขัดแย้งกัน และด้านลบคือการขัดแย้งกัน ในอดีตเมื่อจีนยังไม่ได้ปกครองประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปด้วยดีมาตลอดแต่เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐ ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการปลุกระดมความเป็นชาตินิยมในหมู่ชาวจีนในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงเป็นนักชาตินิยมได้ทัดทานบทบาทของชาวจีนในไทย ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจระหว่างประเทศทั้งสอง และขยายตัวมากขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ขณะเดียวกันได้เกิดการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน ซึ่งไทยไม่ประสงค์ในสิทธิดังกล่าวจึงเกิดการต่อต้านชาวจีนมากขึ้น โดยเลือกมีสัมพันธภาพกับจีนไต้หวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการปรับท่าทีและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2. ปัจจัยภายใน การเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต การลดบทบาทในอินโดจีนของสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศอินโดจีนกลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ และสหภาพโซเวียตเข้ามามีอิทธิพบในอินโดจีน รวมทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของไทยทั้งสิ้น เนื่องจากไทยเป็นประเทศเล็กจำเป็นต้องผูกพันกับประเทศใหญ่เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับตนเอง ไทยจึงมีนโยบายคล้อยตามสหรัฐอเมริกา การกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับจีนนั้นมาจากปัจจัยภายในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านผู้นำไทย ในอดีตช่วยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้สร้างทัศนคติด้านลบแก่ผู้นำไทย ด้วยการก่อความไม่สงบขึ้น เช่น จัดตั้งสมาคมอั้งยี่ และการไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทย รวมทั้งการครอบงำเศรษฐกิจของชาวจีน ทำให้เพิ่มความไม่พอใจให้กับผู้นำไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ผู้นำไทยในช่วงปีพ.ศ. 2493-2513 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารมีนโยบายต่อต้านภัยจากคอมมิวนิสต์ ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยปฏิเสธความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น จนกระทั่งสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงไปผู้นำไทยจึงหันมาสถาปนาความสัพมันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2518
2) ด้ารการเมือง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา กลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศในฐานะรัฐบาลมีทั้งกลุ่มพลเรือนและกลุ่มทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี พ.ศ. 2500-2513 รัฐบาลเผด็จการทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าวงรุนแรง หากผู้ใดคณะใดมีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แต่หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทัศนะต่าง ๆ ของประชาชนหลายกลุ่มต่อการเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้รับการพิจารณามากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในอินโดจีนและลกเปลี่ยนไป
3) ด้านการทหาร แม้ว่าประเทศไทยจะทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนากองทัพให้เข้มแข็ง แต่หาเปรียบเทียบกับจีนแล้วไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก ไม่ว่าด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพด้านการทหารไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากนัก
4) ด้านเศรษฐกิจ ช่วงปี พ.ศ. 2500-2518 ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ผลจากการพัฒนาทำให้เขตเมืองมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ทั้งนี้โดยอาศัยทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและแรงงานคนจากเขตชนบท ทำให้รายได้และมาตรฐานการครองชีพในเขตเมืองสูงขึ้น ขณะที่รายได้ของเขตชนบทต่ำแต่ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Grose Demestic Product : GDP) สูงขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนประชากรยากจนก็มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา นอกจากนี้ตัวเลขการขาดดุลของประเทศได้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไทยต้องอาศัยวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องซื้อหามาด้วยราคาที่แพงมาก รวมทั้งเงินกู้ต่างประเทศยังเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากประเทศหนึ่ง
3. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายของไทยกับจีน
มีดังนี้
1) สถานการณ์ภูมิภาค นับตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากจีนให้ความช่วยเหลือเวียดนามเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกิดการรวมเป็นประเทศเวียดนามเดียวภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในสงครามการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเกิดการปฏิวัติขึ้นในลาวและกัมพูชา หลังจากนั้นเวียดนามได้พยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารเหนือกัมพูชาและลาว การกระทำของเวียดนามดังกล่าวทำให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างรุนแรงกับจีน และจากปัญหาความขัดแย้งภายในของกัมพูชาซึ่งจีนให้การสนับสนุนอยู่ได้เป็นปัญหาสำคัญต่อความมั่นคงของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากไทยให้ที่พักพิงแก่ฝ่ายรัฐบาลผสมเขมรสามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจีนให้การสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านด้วย ทำให้จีนและเวียดนามขัดแย้งกันจนเกิดการปะทะกันด้วยกำลัง จากบทบาทของจีนที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านของไทย ด้วยการสนับสนุนการขยายอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้นำไทย ต่อมาจีนได้ปรับเปลี่ยนนโยบายและบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ไปในทางต่อต้านกับภัยที่คุกคามไทย ความขัดแย้งระหว่างไทยกับจีนได้ลดลงถึงขั้นร่วมมือกันต่อต้านเวียดนาม
2) สถานการณ์โลก หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามในปี พ.ศ. 2512 ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มปรับความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการเป็นพันธมิตรกัน เพื่อคานอำนาจและต่อต้านการขยายอิทธิพลสิทธิครองความเป็นเจ้าของสหภาพโซเวียตที่ให้การสนับสนุนเวียดนาม สำหรับประเทศไทยก็ได้ปรับท่าทีโดยหันมาเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันในปี พ.ศ. 2518

2. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน
1) ด้านการเมือง นับตั้งแต่จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยซึ่งมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองมีความตึงเครียด เนื่องจากปัญหาด้านอุดมการณ์และความมั่นคง แต่หลังจากสถานการณ์ในภูมิภาคและโลกเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยและจีนจึงปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ. 2518 สมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สัมพันธภาพอันดีได้สะดุดลงชั่วขณะเมื่อเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2519 โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนากรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ต่อมาสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำการรัฐประหารโดยมีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ แม้จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการปกครองแตกต่างกันก็ตาม และนับแต่นั้นเป็นต้นมา สัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินมาด้วยดีโดยตลอด มีการเยี่ยมเยือนกันระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จเยือนประเทศจีนหลายครั้งซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของประเทศทั้งสอง
2) ด้านเศรษฐกิจ จากความสัมพันธ์ด้านการเมืองของไทยและจีนมีผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งสอง เช่น การทำความตกลงทางการค้า การลงทุนร่วมกัน การซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน เป็นต้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492-2514 นั้น เป็นระยะที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เพราะไทยได้กระทำรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. 2502 คือ การปฏิเสธการค้ากับจีน ห้ามการติดต่อค้าขายตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 53 ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการเมือง จึงได้มีการติดต่อทางการค้า การค้าเสรีระหว่างเอกชนไทยกับรัฐบาลขึ้นได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศขยายตัวขึ้นมากทั้ง ๆ ที่จีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองให้มากที่สุด การเปลี่ยนเปลี่ยนทางการพัฒนาประเทศของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2521 ด้วยการประกาศนโยบาย 4 ทันสมัย ซึ่งได้แก่ เร่งรัดความทันสมัยด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การทหาร และเทคโนโลยี ได้สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ไทยพอสมควร เพราะเปิดโอกาสให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีระบบการบริหารแบบทุนนิยมผสมกับสังคมนิยมกลุ่มเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ได้แก่กลุ่มเจียไต๋ ซึ่งลงทุนด้านโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์และเลี้ยงไก่ที่เมืองเซิงเจิ้น ซานโถว (ซัวเถา) ซิหลิน เหลี่ยวหนิง เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นที่ลงทุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตพรม โรงงานปุ๋ย โรงงานสร้างเรือยอร์ช สนามกอล์ฟ รถจักรยายนต์ กระจก และน้ำดื่ม เป็นต้น นอกจากนั้นได้มีการตกลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สร้างข้อตกลงทางการค้า ขายสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีการส่งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคไปช่วยเหลือกัน ยุติข้อกีดกันทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ดีอย่างสูงสุด แม้ว่าไทยจะขาดดุลการค้ากับจีนก็ตาม
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนนั้นมีมานานแล้วก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความตึงเครียดระหว่างกัน โดยมีการเยี่ยมเยือนจีนของคณะต่าง ๆ ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น คณะบาสเกตบอล คณะผู้แทนกรรมกรไทย คณะผู้แทนศิลปินไทย สมาคมพุทธศาสนา คณะสงฆ์ รวมทั้งคณะนักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น จากเหตุการณ์ด้านวัฒนธรรมและวิชาการ อันได้แก่ การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนผู้ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และงานด้านวิชาการ เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนมีความร่วมมือกันย่างแน่นแฟ้นจนถึงปัจจุบันนี้


ประเทศไทยกับยุโรปตะวันตก
นโยบายต่างประเทศของไทยกับยุโรปตะวันตก
การกำหนดนโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศยุโรปตะวันตกมีปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศยุโรปตะวันตก ประกอบด้วย
1) ด้านการปกครอง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ระบอบการปกครองของไทยจะเป็นประชาธิปไตยสลับกับเผด็จการทหาร โดยรัฐบาลทหารภายใต้การปฏิวัติรัฐประหาร จะเน้นนโยบายความมั่นคงและมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกามากกว่ายุโรปตะวันตก
2) ด้านการเมือง ในอดีตคนไทยให้ความสนใจกับการเมืองน้อยมาก ส่วนใหญ่ไม่มีความกระตือรือร้นในด้านการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารเป็นเวลานาน แต่หลังจากเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ประชาชนมีความตื่นตัวในทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเผด็จการยังเน้นในนโยบายความมั่นคงผูกพันกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ความสัมพันธ์กับยุโรปตะวันตกลดน้อยลง
3) ด้านอุดมการณ์ กลุ่มทหารเป็นกลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองมากที่สุด ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของไทยจึงถูกกำหนดโดยกลุ่มทหารมากกว่าพลเรือน ทำให้ปัจจัยด้านอุดมการณ์และแนวคิดของผู้นำทหารเป็นตัวกำหนดการดำเนินนโยบายต่างประเทศมาตลอด โดยเน้นการต่อต้านคอมมิวนิสต์และความมั่นคงทางการเมืองมากกว่าด้านเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
4) ด้านประวัติศาสตร์ ประเทศไทยมีการคบค้ากับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกมาเป็นเวลานานแล้วเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา และไทยได้ใช้วิธีการถ่วงดุลอำนาจหรือลู่ตามลม จึงทำให้สามารถหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกได้ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้มีผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในด้านเศรษฐกิจและการค้ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ประสบการณ์จากการติดต่อกับประเทศเหล่านี้ทำให้ไทยเลือกเน้นความสัมพันธ์กับบางประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นต้น
5) ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพาต่างประเทศทั้งในด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น เพื่อเป็นแหล่งระบายออกสินค้าเกษตรและกึ่งอุตสาหกรรมบางประเภท ขณะเดียวกันก็ต้องพึงพาสินค้าทุนจากประเทศเหล่านี้ในอัตราที่สูงขึ้น นโยบายเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศกับกลุ่มประเทศยุโรป
2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ มีดังนี้
1) การเมืองระหว่างประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจของโลกถูกแบ่งเป็น 2 ค่าย โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายเสรีนิยมทุนนิยม ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องร่วมมือกับฝ่ายเสรีนิยมเพื่อต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ตามประเทศของสิทธิทรูแมน โดยมีการก่อตั้งองค์การซีโต้ (SEATO) ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือทางทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกด้วย
2) การเสื่อมอำนาจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ ประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้อิทธิพลและบทบาทในทางการเมืองระดับโลกถดถอยลง ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกน้อยจนต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกาทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกนั้นมีเพียงความสัมพันธ์ในด้านการค้า เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นหลัก
3) สถานการณ์อินโดจีน จากการลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งองค์การซีโต้ (SEATO) เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ โดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสร่วมเป็นสมาชิกด้วย ขณะเดียวกันทำให้ไทยมีส่วนเข้าไปมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก
4) องค์การอาเซียน สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซีย (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน การพัฒนาประเทศและเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจและประเทศอื่น ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จากการรวมตัวของประเทศสมาชิกดังกล่าว ทำให้ความสัมพันธ์ในทางเศรษฐกิจที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปที่มีต่อกลุ่มประเทศอาเซียน มีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่อกลุ่มคู่ขนานไปกับความสัมพันธ์ในลักษณะทวิภาคี
3. ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทย จากการที่ไทยเน้นนโยบายป้องกันประเทศ โดยยึดอุดมการณ์เสรีนิยมและทุนนิยมเป็นหลัก และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และให้ความสำคัญกับความร่วมมือในระดับอาเซียนจึงทำให้ลักษณะของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยดังกล่าวส่งผลต่อนโยบายต่อประเทศไทยต่อกลุ่มยุโรปตะวันตก ดังนี้
1) การเน้นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากความเสื่อมโทรมของบทบาททางการเมืองของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ไทยจึงให้ความสำคัญด้านดังกล่าวกับสหรัฐอเมริกาในอันที่จะเป็นที่พึ่งของไทย เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากภายนอกได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกได้มีบทบาทด้านเศรษฐกิจและการค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ทำให้นโยบายด้านเศรษฐกิจต่อกันทั้งในระดับทวิภาคีและพาหุภาคี ซึ่งมีประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมด้วย
2) การหาเสียงสนับสนุนทางการเมือง ในช่วงที่เกิดความรุนแรงในกลุ่มประเทศอินโดจีน ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยสงครามอพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลไทยจำเป็นต้องแสวงหาเสียงสนับสนุนเพื่อใช้เป็นแรงต่อรองหรือผลักดันให้เกิดมติมหาชนโลก เพื่อรับรองท่าทีหรือแนวนโยบายต่างประเทศ ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกในเชิงการเมือง โดยเฉพาะปัญหาสถานการณ์กัมพูชาและปัญหาผู้ลี้ภัย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตก
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตกในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกด้านการเมืองนั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งในอดีตความสัมพันธ์ส่วนใหญ่จะมีกับอังกฤษและฝรั่งเศสในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาอินโดจีน ซึ่งประเทศทั้งสองเคยมีบทบาทสำคัญในดินแดนแห่งนี้ แต่หลังจากกลุ่มประเทศอินโดจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสได้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มยุโรปตะวันตกมีลักษณะเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด กล่าวคือ ปราศจากความขัดแย้งสำคัญ และให้การสนับสนุนนโยบายของไทยโดยเฉพาะเกี่ยวกับปัญหากัมพูชา
2. ด้านเศรษฐกิจ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยได้เร่งฟื้นฟูประเทศด้วยการดำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ทำให้ความจำเป็นในการสั่งสินค้าเข้าจากต่างประเทศในรูปของสินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบ และสินค้าประเภททุนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนถึงช่วงที่ประเทศไทยเริ่มหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า การสั่งสินค้าประเภทดังกล่าวจึงลดลงนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เมื่อไทยหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออก จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ไทยต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศที่พัฒนาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกมีลักษณะขาดดุลโดยตลอด สินค้าที่ไทยนำเข้าประกอบด้วย เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ และอาหารประเภทนมครีม ส่วนสินค้าส่งออก ได้แก่ มันสำปะหรัง ยางพาราใบยาสูบ ดีบุก ข้าว และไม้สัก เป็นต้น แต่หลังจากปี พ.ศ. 2520 อัตราส่วนการค้าของไทยกับยุโรปตะวันตกได้ลดลง เนื่องจากไทยหันไปสั่งสินค้ากับประเทศอื่น ๆ นอกภูมิภาคยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปค (OPEC)
สำหรับการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มยุโรปตะวันตกในไทยนั้น มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น โดยมีอังกฤษเข้ามาลงทุนมากที่สุด ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกนั้น ยังมีลักษณะว่าประเทศเหล่านี้เป็นแหล่งสินค้าประเภททุนและสินค้าขั้นกลางของไทย และเป็นตลาดส่งออกของไทยในด้านสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้ากึ่งอุตสาหกรรม สำหรับแนวโน้มด้านการค้าระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกคงจะไม่ขยายตัวมากนัก แต่ด้านการลงทุนในไทยโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มยุโรปตะวันตกในด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเทคนิค รวมทั้งการให้ทุนการศึกษาฝึกอบรมและดูงาน ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุด ได้แก่ เยอรมนี รองลงมาคือ อังกฤษและฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีอิตาลี เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เว สวีเดน และฟินแลนด์
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มยุโรปตะวันตกในอดีตเป็นลักษณะการให้ทุนการศึกษาและดูงาน ความช่วยเหลือในรูปโครงการส่วนใหญ่จะมุ่งไปในด้านการเกษตร ลักษณะความช่วยเหลือและปริมาณความช่วยเหลือดังกล่าวคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

ประเทศไทยกับญี่ปุ่น
ความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ไทยกับญี่ปุ่นเคยติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทันเป็นราชธานีแล้ว จนกระทั่งในสมัยของพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในช่วงปี พ.ศ. 2172-2199 ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ลดลง เนื่องจากฝ่ายไทยเกรงว่าชาวญี่ปุ่นจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยมากเกินไปจึงขับไล่ชาวญี่ปุ่นออกนอกประเทศ ประกอบกับฝ่ายญี่ปุ่นมีนโยบายปิดประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2178 จึงทำให้การติดต่อค้าขายได้ยุติลงอย่างเป็นทางการ
ไทยกับญี่ปุ่นได้กลับมามีความสัมพันธ์กันอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีการลงทุนในปฎิญญาว่าด้วยมิตรภาพและการค้าระหว่างกันในปี พ.ศ. 2430 ซึ่งไทยสนใจจะเปิดประเทศเพื่อพัฒนาตนเอง และญี่ปุ่นเองก็ถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศ ในปี พ.ศ. 2398 ความสัมพันธ์ของไทยและญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งขณะนั้นญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศไปมากแล้ว และฝ่ายไทยก็ต้องการพัฒนาประเทศโดยอาศัยญี่ปุ่นเป็นแนวทางการพัฒนา ผู้นำไทยขณะนั้นมีความนิยมชมชอบญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นสามารถพัฒนาประเทศได้รวดเร็ว ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ต้องการมีความสัมพันธ์กับไทย เพราะต้องการขยายอิทธิพลของตนเข้ามาในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแข่งขันกับมหาอำนาจตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลในบริเวณนี้มาก่อนแล้ว ขณะที่ผู้นำของไทยก็หวังจะพึ่งพาญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านตะวันตก จึงทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับญี่ปุ่น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นทำการรบได้ชัยชนะและยึดได้ดินแดนต่าง ๆ มากมาย ฝ่ายไทยคิดว่าญี่ปุ่นคงจะชนะสงครามจึงสนับสนุนญี่ปุ่น โดยเปิดทางให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านไปยังดินแดนอื่นพร้อมกับประกาศเข้าข้างญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยทำสัญญาร่วมรบร่วมรุกกับญี่ปุ่นในปีพ.ศ. 2484 ต่อมาเมื่อคาดว่าญี่ปุ่นจะแพ้สงครามฝ่ายไทยจึงหันไปสนับสนุนขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นแทน

ปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่น
การกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นเกิดจากปัจจัยด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก สินค้าที่ผลิตต้องอาศัยทุนจำนวนมาก และเทคโนโลยีระดับสูงเป็นหลัก แต่ญี่ปุ่นกลับขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตรวมทั้งพลังงานได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวเป็นจำนวนมากซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาให้ญี่ปุ่นได้ แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตามทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันขึ้นมา สำหรับไทยนั้นต้องการขายสินค้าเกษตรให้กับญี่ปุ่นเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากและญี่ปุ่นก็เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญของไทย ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ต้องการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เนื่องจากค่าแรงในประเทศสูงมากและมีกฎระเบียบเข้มงวด ในขณะที่ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะรองรับได้ในทุกด้านดังกล่าว ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งลงทุนและยังเป็นตลาดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นด้วย เมื่อสภาพเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายต่างเกื้อกูลกัน จึงทำให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นใกล้ชิดและผูกพันกัน แม้บางครั้งจะไม่ราบรื่นนัก แต่ต่างก็ประคับประคองกันได้เพื่อผลประโยชน์ของตน
2. ด้านจิตวิทยา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ซึ่งประเทศเหล่านั้นยังไม่ลืมความรุนแรงโหดร้ายที่ถูกญี่ปุ่นรุกราน ปัจจุบันญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูงมากจะเป็นรองก็แต่เพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น นอกจากนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ค้าขายกับญี่ปุ่นต่างเสียเปรียบดุลการค้าแก่ญี่ปุ่น รวมทั้งไทยด้วยจึงทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีกับญี่ปุ่น โดยมองว่าคนญี่ปุ่นไม่มีความจริงใจเอาเปรียบและกอบโกย แม้ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือแก่ไทยเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่คนไทยก็ยังเชื่อว่าญี่ปุ่นทำเพื่อประโยชน์ของตนเองมากกว่า กรณีดังกล่าวนี้นับเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน
3. ด้านภูมิศาสตร์ การที่ญี่ปุ่นขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมและอาหาร โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งจำเป็นต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมากและต้องนำเข้าจากตะวันออกกลางโดยใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกา ชุนดา และลอมบ๊อค เส้นทางดังกล่าวนี้มีความปลอดภัยและมีความสำคัญต่อญี่ปุ่นมาก ซึ่งญี่ปุ่นต้องการให้ดินแดนแถบนี้มีความมั่นคง โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประตูเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนที่มีความสำคัญต่อญี่ปุ่นด้วย ปัจจุบันสินค้าที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ น้ำมัน ยาง น้ำตาลดิบ ดีบุก ทองแดง และน้ำมันพืช ส่วนกลุ่มอาเซียนก็สั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ จากญี่ปุ่นเช่นกัน นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีความสำคัญต่อญี่ปุ่น คือ ญี่ปุ่นมีความหวังว่าประเทศไทยจะขุดคอคอดกระเพื่อเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในอดีตญี่ปุ่นเคยสนับสนุนแนวคิดนี้อย่างเต็มที่และยินดีที่จะช่วยขุดให้ด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์จากการขุดนี้โดยเป็นการย่นระยะทางให้สั้นลง และทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับเส้นทางขนส่งวัตถุดิบในปัจจุบันก็ยังมีเส้นทางสำรองอีกเส้นทางหนึ่ง
4. ด้านการเมือง หลังสมครามโลกครั้งที่ 2 รัฐธรรมนูญกำหนดให้ญี่ปุ่นไม่มีกองทัพและไม่ให้ญี่ปุ่นยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโลก จึงทำให้ญี่ปุ่นมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจนำหน้าการเมือง และแยกตัวเองออกจากความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกาต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน สหรัฐอเมริกาต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ารับบทบาทแทนในภูมิภาคนี้เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย ญี่ปุ่นซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและมีผลประโยชน์กระจายอยู่ทั่วโลกได้แสดงบทบาทตนเองมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนซึ่งอาจถูกกระทบกระเทือนได้ ขณะที่ไทยเองก็มีนโยบายผูกมิตรกับทุกประเทศ และต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามามีผลประโยชน์อยู่ในประเทศอย่างมาก เพื่อที่ญี่ปุ่นจะได้ไม่สนใจในประเทศเพื่อนบ้านของไทย สำหรับนโยบายของญี่ปุ่นที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับไทยก็คือนโยบายของญี่ปุ่นที่มีต่ออาเซียนนั่นเอง
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยกับญี่ปุ่นมีลักษณะทางด้านสังคมและวัฒนธรรมคล้ายกันหลายอย่าง นับตั้งแต่เป็นชาวเอเชีย นับถือศาสนาพุทธ มีระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนญี่ปุ่นมีจักรพรรดิเป็นประมุข นอกจากนั้นวิวัฒนาการทางสังคมของประเทศทั้งสองยังคล้ายกันโดยมีพื้นฐานจากสังคมเกษตรกรรม ในสมัยเมจิของญี่ปุ่นได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทยที่มีการปฏิรูปการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมเช่นกัน แต่ไทยไม่ก้าวหน้าเท่ากับญี่ปุ่น และยังเป็นประเทศเกษตรกรรมเช่นเดิม นอกจากนี้ทั้งสองประเทศต่างไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจใดเลย จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายเคารพในเกียรติภูมิของกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์และเข้าใจกันดีมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติที่เจริญมากจึงมีความสัมพันธ์กับชาติที่เจริญแล้วเช่นกันมากกว่าที่จะคบค้าสมาคมกับชาติที่กำลังพัฒนาเช่นไทย ขณะเดียวกันคนญี่ปุ่นมักเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น ไม่คบคนชาติมากนัก ปัญหาสำคัญของคนญี่ปุ่นคือจะไม่พูดภาษาต่างประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น แม้จะมีปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยอยู่แล้ว

ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ต่างต้องอยู่ภายใต้สัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับชาติตะวันตกเช่นกัน ทั้งสองฝ่ายต้องการหาพันธมิตร เมื่อมีนโยบายตรงกันทั้งไทยและญี่ปุ่นจึงทำความตกลงกันอย่างเป็นทางการโดยลงนามในปฏิญญาว่าด้วยมิตรภาพและการค้าระหว่างกันกับญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ขณะเดียวกันไทยมีความขัดแย้งกับชาติตะวันตกจึงทำให้ไทยมีนโยบายที่จะกระชับความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น ไทยจึงได้เอาผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น กฎหมายและวิศวกรรมจากญี่ปุ่นมาช่วยราชการ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และเมื่อสงครามยุติลง ไทยได้ให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในขณะที่ญี่ปุ่นถูกปกครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นจึงยุติลง ต่อมาญี่ปุ่นพ้นจากการยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นได้เปลี่ยนไปเป็นด้านเศรษฐกิจและการค้ามากกว่าด้านอื่น โดยไทยมีนโยบายส่งเสริมให้มีการค้ากับต่างประเทศ และให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศทำให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
ผลจากการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าต่อญี่ปุ่นมาตลอด แม้จะมีนโยบายแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งมีการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเพื่อลดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นแต่ก็ไม่ได้ผลต่อมารัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อลดการขาดดุลการค้าของไทย และไทยขอให้ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการ เพื่อนำมาปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยและพัฒนาการส่งออกของไทยให้มากขึ้น ส่วนด้านการเมืองนั้นไทยไม่ได้มีนโยบายด้านนี้แต่อย่างใด


ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ไทยและญี่ปุ่นแทนจะไม่มีความสัมพันธ์ด้านการเมืองต่อกันเลย เพราะญี่ปุ่นเน้นนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก นโยบายด้านการเมืองที่มีผลกระทบต่อไทยก็คือ นโยบายของญี่ปุ่นที่มีต่ออาเซียนซึ่งเกี่ยวพันกับนโยบายต่างประเทศของไทย โดยหลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามแล้ว สหรัฐได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทแทนตนในเขตภูมิภาคนี้ ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เกรงว่าผลประโยชน์ของตนจะถูกกระทบกระเทือน เพราะญี่ปุ่นต้องอาศัยเส้นทางเดินเรือผ่านตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ช่องแคบมะละกา เพื่อลำเลียงวัตถุดิบไปยังญี่ปุ่นและคานอำนาจสหภาพโซเวียตที่เข้ามามีอิทธิพลในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึงเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค ซึ่งบทบาทที่สำคัญคือ การเป็นผู้ไกล่เกลี่ยปัญหาของภูมิภาค โดยญี่ปุ่นเข้าไปผูกพันกับเวียดนามเพื่อดึงเวียดนามออกจากการครอบงำของสหภาพโซเวียต ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นผู้ไกล่เกลี่ยปัญหากัมพูชาเพื่อให้เกิดสันติภาพขึ้น โดยเฉพาะการเสนอให้เวียดนามถอนทหารออกจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งตรงกับข้อเสนอของไทยต่ออาเซียน อาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ของไทยและญี่ปุ่นด้านการเมืองดำเนินไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังรับภาระเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในไทยด้วยการให้เงินช่วยเหลือในโครงการต่าง ๆ และช่วยเหลือผ่านทางหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย กาชาดสากลและยูนิเซฟ เป็นต้น ซึ่งอาจสรุปความสัมพันธ์ด้านการเมืองของไทยกับญี่ปุ่นว่าดำเนินไปด้วยดี เนื่องจากมีผลประโยชน์ตรงกัน คือ ต้องการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของดินแดนในภูมิภาคนี้ไว้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดำเนินต่อไปได้
2. ด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
1) ด้านการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้ยุติลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากญี่ปุ่นแพ้สงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เนื่องจากญี่ปุ่นได้สั่งซื้อข้าวจากไทย เพราะไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับการบริโภค ซึ่งไทยได้ส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังญี่ปุ่น โดยใช้เงินบาทในการแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เสียเปรียบดุลการค้ามากนัก ขณะเดียวกันญี่ปุ่นได้ส่งสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจัก เครื่องยนต์ เข้ามาขายในไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2499 การค้าขายได้เปลี่ยนแปลงการชำระเงินจากเดิมเป็นเงินบาทไปเป็นเงินตราสกุลอื่น ๆ เช่น ปอนด์ หรือดอลล่าร์ได้ นับแต่นั้นมาการค้าเริ่มมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมจ่ายค่าปฏิกรสงครามให้กับหลายๆ ประเทศรวมทั้งไทยด้วย โดยชำระเป็นเงินสดและเป็นสินค้าประเภททุนเครื่องจักร อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ทำให้สินค้าญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้ามาจนครองตลาดเมืองไทยไปในที่สุด
2) ด้านการลงทุน หลังจากญี่ปุ่นจ่ายค่าปฏิกรสงครามแล้ว รัฐบาลไทยได้นำเงินที่ได้รับไปลงทุนด้านต่าง ๆ เช่น สร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าเขื่อนน้ำอุ่น สร้างโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มทหาร เป็นต้น การลงทุนของญี่ปุ่นในไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนญี่ปุ่นกลายเป็นต่างชาติที่มีการลงทุนสูงสุดในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากไทยต้องการให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศ จึงได้ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมทางด้านอุตสาหกรรม เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2497 พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2503 และประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 227 เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้ามาลงทุนได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น
3) ด้านการให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยต้องการพัฒนาประเทศซึ่งต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือโดยการให้เงินกู้เพื่อนำมาลงทุนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณูปโภคและการพลังงาน เป็นต้น โดยมีข้อผูกมัดว่าไทยต้องซื้อสินค้าและบริการจากญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขข้อผูกมัดนี้ โดยไทยสามารถซื้อสินค้าจากประเทศอื่นได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สินค้าญี่ปุ่นทะลักเข้ามาและครอบครองตลาดเมืองไทยในที่สุดจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิทยาการมากกว่าที่ไทยได้รับจากประเทศอื่น ๆ เช่น การส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฝึกงานให้กับคนไทย การให้ทุนการศึกษา หรือการฝึกอบรมดูงานในญี่ปุ่น เป็นต้น
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
จะเห็นได้จากมีชาวญี่ปุ่นอพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนเกิดหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยาจนถึงปัจจุบันแต่ไม่ปรากฏว่าไทยได้รับเอาอารยธรรมหรือวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไว้นอกจากการค้าขาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยและประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งด้านการค้าและการเกษตร ในช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มมีความก้าวหน้าด้านวิชาการและเทคโนโลยีมาก ไทยได้ส่งนักเรียนไปศึกษาด้านการทหาร การปั้นถ้วยชาม ช่างทอง ย้อมไหม และทอผ้า เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในไทย เช่น ที่ปรึกษาด้านยุติธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไหม ครูและแพทย์ เป็นต้น ต่อมาหลังจากไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่เน้นไปทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ ซึ่งความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมได้รับการส่งเสริมหลังจากปี พ.ศ. 2480 เนื่องจากญี่ปุ่นต้องการเผยแพร่อิทธิพลของตนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อิทธิพลของญี่ปุ่นในไทยได้ลดลง เนื่องจากถูกครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจุบันญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการค้ามาก อิทธิพลด้านสังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้แพร่หลายเข้ามาในไทย เนื่องจากนโยบายด้านเศรษฐกิจ คนญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัยในเมืองไทยได้นำเอาวัฒนธรรมของตนมาเผยแพร่ด้วย เช่น การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น หรือการแสดงวัฒนธรรมญี่ปุ่นในไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อิทธิพลด้านวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมีต่อวัฒนธรรมไทยมากในด้านการบริโภคและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เห็นได้จากชีวิตประจำวันของคนไทยที่ใช้สินค้าทีผลิตโดยญี่ปุ่น และวัฒนธรรมด้านการบริโภคอิทธิพลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ แท้จริงก็คือผลของการครอบงำด้านเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อจิตใจคนไทยด้วย แต่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นไม่ได้หยั่งลึกในสังคมไทย เนื่องจากคนญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยมักเกาะกลุ่มกันเอง ไม่สนใจคบค้าสมาคมกับคนอื่น นอกจากนี้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่พูดภาษาต่างประเทศ มีความเป็นชาตินิยมสูง จึงไม่อาจถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนให้กับคนไทยได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม ไทยกับญี่ปุ่นมักจะมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทางเดียว กล่าวคือ ญี่ปุ่นต้องการให้คนไทยรู้จักญี่ปุ่นดีขึ้นในทุกด้าน เช่น โครงการเรือเยาวชนแห่งเอเชีย โดยให้เยาวชนไทยเข้าร่วมกับเยาวชนญี่ปุ่นรวมทั้งเยาวชนจากประเทศอาเซียนเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นต้น แต่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีโครงการใด ๆ ที่จะให้คนญี่ปุ่นรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยแต่อย่างใด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาเซียน
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนตามลำดับ รวมสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม

ปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับอาเซียน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาเซียนมีปัจจัยที่กำหนดความสัมพันธ์ ดังนี้
1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายของไทยต่ออาเซียน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่อสมาคมอาเซียน และปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายแต่ละประเทศในอาเซียน สำหรับสมาคมอาเซียนนั้น รัฐได้นำปัจจัยภายในต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณา ซึ่งได้แก่ การเสริมสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การเมืองในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาประเทศ เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่อแต่ละประเทศในอาเซียนนั้น บางอย่างคล้ายคลึงกัน บางอย่างแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์และผลประโยชน์ร่วมกัน
2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายของไทยต่ออาเซียน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการเช่นเดียวกับปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยภายนอกที่กำหนดต่อสมาคมอาเซียน และปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายต่อแต่ละประเทศในอาเซียน สำหรับสมาคมอาเซียนนั้น ได้แก่ การลดบทบาทของสหรัฐอเมริกา การแผ่ขยายสิทธิคอมมิวนิสต์ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน และการแข่งขันอิทธิพลของมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายของไทยต่อแต่ละประเทศในอาเซียนโดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น การแข่งขันอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งทำให้ไทยจำเป็นจะต้องร่วมมือกับอาเซียนอย่างใกล้ชิด เป็นต้น

ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับอาเซียน
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน มีดังนี้
1. นโยบายต่างประเทศของไทย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นโยบายต่างประเทศของไทยต่ออาเซียนที่รัฐบาลไทยยึดถือปฏิบัติอยู่เป็นไปตามนโยบายที่สืบเนื่อง มาจากนโยบายสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกนของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะกระชับสัมพันธไมตรีกับบรรดาประเทศภาคีอาเซียนให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง ซึ่งต่อมาในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เน้นหลักการที่จะเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทย โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง และระบบการปกครอง แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคเป็นสำคัญ ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน จากนโยบายดังกล่าวเป็นผลนำไปสู่การเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยกับจีน ในปี พ.ศ. 2518 และนับจากนั้นเป็นต้นมาทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้ยึดถือหลักการสำคัญของนโยบายต่างประเทศในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการเมือง และระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะได้เน้นการสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะพิเศษกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันและกลุ่มประเทศอาเซียน
2. ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ลักษณะความสัมพันธ์ ของไทยกับแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน มีดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
ไทยกับมาเลเซียเป็นเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายด้าน จึงทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สามารถแยกความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ความร่วมมือทางการเมืองที่สำคัญ คือ การที่มาเลเซียมีความเข้าใจในนโยบายของไทยที่มีต่อชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนไทยโดยพยายามป้องกันไม่ให้มีขบวนการโจรก่อการร้ายที่ปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำเอาปัญหาชาวไทยมุสลิมเข้าสู่ที่ประชุมกลุ่มประเทศมุสลิม ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาดังกล่าวรุนแรงเพิ่มขึ้น
2) ด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การค้าขายระหว่างกัน ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นมาเลเซียเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยรองจากสิงคโปร์ อดีตไทยเคยได้เปรียบดุลการค้ามาเลเซียโดยตลอด ปัจจุบันมาเลเซียกลับเป็นฝ่ายได้เปรียบ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในบริเวณเขตพัฒนาร่วม บริเวณไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งเป็นบริเวณที่เหลื่อมล้ำกัน มีพื้นที่ประมาณ 6,900 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ความร่วมมือนี้มีความก้าวหน้าตามลำดับ
3) ด้านการทหาร เนื่องจากทั้งสองประเทศมีพรมแดนติดต่อกัน จึงมีความร่วมมือกันเป็นพิเศษในด้านการทหาร เช่น การร่วมมือในอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ การซ้อมรบร่วม การฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบิน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเรือรบและคณะทหารระหว่างกัน เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กมีนโยบายเป็นกลาง ไม่ผูกพันกับฝ่ายใด และมีความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์นั้น แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ
ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ไทยและสิงคโปร์ไม่เคยมีปัญหาด้านการเมืองที่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเลย ทั้งสองประเทศร่วมมือกันเป็นอย่างดีทั้งในระดับภูมิภาคและในสหประชาชาติ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนระหว่างกันของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ตลอดจนผู้นำของประเทศอยู่เป็นประจำ ในอดีตสิงคโปร์ได้ให้การสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหากัมพูชา ซึ่งเป็นความร่วมมือทางการเมืองที่สำคัญ
2) ด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์แม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ก็เป็นประเทศคู่ค้าอันดับต้น ๆ ของไทย และได้เปลี่ยนตุลาการค้ากับไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น การเข้ามาลงทุนของชาวสิงคโปร์ในประเทศไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น
3) ด้านการทหาร ไทยและสิงคโปร์มีความร่วมมือกันในด้านการฝึกอบรมทางทหาร มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทางการทหาร และการแลกเปลี่ยนข่าวกรองระหว่างกัน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการทางทหารกันเป็นประจำ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดจีน
อินโดนีเซียดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ซึ่งไทยเป็นประเทศที่อินโดนีเซียให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลประโยชน์สอดคล้องกันโดยเฉพาะการต่อต้านลักทธิคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกันอินโดนีเซีย แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง เนื่องจากการเมืองระหว่างประเทศสอดคล้องกัน ไทยและอินโดนิเซียจึงร่วมมือกันเป็นอย่างดีทั้งในระดับภูมิภาคและในสหประชาชาติ ความร่วมมือทางการเมืองที่สำคัญ คือ การให้ความช่วยเหลือไทยในการป้องกันไม่ให้ขบวนการโจรก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้นำปัญหาคนไทยมุสลิมเข้าสู่ที่ประชุมของกลุ่มประเทศมุสลิม ซึ่งจากความช่วยเหลือของอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมทั้งการดำเนินงานของฝ่ายไทยได้สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มประเทศมุสลิม ทำให้การดำเนินงานของขบวนการโจรก่อการ้ายไม่ประสบความสำเร็จ
2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าขายระหว่างไทยกับอินโดนิเซียในอดีต ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด เนื่องจากอินโดนิเซียต้องสั่งซื้อข้าวจากไทยเป็นจำนวนมาก ระยะต่อมาอินโดนิเซียสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับความต้องการบริโภค ทำให้การส่งออกข้าวของไทยมีปริมาณลดลงขณะที่สินค้าที่ไทยต้องนำเข้ากับมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไทยต้องเสียเปรียบดุลการค้าต่ออินโดนิเซีย
3) ด้านการทหาร ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันของคณะทหาร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข่าวกรองเช่นเดียวกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ ตลอดจนการฝึกรบร่วมกันของทหารของทั้งสองประเทศ เช่น การฝึกประลองยุทธ์ระหว่างกองทัพอากาศไทยและอินโดนีเซีย เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเกาะอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ การติดต่อระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์จึงไม่สะดวกนักต่างกับสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ไทยและฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มประเทศโลกเสรี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายจึงสอดคล้องกัน รวมทั้งมีความร่วมมือทางด้านการเมืองมากขึ้น เมื่อไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา (ASA) ขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ด้วยจุดประสงค์เพื่อที่จะประสานความสัมพันธ์ของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาฟิลิปปินส์และมาเลเซียเกิดความขัดแย้งกันกรณีปัญหาซาบาห์ซึ่งไทยได้วางตัวเป็นกลางและหาทางให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจต่อกัน
2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ ฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด นอกจากการค้าแล้วยังมีความร่วมมือในด้านอื่น เช่น ความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ การทำอนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ และการทำความตกลงว่าด้วยการบริการการเดินอากาศ เป็นต้น
3) ด้านการทหาร ไทยและฟิลิปปินส์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สปอ. ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว ส่วนความร่วมมือด้านการทหารที่มีอยู่ ได้แก่ การฝึกการร่วมปฏิบัติการทางอากาศ การฝึกร่วมทางเรือ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันของคณะทหารของทั้งสองประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไน
บรูไนเป็นเมืองเก่าแก่มีการปกครองโดยสุลต่าน ต่อมาได้ยอมเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ จนกระทั่งได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2527 ไทยและบรูไนมีความสัมพันธ์กันมาก่อนที่จะได้รับเอกราช ซึ่งแยกความสัมพันธ์ในแต่ละด้านได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ไทยและบรูไนมีความร่วมมือด้านการเมืองโดยเน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และการเจรจาหาลู่ทางส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าเป็นสำคัญ มีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน มีการเยี่ยมเยือนของบุคคลระดับผู้นำของทั้งสองประเทศอยู่เป็นประจำ
2) ด้านการทหาร ไทยและบูรไนมีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอดคล้องกัน และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำกองทัพอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บรูไนยังได้ส่งคณะนายทหารเข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อมรบคอบบราโกลด์อีกด้วย
3) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับบรูไน ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นมูลค่าสูงและเพิ่มมากขึ้น สินค้าออกของไทยที่ส่งไปยังบรูไนค่อนข้างจำกัดทั้ง่ชนิด ปริมาณ และมูลค่า ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ปูนซิเมนต์ น้ำตาลทราย อะไหล่และอุปกรณ์รถยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เคหะสิ่งทอ เส้นใยฝ้าย ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เซรามิก อัญมณีและเครื่องประดับ หม้อแปลงไฟฟ้า และส่วนประกอบ ปลากระป๋อง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน วัสดุก่อสร้าง ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็ง แบไรท์ กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ และเครื่องดื่ม ส่วนสินค้านำเข้าจากบรูไน ได้แก่ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม หนังดิบและหนังฟอก อย่างไรก็ตามการขยายตลาดการค้าในบรูไนยังมีโอกาสอีกมาก
4) ด้านแรงงาน บรูไนเป็นหนึ่งในตลาดแรงงานที่สำคัญของไทย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานใช้ฝีมือทำงานในกิจการก่อสร้าง อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ธุรกิจบริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ช่างซ่อมต่าง ๆ และภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยส่วนใหญ่มีความซื้อสัตย์ อดทน ขยัน มีความรับผิดชอบ แต่ด้อยเรื่องภาษา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม
ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์กันมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาเวียดนามเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองหยุดชะงักไป และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง เวียดนามได้เปิดประเทศและผูกมิตรกับประเทศในประชาคมโลกโดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามอาจแยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เวียดนามได้ถอนกำลังทหารออกจากกัมพูชา รัฐบาลไทยขณะนั้นได้มีการปรับและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับ 3 ประเทศอินโดจีน ซึ่งได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่ประเทศอินโดจีน ด้วยนโยบายแปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า นับตั้งแต่นั้นมาการไปมาหาสู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต่อมาก็ได้สืบทอดและสานต่อนโยบายดังกล่าว ด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนในระดับสูงของพระราชวงศ์ นั่นคือ การเสร็จเยือนเวียดนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร อันหมายถึงความสัมพันธ์อันสูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
2) ด้านเศรษฐกิจ ในด้านการค้าขายไทยและเวียดนามได้มีการลงนามในข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พิธีสารเกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการค้าด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว
ไทยและลาวถือเป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้อง มีสิ่งต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงและเหมือนกันมากนับตั้งแต่สังคม วัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาจึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวมีความแน่นแฟ้น แม้ลาวจะเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ก็ตาม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวอาจแยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
1) ด้านการเมือง รัฐบาลในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้านใหม่ เรียกว่า แปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า ซึ่งเป็นช่วงที่ลาวพร้อมที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าขึ้นไปภายใต้กลไก่ของเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้นโยบายนี้ลาวเป็นประเทศแรกที่ผู้นำของไทยหวังจะให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรม ซึ่งต่อมาไทยและลาวได้ออกแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงร่วมกันที่จะร่วมมือทางด้านการค้าและธุรกิจระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งฝ่ายไทยได้มีการผ่อนปรนยกเลิกข้อจำกัดบางประการในการทำการค้ากับลาว มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวร มีการยกเลิกสินค้าควบคุมบางประเภทและสินค้ายุทธปัจจัย เป็นต้น การที่ไทยใช้เศรษฐกิจนำการเมืองระหว่างประเทศเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลาว นับว่าดำเนินไปด้วยดี มีความราบรื่น ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างในด้านระบอบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจการค้าก็ตาม และปัจจัยที่ช่วยเสริมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นคือ การเสร็จเยือนลาวอย่างเป็นทางการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในพิธีเปิดสะพานไทย ลาว ซึ่งผู้นำลาวก็ได้มาเยือนไทยเป็นการตอบแทน
2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนในลาวมีข้อจำกัดบางประการ เนื่องจากลาวพึ่งเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างไม่เคยมีมาก่อนจึงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามนโยบายแปรสนามรบเป็นตลาดการค้า ได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเมื่อการค้าระหว่างไทย ลาว เริ่มคึกคักขึ้นมูลค่าการค้าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ไทยและลาวได้มีความตกลงร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เช่น สนธิสัญญามิตรภาพ และความร่วมมือไทยลาว ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือในด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาว ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างไทยและลาว การยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางทูต ความร่วมมือด้านการกีฬาและความตกลงว่าด้วยสะพานมิตรภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการขยายความสัมพันธ์กับต่างประเทศในรูปของสี่เหลี่ยมเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ซึ่งช่วยเสริมความสัมพันธ์ไทยและลาวมากขึ้น เช่น ความร่วมมือในด้านสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยการสร้างถนนเชื่อมโยง 4 ประเทศ ระหว่างไทย พม่า ลาว และจีน ความร่วมมือในการโยงการคมนาคมทางบก ทางอากาศ ในภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ รวมทั้งความร่วมมือด้านการเดินเรือตามลุ่มน้ำโขงตอนบน 4 ประเทศ เป็นต้น จากความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าของไทย ทำให้ลาวหันมาสนใจค้าขายกับไทย จนทำให้ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของลาวในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
ไทยและพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันด้านทิศเหนือและตะวันตกของไทยยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร พม่าเป็นประเทศเก่าแก่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานาน แต่จากการปรับตัวที่ล่าช้าทางเทคโนโลยีและการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ทำให้ต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษถึง 62 ปี ไทยและพม่าได้สถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491 พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 9 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยมีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านการเมือง เนื่องจากปกครองด้วยระบอบเผด็จทหาร ทำให้ทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกัน นอกจากนี้ปัญหาการเมืองภายในพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอันเป็นผลมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในประเทศอาจเกิดความขัดแย้งและบาดหมางกันได้ตลอดเวลา เช่น เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542 การปะทะกันตามแนวชายแดนและการทำสงครามจิตวิทยาโจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรง ในปี พ.ศ. 2544 และการพิมพ์บทความจาบจ้วงสถาบันรพระมหากษัตริย์ไทยของรัฐบาลพม่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยและพม่า เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย ผู้หลบหนีภัยการสู้รบ โดยมีการเยือนในระดับผู้นำระหว่างกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่ากลับคืนสู่สภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง
2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2544 ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่า เนื่องจากการชำระค่าก๊าซธรรมชาติที่จัดซื้อจากพม่า นอกจากนี้ไทยกับพม่ามีความตกลงการค้าระหว่ากัน ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย – พม่า บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – พม่า และความตกลงการค้าชายแดน สำหรับการลงทุนของไทยนั้นมีมูลค่าการลงทุนเป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และอังกฤษ ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิต ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว การประมง และเหมืองแร่
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2542 ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย – พม่า โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ของทั้งสองฝ่าย มีการร่วมมือในการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า นอกจากนี้ไทยยังให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าในด้านการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ไทยและกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไทยและทิศใต้ของไทย โดยครอบคลุม 7 จังหวัดของไทย ได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ไทยและกัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 และเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 10 อันเป็นประเทศสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยมีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการเมือง กัมพูชามีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สภาพการเมืองกัมพูชาในปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ในปัจจุบันอยู่ในระดับดีมาก มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – กัมพูชา คณะกรรมการชายแดนระดับภูมิภาคไทย – กัมพูชา รวมทั้งการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – กัมพูชา เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ
2. ด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกัมพูชาดำเนินไปด้วยดี
มีสถิติการค้าเพิ่มขึ้น โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า ด้านการลงทุนไทยลงทุนมากเป็นลำดับที่ 8 ในกิจการสาขาโทรคมนาคม โรงแรม การท่องเที่ยว และธุรกิจด้านบริการต่าง ๆ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้มีการร่วมมือกัน เช่น คณะกรรมการร่วมด้านการค้าไทย – กัมพูชา สมาคมนักธุรกิจไทยในกัมพูชา และความร่วมมือระหว่างหอการค้าของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การบริการและการท่องเที่ยวระหว่างกัน นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – กัมพูชาระหว่างรัฐบาลทั้งสองเพื่อศึกษาศักยภาพของประเทศทั้งสองด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจะพัฒนาพื้นที่ชายแดน 7 จังหวัดของไทยและกัมพูชา ตามแนวคิด ”เสี้ยววงเดือนแห่งโอกาส” โดยสาขาการท่องเที่ยวการค้า อุตสาหกรรมและการเกษตร
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยและกัมพูชามีสังคมและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันและมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การแลกเปลี่ยนคณะนาฏศิลป์ เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาไทยก็เป็นภาษาต่างประเทศที่ได้รับความสนใจที่จะศึกษาจากนักเรียนกัมพูชา โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการร่วมมือทางวิชาการเพื่อช่วยกัมพูชาให้ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศให้สูงขึ้น เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานกัมพูชา – ไทย การพัฒนาห้องฝ่าตัดที่โรงพยาบาลพระสีหนุ กรุงพนมเปญ เป็นต้น สำหรับความร่วมมือด้านวัฒนธรรมได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวในเส้นทางสายวัฒนธรรมขอม รวมทั้งความร่วมมือระดับพหุภาคีเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในลาวและเวียดนามด้วย เช่น โครงการสิ่งมหัศจรรย์สุวรรณภูมิ เป็นต้น